พาลเหล่านั้นย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่ตนถือไว้ไม่ดี ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเอง

และเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ

ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่ตนถือไว้ไม่ดี

ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้

เหมือนพี่ชายของทีฆวิทะ

ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์

หมกไหม้อยู่ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร

และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล

ที่ชอบใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น

เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของทีฆวิทะนั่นแหละ

หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น.”

 

เล่ม ๓๙ หน้า ๑๗๒-๑๗๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๖๘-๑๗๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑

 

ผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก... ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก

(มีการกระทำ) ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ

มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ

แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี

แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี

เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น  รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ)

บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร ?

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่

ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี

ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว  มีเพื่อนทราม

ฉันนั้นเหมือนกัน”

 

"ในบทว่า  เอวเมว โข  นี้

 พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ.

บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนงูเรือน

ตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น

ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล

(แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น

พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถ

ไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น

เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว

พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น."

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๘๗-๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐-๙๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

ตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัตยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“ตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัต

ยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น

พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก”

 

เล่ม ๔๕ หน้า ๑๒๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๒๔-๑๒๕ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔

ทำลายศีลที่สมาทานแล้วมีโทษ

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

ด้วยบทว่า  ทุสฺสีโล  ตรัสถึงบุคคลผู้ไม่มีศีล.

ก็บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้นมี ๒ อย่าง คือ

เพราะไม่สมาทาน

หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว.

ใน ๒ อย่างนั้น ข้อต้นไม่มีโทษ

เหมือนอย่างข้อที่ ๒ ที่มีโทษแรงกว่า.

 

เล่ม ๔๔ หน้า ๗๖๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๗๑๖-๗๑๗ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓

เหตุและปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นานและพระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน เมื่อพระตถาคตปรินิพพานแล้ว

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.”

 

“ดูก่อนกิมพิละ

เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมดำรงอยู่ได้นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.”

 

เล่ม ๓๖ หน้า ๔๔๖-๔๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๓๙-๔๔๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุทุศีล ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี

ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว

เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้

ในความมีสีทรามของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น

อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม

ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูล

เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน”

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๔๘๙-๔๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๐๗-๕๑๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร เล่ม ๑ ภาค ๓

เหตุที่พระมหากัสสปะ และคณะสงฆ์ ไม่เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

เหตุที่พระมหากัสสปะ และคณะสงฆ์

ไม่เพิกถอนสิกขาบทเล็กน้อย

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน

  

เล่ม ๑๓ หน้า ๓๕๐-๓๕๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๔๒ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994