ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
- ฮิต: 3391
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
“ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่
ด้วยพระบัญญัติก็ดี
ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า
ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา
ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด
ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส
ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม
ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
ต้องอาบัติทุกกฏ.”
เล่ม ๔ หน้า ๖๔๖-๖๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๔๗-๖๕๐ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉันนะ
[๕๙๒] โดยสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
เขตพระนครโกสัมพี
ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะประพฤติอนาจาร
ภิกษุทั้งหลายได้ว่ากล่าวอย่างนี้ว่า
อาวุโสฉันนะ ท่านอย่าได้ทำเช่นนั้น
การกระทำเช่นนั้นไม่ควร
ท่านพระฉันนะไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อย่างเดิม
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย...
ต่างก็พากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนท่านพระฉันนะจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่เล่า
แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระฉันนะว่า
ดูก่อนฉันนะ
ข่าวว่า เธอไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่ จริงหรือ.
ท่านพระฉันนะทูลรับ ว่า
จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ
ไฉนเธอจึงได้ไม่เอื้อเฟื้อยังขืนทำอยู่อีกเล่า
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไป
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้
ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๓.๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะความไม่เอื้อเฟื้อ.
เรื่องพระฉันนะ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๔๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
สิกขาบทวิภังค์
[๕๙๓] ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อ
ได้แก่ความไม่เอื้อเฟื้อ ๒ อย่าง คือ
ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ๑
ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ๑.
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในบุคคล ได้แก่
ภิกษุผู้อันอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า
ท่านผู้นี้ถูกยกวัตร ถูกดูหมิ่น หรือถูกติเตียน
เราจักไม่ทำตามถ้อยคำของท่านผู้นี้ ดังนี้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ที่ชื่อว่า ความไม่เอื้อเฟื้อในธรรม ได้แก่
ภิกษุผู้อันอุปสัมบัน ว่ากล่าวอยู่ด้วยพระบัญญัติ
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า
ไฉนธรรมข้อนี้จะพึงเสื่อม สูญหาย
หรืออันตรธานเสีย ดังนี้ก็ดี
ไม่ประสงค์จะศึกษาพระบัญญัตินั้น
จึงแสดงความไม่เอื้อเฟื้อก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๙๔] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อุปสัมบัน ภิกษุสงสัยแสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฎ
[๕๙๕] ภิกษุอุปสัมบันว่ากล่าวอยู่
ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติ
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า
ข้อนี้ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา
ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด
ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส
ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม
ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๔๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่
ด้วยพระบัญญัติก็ดี
ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า
ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา
ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด
ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส
ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม
ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร
ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕๙๖] อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอุปสัมบัน
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุสงสัย แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าอนุปสัมบัน
แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ
ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๕๙๗] ภิกษุกล่าวชี้เหตุว่า
อาจารย์ทั้งหลายของพวกข้าพเจ้าเรียนมาอย่างนี้
สอบถามมาอย่างนี้ ๑
ภิกษุวิกลจริต ๑
ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑
ไม่ต้องอาบัติแล.
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ