พระขีณาสพต้องอาบัติ… เมื่อต้องทางใจ ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.
- ฮิต: 3938
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
“พระขีณาสพต้องอาบัติ…
เมื่อต้องทางใจ ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.”
เล่ม ๓๔ หน้า ๔๕๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๖๙ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ อรรถกถาทุติยเสขสูตร
พระขีณาสพต้องอาบัติ
ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺฐาติปิ นี้ มีอธิบายว่า
พระขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย
จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เท่านั้น
และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ
เมื่อต้องทางกาย
ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยสิกขาบทเป็นต้น
เมื่อต้องทางวาจา
ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น
เมื่อต้องทางใจ
ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.
บทว่า น หิ เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในที่นี้
เราตถาคตมิได้กล่าวว่า
พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้อง
และการออกจากอาบัติเห็นปานนี้.
บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกานิ ความว่า
สิกขาบทที่เป็นมหาศีล ๔
ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์.
บทว่า พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ ความว่า
สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือ
สมควรแก่มรรคพรหมจรรย์ที่ ๔.
บทว่า ตฺตฺถ ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.