วิเคราะห์ปาราชิก, สังฆาทิเสส, อนิยต, ถุลลัจจัย, นิสสัคคิยะ, ปาจิตตีย์, ปาฏิเทสนียะ, ทุกกฏ, ทุพภาสิต, เสขิยะ

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

วิเคราะห์ปาราชิก, สังฆาทิเสส, อนิยต, ถุลลัจจัย,

นิสสัคคิยะ, ปาจิตตีย์, ปาฏิเทสนียะ, ทุกกฏ, ทุพภาสิต, เสขิยะ

 

เล่ม ๑๐ หน้า ๖๐๖-๖๑๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๑-๕๕๔ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

                                 

บางส่วนของ คาถาสังคณิกะ

 

วิเคราะห์ปาราชิก

 

                    [๑,๐๓๕] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาราชิก ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           บุคคลเป็นผู้เคลื่อนแล้ว ผิดพลาด

           แลเหินห่างจากสัทธรรม

           อนึ่ง แม้สังวาสก็ไม่มีในผู้นั้น

           เพราะเหตุนั้น เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า ปาราชิก.

 

วิเคราะห์สังฆาทิเสส

 

                      [๑,๐๓๖] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า สังฆาทิเสส ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส

           ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต อัพภาน

           เพราะเหตุนั้น  เราจึงเรียกอาบัตินั้นว่า สังฆาทิเสส.

 

วิเคราะห์อนิยต

 

                      [๑,๐๓๗] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า อนิยต ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           กองอาบัติชื่อว่าอนิยต เพราะไม่แน่

           บทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำแล้วโดยมิใช่ส่วนเดียว

           บรรดาฐานะ ๓ ฐานะอย่างใดอย่างหนึ่ง เรียกว่า อนิยต.

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๐๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

วิเคราะห์ถุลลัจจัย

 

                      [๑,๐๓๘] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุลลัจจัย ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้ภิกษุรูปหนึ่ง

           และภิกษุรับอาบัตินั้น โทษเสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี

           เพราะเหตุนั้นจึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.

 

วิเคราะห์นิสสัคคิยะ

 

                      [๑,๐๓๙] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิสสัคคิยะ ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่ามกลางคณะ

           และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว

           จึงแสดงข้อละเมิดใด

           เพราะเหตุนั้น จึงเรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.

 

วิเคราะห์ปาจิตตีย์

 

                      [๑,๐๔๐] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาจิตตีย์ ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อมฝืนต่ออริยมรรค

           เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๐๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

           แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด นั้นว่า ปาจิตตีย์.

 

วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ

 

                      [๑,๐๔๑] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิเทสนียะ ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยากรับมาเองแล้วฉัน

           เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ

           ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์

           ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ในที่นั้นตามพอใจ

           ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น

           เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ

           ภิกษุไม่อาพาธ

           ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์น้อย

           เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น

           เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ

           ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่าที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า

           ฉันภัตตาหารที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น

           เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ

           ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่นยืดถือว่าเป็นของเรา

           คือ เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ

           นมสด และนมส้ม ด้วยตนเอง

           ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนาของพระสุคต.

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๐๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

วิเคราะห์ทุกกฏ

 

                      [๑,๐๔๒] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ  ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           กรรมใดผิดพลั้งและพลาด

           กรรมนั้นชื่อว่าทำไม่ดี

           คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้งหรือในที่ลับ

           บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว

           เพราะเหตุนั้น กรรมนั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.

 

วิเคราะห์ทุพภาสิต

 

                      [๑,๐๔๓] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพภาสิต ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดีและเศร้าหมอง

           วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียนบทใด

           เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า ทุพภาสิต.

 

วิเคราะห์เสขิยะ

 

                      [๑,๐๔๔] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ ดังนี้

           ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป

           ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๖๑๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

           และเป็นข้อระวัง คือ

           สำรวม ของพระเสขะ ผู้ศึกษาอยู่

           ผู้ดำเนินไปตามทางตรง

           สิกขาทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี

           เพราะเหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.

 

อุปมาอาบัติและอนาบัติ

 

                      เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว

           เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว

           เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้

           เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อมไม่รั่ว

           ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค

           อากาศเป็นทางไปของหมู่ปักษี

           ความเสื่อมเป็นคติของธรรมทั้งหลาย

           นิพพานเป็นภูมิที่ไปของพระอรหันต์.

 

คาถาสังคณิกะ จบ

 

http://www.tripitaka91.com/10-606-1.html