ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

 

“ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

การแสดงธรรมบ่อย ๆ 

แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ

นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก

การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธา

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา

ชักชวนผู้ทุศีล

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา

ชักชวนผู้ตระหนี่

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา

ชักชวนผู้มีปัญญาทราม

ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา

นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย"

 

เล่ม ๓๗ หน้า ๗๒๑-๗๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๙๒-๕๙๔ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔

 

๕.  พลสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๔ กับภัย ๕

 

          [๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

กำลัง คือ ปัญญา ๑

กำลัง คือ ความเพียร ๑

กำลังคือ การงานอันไม่มีโทษ ๑

กำลัง คือ การสงเคราะห์ ๑.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน

ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล

ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล

ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ

ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ

ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว

ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ

ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ

ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ

นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ

ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ

นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ

ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง

ประพฤติได้ด้วยปัญญานี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นไฉน

ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล

ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ

ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ

ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ  นับว่าไม่ควรเสพ

ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ

นับว่าไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ

บุคคลยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร

ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น

ธรรมเหล่าใด

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๗๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล

ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ

ธรรมเหล่าใดขาว นับว่าขาว

ธรรมเหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ

ธรรมเหล่าใดสามารถทำความเป็นพระอริยะ

นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ

บุคคลย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภความเพียร

ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อได้ธรรมเหล่านั้น

นี้เรียกว่ากำลัง  คือ ความเพียร.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง  คือ การงานอันไม่มีโทษเป็นไฉน

อริยสาวกใน ธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วย

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันหาโทษมิได้

นี้เรียกว่ากำลัง คือ การงานอันไม่มีโทษ.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน

สังควัตถุ ๔ ประการนี้ คือ

ทาน ๑

เปยยวัชชะ ๑

อัตถจริยา ๑

สมานัตตตา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทานเลิศกว่าทานทั้งหลาย

การแสดงธรรมบ่อย ๆ

แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ

นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำอันเป็นที่รัก

การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้

ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา

ชักชวนผู้ทุศีลให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา

ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา

ชักชวนผู้มีปัญญาทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา

นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย 

พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน

พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี

พระอานาคามีมีตนเสมอกับพระอนาคามี

พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์

นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย

นี้เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล.

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๗๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล

ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการ

ภัย ๕ ประการเป็นไฉนคือ

อาชีวิตภัย ๑

อสิโลกภัย ๑

ปริสสารัชภัย ๑

มรณภัย ๑

ทุคติภัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกนั้นแล

พิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราไม่กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต

ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า

เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ

กำลังปัญญา

กำลังความเพียร

กำลังการงานอันไม่มีโทษ

กำลังการสงเคราะห์

คนที่มีปัญญาทรามแล

จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต

คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ

กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเพราะ

การงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ

คนที่ไม่สงเคราะห์ใครก็กลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต

เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ

เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทกสะท้านในบริษัท...

เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย...

เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ

ไฉนเราจักกลัวต่อภัย คือทุคติเล่า

เพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ

กำลังปัญญา

กำลังความเพียร

กำลังการงานอันไม่มีโทษ

กำลังการสงเคราะห์

คนที่มีปัญญาทรามแลจึงกลัวต่อภัยคือทุคติ

คนเกียจคร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คือ

กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะ

การงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ

คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล

ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้.

 

จบ  พลสูตรที่  ๕

 

http://www.tripitaka91.com/37-721-1.html