[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]
- ฮิต: 4879
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]
เล่ม ๓ หน้า ๘๕๙-๘๖๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๐-๘๑๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท
[ว่าด้วยกัปปิยการกและไวยาวัจกร]
ถามว่า ก็ในกัปปิยการกทั้งปวง จะพึงปฏิบัติอย่างนี้หรือ ?
แก้ว่า ไม่ต้องปฏิบัติ (อย่างนี้เสมอไป).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๖๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
แท้จริง ชื่อว่า กัปปิยการกนี้ โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ
ผู้ที่ถูกแสดง ๑
ผู้ที่มิได้ถูกแสดง ๑,
ใน ๒ พวกนั้น กัปปิยการกผู้ที่ถูกแสดงมี ๒ คือ
ผู้ที่ภิกษุแสดงอย่างหนึ่ง
ผู้ที่ทูตแสดงอย่างหนึ่ง.
แม้กัปปิยการกที่ไม่ถูกแสดงก็มี ๒ อย่าง คือ
กัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า ๑
กัปปิยการกลับหลัง ๑.
บรรดากัปปิยการก ที่ภิกษุแสดงเป็นต้นนั้น
กัปปิยการกที่ภิกษุแสดง มี ๔ อย่าง
ด้วยอำนาจต่อหน้าและลับหลัง.
กัปปิยการกที่ทูตแสดงก็เช่นเดียวกันแล.
อย่างไร ?
คือบุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมส่งอกัปปิยวัตถุไปด้วยทูต
เพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับภิกษุ.
ทูตเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น กล่าวว่า
ท่านขอรับ !
ท่านผู้มีชื่ออย่างนี้ ส่งอกัปปิยวัตถุนี้
มาเพื่อประโยชน์แก่จีวรสำหรับท่าน,
ขอท่านจงรับอกัปปิยวัตถุนั้น.
ภิกษุห้ามว่า อกัปปิยวัตถุนี้ไม่สมควร.
ทูตถามว่า ท่านขอรับ ! ก็ไวยาวัจกรของท่านมีอยู่หรือ ?
และไวยาวัจกรทั้งหลายที่พวกอุบาสก
ผู้ต้องการบุญสั่งไว้ว่า
พวกท่านจงทำการรับใช้แก่ภิกษุทั้งหลาย
หรือไวยาวัจกรบางพวกเป็นเพื่อนเคยเห็นเคยคบกันมาของภิกษุทั้งหลายมีอยู่.
บรรดาไวยาวัจกรเหล่านั้น คนใดคนหนึ่ง นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ ในขณะนั้น.
ภิกษุแสดงเขาว่า ผู้นี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย ดังนี้.
ทูตมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้น สั่งว่า
ท่านจงซื้อจีวรถวายพระเถระ ดังนี้ แล้วไป.
นี้ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงต่อหน้า.
ถ้าไวยาวัจกร มิได้นั่งอยู่ในสำนักของภิกษุ,
อนึ่งแล ภิกษุย่อมแสดงขึ้นว่า
คนชื่อนี้ ในบ้านชื่อโน้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๖๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ทูตนั้นไปมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของไวยาวัจกรนั้นสั่งว่า
ท่านพึงซื้อจีวรถวายพระเถระมาบอกแก่ภิกษุแล้วจึงไป.
ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างหนึ่ง.
ก็แล ทูตนั้นมิได้มาบอกด้วยตนเองเลย แต่กลับวานผู้อื่นไปบอกว่า
ท่านขอรับ ! ทรัพย์สำหรับจ่ายค่าจีวร ผมได้มอบไว้ในมือผู้นั้น, ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด.
ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สอง.
ทูตนั้น มิได้วานคนอื่นไปเลย, แต่ไปบอกภิกษุเสียเองแลว่า
ผมจักมอบทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือแห่งผู้นั้น, ขอท่านพึงรับเอาจีวรเถิด.
ผู้นี้ชื่อว่า ไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า อย่างที่สาม.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
ไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
ผู้ที่ภิกษุแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง
ผู้ที่ภิกษุแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก
ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ภิกษุแสดง.
ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกนี้
ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ในราชสิกขาบทนี้แล.
ภิกษุอีกรูปหนึ่งถูกทูตถามแล้ว โดยนัยก่อนนั่นแล
เพราะไวยาวัจกรไม่มี หรือเพราะไม่อยากจะจัดการ จึงกล่าวว่า
พวกเรา ไม่มีกัปปิยการก
และในขณะนั้นมีคนบางคนผ่านมา,
ทูตจึงมอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของเขา แล้วกล่าวว่า
ท่านพึงรับเอาจีวรจากมือของผู้นี้เถิด แล้วไปเสีย,
ไวยาวัจกรนี้ ชื่อว่าผู้อันทูตแสดงต่อหน้า.
ยังมีทูตอื่นอีกเข้าไปยังบ้านแล้ว
มอบอกัปปิยวัตถุไว้ในมือของผู้ใดผู้หนึ่ง ที่ชอบพอกับตน
แล้วมาบอก หรือวานผู้อื่นไปบอกโดยนัยก่อนนั่นแล
หรือกล่าวว่า ผมจักให้ทรัพย์สำหรับจ่ายจีวรไว้ในมือของคนชื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๖๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
โน้น, ท่านพึงรับเอาจีวรเถิด ดังนี้ แล้วไปเสีย.
ไวยาวัจกรที่ ๓ นี้ชื่อว่าผู้ที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
ไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้
คือไวยาวัจกรที่ทูตแสดงต่อหน้าจำพวกหนึ่ง
ไวยาวัจกรที่ทูตแสดงไม่พร้อมหน้า ๓ จำพวก
ชื่อว่าไวยาวัจกรที่ทูตแสดง.
ในไวยาวัจกร ๔ จำพวกเหล่านี้
ภิกษุพึงปฏิบัติ โดยนัยดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในเมณฑกสิกขาบทนั่นแล.
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย มีอยู่พวกมนุษย์ที่มีศรัทธาเลื่อมใส,
มนุษย์เหล่านั้น ย่อมมอบหมายเงิน และทอง
ไว้ในมือแห่งกัปปิยการกทั้งหลายสั่งว่า
พวกท่านจงจัดของที่ควรถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าด้วยเงินและทองนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต ให้ยินดี
สิ่งของซึ่งเป็นกัปปิยะจากเงินและทองนั้น,
ภิกษุทั้งหลาย ! แต่เราหากล่าวไม่เลยว่า
ภิกษุพึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงิน โดยปริยาย ไร ๆ.
ในอธิการแห่งไวยาวัจกร ๔ จำพวกที่ทูตแสดงนี้
ไม่มีกำหนดการทวง.
การที่ภิกษุผู้ไม่ยินดีมูลค่า ยินดีแต่กัปปิยภัณฑ์โดยการทวงหรือการยืน
แม้ตั้งพันครั้ง ก็ควร.
ถ้าไวยาวัจกรนั้นไม่ให้,
แม้จะพึงตั้งกัปปิยการกอื่น ให้นำมาก็ได้.
ถ้ากัปปิยการกอื่นปรารถนาจะนำมา,
ภิกษุพึงบอกแม้แก่เจ้าของเดิม.
ถ้าไม่ปรารถนา, ก็ไม่ต้องบอก.
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ถูกทูตถามโดยนัยก่อนเหมือนกัน กล่าวว่า
พวกเราไม่มีกัปปิยการก.
คนอื่นจากทูตนั้น ยืนอยู่ใกล้ ๆ ได้ยินจึงกล่าวว่า
ผู้เจริญ ! โปรดนำมาเถิด,
ผมจักจ่ายจีวรถวายพระคุณเจ้า ดังนี้.
ทูตกล่าวว่า เชิญเถิด ท่านผู้เจริญ !
ท่านพึงถวาย แล้วมอบไว้ในมือของผู้นั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๖๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ไม่บอกแก่ภิกษุเลย ไปเสีย.
นี้ชื่อว่ากัปปิยการกผู้ออกปากเป็นเองต่อหน้า.
ทูตอีกคนหนึ่งมอบอกัปปิยวัตถุไว้
ในมืออุปัฏฐากของภิกษุ หรือคนอื่นสั่งว่า
ท่านพึงถวายจีวรแก่พระเถระ แล้วหลีกไปจากที่นั่นทีเดียว.
นี้ชื่อว่า กัปปิยการกลับหลัง ;
ฉะนั้น กัปปิยการกทั้งสองนี้จึงชื่อว่า
กัปปิยการกที่ทูตไม่ได้แสดง.
ในกัปปิยการกทั้ง ๒ นี้
พึงปฏิบัติเหมือนในอัญญาตกสิกขาบทและอัปปวาริตสิกขาบทฉะนั้น.
ถ้ากัปปิยการกที่ทูตมิได้แสดงทั้งหลาย
นำจีวรมาถวายเอง ภิกษุพึงรับ,
ถ้าไม่ได้นำมาถวาย, อย่าพึงพูดคำอะไร ๆ.
ก็คำว่า ทูเตน จีวรเจตาปนํ ปหิเณยฺย นี้ สักว่าเป็นเทศนาเท่านั้น.
ถึงในพวกกัปปิยการกแม้ผู้นำอกัปปิยวัตถุมาถวาย
เพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้นด้วยตนเอง
ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
ภิกษุจะรับเพื่อประโยชน์แก่ตนเองอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สมควร.