ทำลายศีลที่สมาทานแล้วมีโทษ
- ฮิต: 2927
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
ด้วยบทว่า ทุสฺสีโล ตรัสถึงบุคคลผู้ไม่มีศีล.
ก็บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้นมี ๒ อย่าง คือ
เพราะไม่สมาทาน
หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว.
ใน ๒ อย่างนั้น ข้อต้นไม่มีโทษ
เหมือนอย่างข้อที่ ๒ ที่มีโทษแรงกว่า.
เล่ม ๔๔ หน้า ๗๖๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๗๑๖-๗๑๗ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓
บางส่วนของ อรรถกถาปาฏลิคามิยสูตร
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไร้ศีล.
บทว่า สีลวิปนฺโน ได้แก่
ผู้มีศีลวิบัติ คือผู้ทำลายสังวร.
ก็ในบทเหล่านี้
ด้วยบทว่า ทุสฺสีโล ตรัสถึงบุคคลผู้ไม่มีศีล.
ก็บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้นมี ๒ อย่าง คือ
เพราะไม่สมาทาน
หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว.
ใน ๒ อย่างนั้น ข้อต้นไม่มีโทษ
เหมือนอย่างข้อที่ ๒ ที่มีโทษแรงกว่า.
เพื่อจะแสดงความไม่มีศีล
ซึ่งมีโทษตามที่ประสงค์เป็นเหตุ
ด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษฐาน
จึงตรัสคำว่า สีลวิปนฺโน ดังนี้.