ทอง , เงิน คือ ?
- ฮิต: 3663
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
ทอง , เงิน คือ ?
เล่ม ๓ หน้า ๙๔๑-๙๔๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๘-๘๘๙ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘
ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ
มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง
ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า
หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า
ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์
ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์
http://www.tripitaka91.com/3-941-17.html
เล่ม ๓ หน้า ๙๔๕-๙๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๒-๘๙๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ พรรณนารูปิยสิกขาบท
บทว่า ชาตรูปรชตํ นี้
คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ.
ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต;
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า
ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.
เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า
โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา
นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ ).
ส่วนเงินท่านเรียกว่า รูปิยะ.
ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.
แต่ในสิกขาบทนี้
ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้น
อย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง
ที่ให้ถึงการซื้อขายได้.
เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า รชตํ นั้น
ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.
[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]
บรรดาบทว่า กหาปณะ เป็นต้นนั้น
กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี
กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น
ชื่อว่า โลหมาสก.
มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี
โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป
ก็ชื่อว่า มาสกไม้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์
เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี
ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า มาสกยาง.
ก็ด้วยบทว่า เย โวหารํ คจฺฉนฺติ นี้
ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมด
ที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน
โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง
ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง.
วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้
(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด
จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,
วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย
นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น
จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ
และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น
จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.