ผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก... ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก

(มีการกระทำ) ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ

มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ

แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี

แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี

เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น  รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ)

บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร ?

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่

ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี

ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว  มีเพื่อนทราม

ฉันนั้นเหมือนกัน”

 

"ในบทว่า  เอวเมว โข  นี้

 พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ.

บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนงูเรือน

ตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น

ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล

(แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น

พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถ

ไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น

เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว

พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น."

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๘๗-๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐-๙๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

 

๗.  ชิคุจฉิตัพพสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบและไม่ควรคบ

 

          [๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก

บุคคล ๓ คือใคร คือ

บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ก็มี

บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ก็มี

บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ก็มี

          บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร  ?

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก

(มีการกระทำ)ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ

มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ แต่

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี

เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น  รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ)

บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร ?

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่

ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี

ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว  มีเพื่อนทราม

ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น

บุคคลเช่นนั้น จึงควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

          บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร

บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ

มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อย

ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด.

ทำความกำเริบความร้ายและความเดือดดาลให้ปรากฏ

เหมือนแผลร้ายถูกไม้หรือกระเบื้องเข้ายิ่งหนองไหล...

เหมือนฟืนไม้ติณฑุกะถูกครูดด้วยไม้หรือกระเบื้อง

ยิ่งส่งเสียงจิจิฏะๆ...

เหมือนหลุมคูถถูกรันด้วยไม้หรือกระเบื้องยิ่งเหม็นฉันใด

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคนขี้โกรธ

มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อย

ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด

ทำความกำเริบความร้าย

และความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น

บุคคลเช่นนี้  ภิกษุทั้งหลาย ควรเฉย ๆ เสีย

ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร

เพราะ (เกรงว่า) เขาจะด่าเราบ้าง

จะตะเพิดเราบ้าง จะทำเราให้เสื่อมเสียบ้าง

เพราะเหตุนั้น บุคคลชนิดนี้  จึงควรเฉย ๆ เสีย ฯลฯ

          ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร  ?

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม

บุคคลอย่างนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงบุคคลเช่นนั้น

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า

เป็นคนมีมิตรดี  มีสหายดี  มีเพื่อนดี

เพราะเหตุนั้น

บุคคลอย่างนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้

         นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.

         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิคมคาถาว่า           

                    คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม

          ส่วนคนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เสื่อมในกาลไหนๆ

          ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว

          เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.

 

จบชิคุจฉิตัพพสูตรที่  ๗

 

อรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตร

 

          พึงทราบวินิจฉัยในชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  ชิคุจฺฉิตพฺโพ  ความว่า

บุคคลที่ใคร  ๆ พึงรังเกียจเหมือนคูถฉะนั้น.

บทว่า  อถโข นํ  เท่ากับ  อถโข  อสฺส.

บทว่า  กิตฺติสทฺโท  คือ เสียงที่กล่าวขานกัน.

ในบทว่า  เอวเมว โข  นี้

พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

          ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ.

บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนงูเรือนตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น

ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล (แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น

พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถ

ไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น

เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว

พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น.

บทว่า  ติณฑุกาลาตํ  ได้แก่ ดุ้นฟืนไม้มะพลับ.

บทว่า  ภิยฺโยโส  มตฺตาย  จิจิฏายติ  ความว่า

ก็ดุ้นฟืนไม้มะพลับนั้น เมื่อ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ถูกเผาตามปกติสะเก็ดจะกระเด็นหลุดออก

ส่งเสียงดัง  จิจิฏะ  จิจิฏะ.

อธิบายว่าแต่ดุ้นฟืนที่ถูกเคาะจะส่งเสียงดังกว่ามาก.

          บทว่า  เอวเมว  โข  ความว่า

บุคคลผู้มักโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

คือ แม้ตามธรรมดาของตนก็เป็นผู้ไม่สงบ ดุร้ายเที่ยวไป.

แต่ในเวลาที่ได้ฟังคำพูด (ว่ากล่าว) แม้เพียงเล็กน้อย

ก็กลับเที่ยวเกรี้ยวกราดดุร้ายยิ่งขึ้นไปอีกว่า

คนนี้ พูดอย่างนี้  ๆ กับ คนเช่นเราได้.

บทว่า  คูถกูโป  ได้แก่

หลุมที่เต็มไปด้วยคูถ หรือหลุมคูถนั่นแล.

ก็ในที่นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบโดยนัยก่อนนั้นแล.

          บทว่า  ตสฺมา  เอวรูโป  ปุคฺคโล  อชณุเปกฺ ขิตพฺโพ น เสวิตพฺโพ  ความว่า

เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักโกรธ

เมื่อใครคบหาใกล้ชิด ก็โกรธ (เขา) เหมือนกัน

ย่อมโกรธ แม้กะบุคคลที่ด่าย้อนให้ว่า

คนผู้นี้มีประโยชน์อะไร ฉะนั้น เขาจึงเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง

ที่ทุกคนควรวางเฉย ไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคม.

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร  ?

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

บุคคลที่เข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางจนเกินไปจะร้อน

ร่างกายของเขาจะพลอยถูกไหม้ไปด้วย

บุคคลที่ถอยออกห่างมากเกินไปจะ (ไม่) ร้อน

ความหนาวของเขาก็ยังไม่หาย

ส่วนบุคคลที่ผิงไฟอยู่ในระยะพอดี

ไม่เข้าใกล้จนเกินไป (และ) ไม่ถอยออกห่างจนเกินไป

ความหนาวก็จะหาย

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง

จึงควรถูกวางเฉยเสีย โดยการวางตัวเป็นกลาง

ไม่ควรที่ใคร ๆ จะเสพ ไม่ควรที่ใคร ๆ จะคบหา

ไม่ควรที่ใคร ๆจะเข้าไปนั่งใกล้

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  กลฺยาณมิตฺโต  ได้แก่ มิตรผู้สะอาด.

บทว่า  กลฺยาณสหาโย  ได้แก่ สหายผู้สะอาด.

ที่ชื่อว่า  สหาย  ได้แก่ ผู้มีปกติไปร่วมกันและเที่ยวไปร่วมกัน.

บทว่า  กลฺยาณสมฺปวงฺโก  ได้แก่

ผู้โอนไปในกัลยาณมิตรทั้งหลาย คือ ในบุคคลผู้สะอาด

อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมโน้มเหนี่ยวนำไปในกัลยาณมิตรนั้น.

  

จบอรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่   ๗

 

http://www.tripitaka91.com/34-87-12.html