รวมเรื่องพระภิกษุ รับ ให้รับ หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

   

รวมเรื่องพระภิกษุ รับ ให้รับ

หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี 

ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

(โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘)(เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๗ (ปกสีแดง)  

http://www.tripitaka91.com/3-940-16.html

 

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ 

 มีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

(โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙)(เรื่องพระฉัพพัคคีย์)

เล่ม ๓ หน้า ๙๕๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐๕ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-959-17.html

 

พระบัญญัติ

อนึ่ง...ภิกษุใดถึงการแลกเปลี่ยนมีประการต่างๆ 

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

(โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๑๐)(เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร)

เล่ม ๓ หน้า ๙๗๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๑๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-974-6.html

 

สามเณรก็ต้องเว้นขาดจากรับทองและเงิน

(ทายัชชภาณวาร)

เล่ม ๖ หน้า ๒๘๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/6-284-8.html

(อรรถกถาบรรพชาวินิจฉัย)

เล่ม ๖ หน้า ๘๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๔๑ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/6-81-18.html

 

ความยินดีรับทองและเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์

(อุปกิเลสสูตร)

เล่ม ๓๕ หน้า ๑๗๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/35-175-12.html

 

ว่าด้วยทองและเงิน ไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

(มณิจูฬกสูตร)

เล่ม ๒๙ หน้า ๒๑๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๐๐ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/29-212-1.html

 

ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้  

(เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ)

เล่ม ๙ หน้า ๕๓๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๒๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/9-535-3.html

 

จุลศีล

... ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

... ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.

(สามัญญผลสูตร)

เล่ม ๑๑ หน้า ๓๑๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๖๔ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/11-310-22.html

 

เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนามาส

(เตรสกัณฑวรรณนา)

เล่ม ๓ หน้า ๑๗๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๖๗ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-176-14.html

 

อนึ่ง สมณพราหมณ์พวกหนึ่งยินดีทองและเงิน

ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน

นี้เป็นเครื่องเศร้าหมองของสมณพราหมณ์ข้อที่สาม

ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง

เศร้าหมอง ไม่มีสง่า ไม่ผ่องใส ไม่ไพโรจน์

(สัตตสติกขันธกะ)

เล่ม ๙ หน้า ๕๓๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๒๒ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/9-533-18.html

 

ภิกษุใดยินดีทองและเงินที่เขาเก็บไว้เพื่อตน

มโนสมาจารของภิกษุนั้นชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์

(อรรถกถามหาอัสสปุรสูตร)

เล่ม ๑๙ หน้า ๒๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๒๖ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/19-223-22.html

 

          ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ 

          ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

(โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๘ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-941-17.html

 

          บทว่า  ชาตรูปรชตํ  นี้

คำว่า  ชาตรูป  เป็นชื่อแห่งทองคำ.

ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต;

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า

ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.

เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า

โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา

นี้ชื่อว่า  ชาตรูป  (ทองคำธรรมชาติ). 

ส่วนเงินท่านเรียกว่า รูปิยะ.

ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.

แต่ในสิกขาบทนี้

ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง

ที่ให้ถึงการซื้อขายได้.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า  รชตํ  นั้น

ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.

[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]

          บรรดาบทว่า  กหาปณะ  เป็นต้นนั้น

กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี

กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า  กหาปณะ.

          มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น

ชื่อว่า  โลหมาสก.

          มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี

โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป

ก็ชื่อว่า  มาสกไม้.

          มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี

ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า  มาสกยาง.

          ก็ด้วยบทว่า  เย โวหารํ คจฺฉนฺติ  นี้

ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมด

ที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน

โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง

ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง.

(พรรณนารูปิยสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๒ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-945-6.html

 

วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้

(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด

จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,

วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ

ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย

นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น

จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.

วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ

และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น

จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.

บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฎวัตถุนั้น

ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุเพื่อประโยชน์ตนเอง

หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์เป็นต้น

ย่อมไม่ควร,

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง.

เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ

เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง,

ไม่เป็นอาบัติในกัปปิยวัตถุ.

เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า

แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด

ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริกเพื่อต้องการจะเก็บไว้

(พรรณนารูปิยสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-946-6.html

 

ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน

เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์

คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ.

(รัตนสิกขาบทที่ ๒)

เล่ม ๔ หน้า ๘๑๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๐๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/4-816-14.html

 

ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า

กหาปณะเหล่านี้พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า

ท่านจงนำผ้ามาด้วยกหาปณะเท่านี้,

จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้

ด้วยความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ

สิ่งของที่พวกเขานำมา เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการกหาปณะ.

(จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๘๖๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๘ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-869-8.html

 

ด้วยว่าในกาลภายหน้า พวกภิกษุอลัชชีเห็นแก่ปัจจัย จักมีมาก

พวกเหล่านั้น จักพากันแสดงธรรมเทศนาที่ตถาคต

กล่าวติเตียนความละโมบในปัจจัยไว้แก่ชนเหล่าอื่น

เพราะเหตุแห่งปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น

จักไม่สามารถแสดงให้พ้นจากปัจจัยทั้งหลาย

แล้วตั้งอยู่ในฝ่ายธรรมนำสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ มุ่งตรงสู่พระนิพพาน

ชนทั้งหลายก็จะฟังความสมบูรณ์แห่งบทละพยัญชนะ

และสำเนียงอันไพเราะอย่างเดียว เท่านั้น

แล้วจักถวายเอง และยังชนเหล่าอื่นให้ถวาย

ซึ่งปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น อันมีค่ามาก

ภิกษุทั้งหลายอีกบางพวก จักพากันนั่งในที่ต่าง ๆ

มีท้องถนน สี่แยก และประตูวัง เป็นต้น แล้ว

แสดงธรรมแลกรูปิยะมี เหรียญกษาปณ์

ครึ่งกษาปณ์ เหรียญบาท เหรียญมาสก เป็นต้น

โดยประการฉะนี้

ก็เป็นเอาธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน

ไปแสดงแลกปัจจัย ๔ และรูปิยะ

มีเหรียญกษาปณ์และเหรียญ ครึ่งกษาปณ์เป็นต้น

(อรรถกถามหาสุบินชาดกที่ ๗)

เล่ม ๕๖ หน้า ๒๓๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗๑ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/56-230-10.html

 

เรื่องพระวัชชีบุตรแสดงวัตถุ ๑๐ ประการ

(สัตตสติกขันธกะ)

เล่ม ๙ หน้า ๕๓๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๑๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/9-530-1.html

 

วิธีเสียสละรูปิยะ

(โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-942-1.html

 

ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ

(พรรณนารูปิยสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๕ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-949-3.html

 

ความพิสดารว่า ภิกษุใด รับเอารูปิยะ

แล้วจ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น,

ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น แล้วให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น.

บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ

ภิกษุนั้นไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ.

(พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๙๖๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๑๔ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-968-14.html

 

พระพุทธเจ้าเปรียบเงินเหมือนอสรพิษร้าย

(เรื่องชาวนา)

เล่ม ๔๑ หน้า ๒๐๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๖๖ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/41-200-6.html

 

[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]

(จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๘๕๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๐ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-859-18.html

 

วิธีปฏิบัติในเรื่องเงินและทองที่มีผู้ถวาย

(จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท)

เล่ม ๓ หน้า ๘๖๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-863-13.html

 

มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส

เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า

สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า

ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะ

จากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้

แต่เรามิได้กล่าวว่า

พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยายไร ๆ เลย.

(เภสัชชขันธกะ)

เล่ม ๗ หน้า ๑๔๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๔๐ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/7-149-3.html

 

จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร

เล่ม ๓ หน้า ๘๔๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๗๙๖ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-844-1.html

 

สมุฏฐานของอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

(สมุฏฐาน)

เล่ม ๑๐ หน้า ๘๘๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/10-888-1.html

 

วิเคราะห์ปาราชิก, สังฆาทิเสส, อนิยต, ถุลลัจจัย, นิสสัคคิยะ,

ปาจิตตีย์, ปาฏิเทสนียะ, ทุกกฏ, ทุพภาสิต, เสขิยะ

(คาถาสังคณิกะ)

เล่ม ๑๐ หน้า ๖๐๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๑ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/10-606-1.html

 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย

ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้

จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว

ยังจักสมาทานประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร

ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว

หาความเสื่อมมิได้.”

(มหาปรินิพพานสูตร)

เล่ม ๑๓ หน้า ๒๔๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๓๒ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/13-240-12.html

 

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

ดูก่อนอานนท์

บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า

ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว

พระศาสดาของพวกเราไม่มี

ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น

ธรรมก็ดีวินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว

ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ

ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ

โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

(มหาปรินิพพานสูตร)

เล่ม ๑๓ หน้า ๓๒๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/13-320-17.html

 

ส่วนภิกษุทั้งหลายไม่แต่งวัตตกติกา หรือสิกขาบทขึ้นใหม่

แสดงคำสั่งสอนจากธรรมวินัย ไม่ถอดถอนสิกขาบท เล็กๆ น้อย ๆ

ชื่อว่าไม่บัญญัติ ข้อที่ไม่ทรงบัญญัติ

ไม่ถอดถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว

สมาทานประพฤติในสิกขาบทตามที่ทรงบัญญัติไว้

เหมือนท่านพระอุปเสนะ ท่านพระยสกากัณฑกบุตร

และท่านพระมหากัสสปะ ผู้ตั้งแบบแผนนี้ว่า

ท่านผู้มีอายุ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สิกขาบททั้งหลายของพวกเรา เป็นส่วนของคฤหัสถ์มีอยู่

แม้คฤหัสถ์ทั้งหลายก็รู้ว่า

สิ่งนี้ควรแก่สมณะศากยบุตรของพวกท่าน สิ่งนี้ไม่ควรแก่พวกท่าน

ก็ถ้าพวกเราจักถอดถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ กันไซร้

ก็จักมีผู้ว่ากล่าวเอาได้ว่า

สิกขาบทที่พระสมณโคดมบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย อยู่ได้ชั่วควันไฟ

สาวกเหล่านี้ ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

ตราบเท่าที่ศาสดา ของสาวกเหล่านี้ยังดำรงอยู่

เพราะศาสดาของสาวกเหล่านี้ปรินิพพานเสียแล้ว

บัดนี้ สาวกเหล่านี้ก็ไม่ยอมศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย ดังนี้

ผิว่าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์ไม่พึงบัญญัติข้อที่ไม่ได้ทรงบัญญัติไว้

ไม่พึงถอดถอนข้อที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว

พึงสมาทานประพฤติ ในสิกขาบททั้งหลาย ตามที่ทรงบัญญัติไว้.

(อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร)

เล่ม ๑๓ หน้า ๓๕๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๔๒ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/13-350-12.html

 

“พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว

พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา

เป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงกันและกัน

ดูก่อนกิมพิละ

นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัย

เครื่องให้พระสัทธรรมไม่ดำรงอยู่นาน

ในเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว.

(กิมพิลสูตร)

เล่ม ๓๖ หน้า ๔๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๓๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/36-446-8.html

 

ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้ว

เปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง

(เอกุตตริกะ)

เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๒๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/10-465-16.html

 

พระธรรมไม่ประกอบด้วยกาล

(อธิปไตยสูตร)

เล่ม ๓๔ หน้า ๑๘๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/34-186-12.html

(อรรถกถาโสฬสมาณวกปัญหานิทเทส)

เล่ม ๖๗ หน้า ๕๐๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๕๖ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/67-503-16.html

 

พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด

พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด

ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง

เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น

เมื่อพระสูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป

ในโลกก็จักมีแต่ความมืด

เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต

เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่

ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย

นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ

ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้

เล่ม ๓๒ หน้า ๑๗๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๕๐ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/32-174-14.html

 

พระขีณาสพต้องอาบัติ… เมื่อต้องทางใจ

ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.

(อรรถกถาทุติยเสขสูตร)

เล่ม ๓๔ หน้า ๔๕๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๖๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/34-457-7.html

 

พระขีณาสพที่ฟังมาน้อยไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ

ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง

ในทางมโนทวารด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.

(อรรถกถาสังคีติสูตร)

เล่ม ๑๖ หน้า ๓๐๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๘๘ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/16-302-11.html

 

สมัยต่อมา

ภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

ไม่ช้าไม่นานเท่าไรนัก

แม้พวกเธอก็กลายเป็นพวกอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

เล่ม ๖ หน้า ๓๕๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/6-351-7.html

 

ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่

ด้วยพระบัญญัติก็ดี

ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด

ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส

ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม

ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

ต้องอาบัติทุกกฏ.

(สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔)

เล่ม ๔ หน้า ๖๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๔๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/4-648-1.html

 

ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว

ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า

จะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด

ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้ฉะนั้น.

ส่วนปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใด ไม่เสียหาย

ภิกษุนี้ ก็สามารถเพื่อทำศีลที่เหลือให้กลับเป็นปกติได้อีก

แล้วรักษาข้ออื่น เหมือนคนหัวไม่ขาด

สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น ศีลก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง.

ด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั้น.

(อรรถกถาปาฏิโมกขสูตร)

เล่ม ๓๐ หน้า ๔๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๗๔ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/30-491-20.html

 

อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ

แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว

อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าในจำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว

ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว.

(เอกุตตริก วัณณนา)

เล่ม ๑๐ หน้า ๕๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๗๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/10-521-1.html

 

“บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป

ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น

ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่

ไม่ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.

(ปฏิสัลลานสูตร)

เล่ม ๔๔ หน้า ๕๙๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๓ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/44-599-15.html

“บทว่า  ธมฺเมน น วณีจเร  ความว่า

ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์.

เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น

ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า.

อย่าเที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมีการสอดแนมเป็นต้น

เหมือนคนของพระเจ้าโกศล

ทำการสอดแนมเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น

ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น 

โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า.

ฝ่ายบุคคลใด

แม้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้

ก็ประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำการค้า

อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ

คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรมอย่างนี้.”

(อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร)

เล่ม ๔๔ หน้า ๖๐๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/44-605-22.html

 

ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก

(โฆฏมุขสูตร)

เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/21-335-16.html

(เสนาสนักขันธกวรรณนา)

เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/9-260-5.html

(คณโภชนสิกขาบทที่ ๒)

เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/4-476-9.html

(เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก)

เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖ (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/43-423-1.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุ รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงิน อันเขาเก็บไว้ให้  ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

 

รวมเรื่องโยม เตือนหรือขับไล่

พระภิกษุ ก็ได้ (ถ้าพระผิด)

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbpwchEk2prUGnOPFw

 

รวมเรื่อง โทษของพระภิกษุละเมิดพระธรรมวินัย

โทษของผู้คบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbpudIFToLhf3thLJA

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994