เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนามาส

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

เงินและทอง

แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนามาส

 

เล่ม ๓ หน้า ๑๗๖-๑๗๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๖๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ เตรสกัณฑวรรณนา

 

เงินและทอง แม้เขาทำเป็นรูปพรรณทุกสิ่งทุกอย่าง

เป็นอนามาส และเป็นของไม่ควรรับไว้

จำเดิมแต่ยังเป็นแร่.

ได้ยินว่า อุดรราชโอรสให้สร้างพระเจดีย์ทอง

ส่งไปถวายพระมหาปทุมเถระ.

พระเถระห้ามว่า ไม่ควร

ดอกปทุมทองและดาวทองเป็นต้น

มีอยู่ที่เรือนพระเจดีย์,

แม้สิ่งเหล่านั้นก็เป็นอนามาส

แต่พวกภิกษุผู้เฝ้าเรือนพระเจดีย์

ตั้งอยู่ในฐานเป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ภิกษุเหล่านั้นจะลูบคลำดูก็ควร.

แต่คำนั้น ท่านห้ามไว้ในกุรุนที.

ท่านอนุญาตเพียงเท่านี้ว่า

จะชำระหยากเยื่อที่พระเจดีย์ทองควรอยู่.

ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งปวง

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ 

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๑๗๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ว่า แม้โลหะที่กะไหล่ทอง

ก็มีคติทองคำเหมือนกัน จัดเป็นอนามาส.

ส่วนเครื่องใช้สอยในเสนาสนะ เป็นกัปปิยะทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้น เครื่องบริขารประจำเสนาสนะ

แม้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองและเงิน

เป็นอามาส (ควรจับต้องได้).

 

http://www.tripitaka91.com/3-176-14.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994