ความยินดีรับทอง และเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์
- ฮิต: 5222
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
ความยินดีรับทองและเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์
เล่ม ๓๕ หน้า ๑๗๔-๑๗๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗๘-๑๘๑ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒
๑๐. อุปกิเลสสูตร
ว่าด้วยเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์๔ อย่างนี้
ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่สว่างไสวไพโรจน์
อุปกิเลสแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างคืออะไรบ้าง คือ
เมฆ ๑
หมอก ๑
ควันและผงคลี ๑
อสุรินทราหู ๑
นี้แล อุปกิเลส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต
เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๗๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่าง
ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่สว่างไสวไพโรจน์
ภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั้นแล
อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายก็มี ๔ ประการ
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่งามสง่า สุกใส รุ่งเรือง
อุปกิเลสของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย
ไม่งดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย
การดื่มสุราเมรัยเป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๑
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเสพเมถุนธรรม
ไม่งดเว้นจากเมถุนธรรม
การเสพเมถุนธรรมนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๒
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่ายินดีทองและเงิน
ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน
ความยินดีรับทองและเงินนี้
เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๓
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะ
ไม่งดเว้นจากมิจฉาอาชีวะ
การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๔
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ ๔ ประการ
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.
สมณพราหมณ์บางเหล่าผู้มีราคะโทสะปกคลุมแล้ว
เป็นคนอันอวิชชาปกปิดแล้ว
เพลินยินดีในปิยรูป (สิ่งที่รัก) ดื่ม
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต
เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๗๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
สุราเมรัย
บางเหล่าเสพเมถุน
บางเหล่าโฉดเขลา ยินดีเงินและทอง
บางเหล่าเลี้ยงชีพโดยมิจฉาอาชีวะ.
บาปธรรมเหล่านั้น
พระพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์
ตรัสว่าเป็นอุปกิเลสซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์เหล่านั้น
ปรากฏว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มีราคี ไม่งามสง่าสุกใส.
สมณพราหมณ์เหล่านั้นอันความมืด (คืออวิชชา) หุ้มห่อแล้ว
ตกเป็นทาสตัณหา ถูกตัณหาจูงไป
บำรุงเลี้ยงอัตภาพร้ายเข้าไว้ต้องไปเกิดอีก.
จบอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐
จบโรหิตัสสวรรคที่ ๕
อรรถกถาอุปกิเลสสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปกฺกิเลสา ความว่า
ชื่อว่าอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)
เพราะทำความมัวหมอง ไม่ให้ผ่องใส.
บทว่า มหิยา คือ หมอก.
บทว่า ธูมรโช ได้แก่ ควันและผงคลี.
บทว่า ราหุ ความว่า
หมอก ควัน และผงคลี ทั้งสามข้างต้น
เป็นอุปกิเลสที่ไม่ถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
ส่วนราหูพึงทราบว่า
ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปกิเลส
ที่ถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์.
บทว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต
เล่ม ๒ - หน้าที่ ๑๗๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
สมณพฺราหฺมณา น ตปนฺติ น ภาสนฺติ น วิโรจนฺติ
ความว่า ย่อมไม่งาม ด้วยความงามโดยคุณ
ไม่สุกใสด้วยความสุกใสโดยคุณ
ย่อมไม่ไพโรจน์ด้วยความไพโรจน์โดยคุณ.
บทว่า สุราเมรยปานา อปฺปฏิวิรตา ความว่า
ไม่เว้นจากการดื่มสุรา ๕ อย่าง และเมรัย ๔ อย่าง.
บทว่า อวิชฺชานิวุตา ความว่า
เป็นคนถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว คือ ปกปิดไว้แล้ว.
บทว่า ปิยรูปาภินนฺทิโน ความว่า เพลิดเพลิน ยินดี
ปิยรูป (สิ่งที่รัก) สิ่งเป็นที่ยินดี.
บทว่า สาทิยนฺติ คือ ย่อมรับ.
บทว่า อวิทฺทสุ คือ อันธพาล.
บทว่า สเนตฺติกา ความว่า
นำไปด้วยเชือกคือตัณหา.
บทว่า กฏสึ คือ อัตภาพ.
บทว่า โฆรํ คือ ร้าย.
ทั้งในพระสูตรนี้ทั้งในคาถา
ตรัสแต่วัฏฏะอย่างเดียว.
จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐