ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม เป็นทุกกฏ
- ฮิต: 4021
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน เพื่อประโยชน์แก่ตน
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม
เป็นทุกกฏ
เล่ม ๓ หน้า ๙๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ พรรณนารูปิยสิกขาบท
วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้
(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด
จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,
วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ
ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย
นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น
จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.
วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ
และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น
จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.
บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฎวัตถุนั้น
ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุเพื่อประโยชน์ตนเอง
หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์เป็นต้น
ย่อมไม่ควร,
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง.
เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ
เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง,
ไม่เป็นอาบัติในกัปปิยวัตถุ.
เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า
แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด
ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริกเพื่อต้องการจะเก็บไว้
http://www.tripitaka91.com/3-946-6.html
เล่ม ๔ หน้า ๘๑๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๐๙ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒
บางส่วนของ รัตนสิกขาบทที่ ๒
ภิกษุรับเองก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทองและเงิน
เพื่อประโยชน์แก่ตน
เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์
รับเองก็ดี ให้รับเองก็ดี
เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะ บุคคล เจดีย์ และนวกรรม
เป็นทุกกฏ.