ปาราชิกอาบัติพึงมีแก่ภิกษุผู้หลอกลวงฉ้อเอาหรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น ด้วยอาการ ๕ อย่าง
- ฮิต: 4645
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
“ปาราชิกอาบัติพึงมีแก่ภิกษุ
ผู้หลอกลวงฉ้อเอา
หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย
ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น
ด้วยอาการ ๕ อย่าง”
เล่ม ๒ หน้า ๑๒,๑๔,๓๐,๙๘,๑๐๘,๑๐๙ และ ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน)
/ หน้า ๑๑,๑๓,๒๙,๙๖-๙๗,๑๐๖,๑๐๗ และ ๒๑๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
เล่ม ๒ หน้า ๑๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๑ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
พระอนุบัญญัติ
๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี
พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง
จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า
เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล
เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้
ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด
ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น
แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
http://www.tripitaka91.com/2-12-1.html
เล่ม ๒ หน้า ๑๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
[๘๘] ที่ชื่อว่า เห็นปานนั้น คือ
หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.
บทว่า ถือเอา คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ
ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.
http://www.tripitaka91.com/2-14-18.html
เล่ม ๒ หน้า ๑๐๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๖ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
ส่วนความประกอบอำนาจเอกภัณฑะ พึงทราบดังนี้ :-
ทาสก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งมีเจ้าของ
ภิกษุตู่เอาก็ดี ลักไปก็ดี ฉ้อไปก็ดี
ให้อิริยาบถกำเริบก็ดี ให้เคลื่อนจากฐานก็ดี
ให้ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไปก็ดี
โดยนัยมีตู่เอา เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว.
นี้เป็นความประกอบด้วยอำนาจเอกภัณฑะ
ในบทว่า อาทิเยยฺย เป็นต้นนี้.
http://www.tripitaka91.com/2-108-9.html
เล่ม ๒ หน้า ๑๐๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๗ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
[ ปัญจกะ ๕ หมวด ๆ ละ ๕ ๆ รวมเป็นอวหาร ๒๕ ]
ที่ชื่อว่า ปัญจกะ ๕ คือ
หมวดแห่งอวหาร ๕
ที่กำหนดด้วยภัณฑะต่างกันเป็นข้อต้น ๑
หมวดแห่งอวหาร ๕
ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็นข้อต่าง ๑
หมวดแห่งอวหาร ๕
ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตนเป็นข้อต้น ๑
หมวดแห่งอวหาร ๕
ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น ๑
หมวดแห่งอวหาร ๕
ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น ๑.
บรรดาปัญจกะทั้ง ๕ นั้น
นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ
ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ
อาทิเยยฺย พึงตู่เอา ๑
หเรยฺย พึงลักไป ๑
อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา ๑
อิริยาปถํ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ ๑
ฐานา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน ๑.
ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัย
ดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล.
ส่วนบทที่ ๖ ว่า
สงเกตํ วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น
เป็นของทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร.
เพราะฉะนั้น พึงประกอบบทที่ ๖ นั้น
เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ ๓ และที่ ๕.
นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.
http://www.tripitaka91.com/2-109-9.html
เล่ม ๒ หน้า ๓๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๙ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
อาการแห่งอวหาร
อาการ ๕ อย่าง
[๑๒๒] ปาราชิกอาบัติ
พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ
ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑
มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑
ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑
ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑
ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ
ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.
http://www.tripitaka91.com/2-30-15.html
เล่ม ๒ หน้า ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๓ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
[อรรถาธิบายอวหาร ๕ อย่าง]
จริงอยู่ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น
ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน
หรือหลอกลวงฉ้อเอาด้วยเครื่องตวงโกง
และกหาปณะปลอมเป็นต้น,
อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล
ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร,
ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น คือ
กดขี่เอาด้วยกำลัง,
ก็หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย
ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น
เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม
มีฆ่าคนเดินทางและฆ่าชาวบ้านเป็นต้น
(และ) เหมือนอิสรชน มีพระราชาและมหาอำมาตย์
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์
เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ของพระราชาเป็นต้น
ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่นด้วยอำนาจความโกรธ
และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน,
อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอาอย่างนั้น
พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร
ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมายไว้แล้วถือเอา
ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร.
ปริกัปปาวหารนั้น มี ๒ อย่าง
เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.
http://www.tripitaka91.com/2-226-15.html
เล่ม ๒ หน้า ๙๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๖-๙๗ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒
สองบทว่า ปญฺจมาสโก ปาโท ความว่า
ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ ๒๐ มาสก เป็นหนึ่งกหาปณะ ;
เพราะฉะนั้น ห้ามาสกจึงเป็นหนึ่งบาท.
ด้วยลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปณะ
พึงทราบว่า เป็นบาทหนึ่ง ในชนบททั้งปวง.
ก็บาทนั้นแล พึงทราบด้วยอำนาจแห่งนีลกหาปณะของโบราณ
ไม่พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกหาปณะ
นอกนี้ มีรุทระทามกะกหาปณะเป็นต้น.
[ พระพุทธเจ้าทุกองค์ปรับโทษถึงที่สุดเพียงบาทเดียว ]
แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว
ก็ทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น
ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีในอนาคต
ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น.
จริงอยู่ ความเป็นต่างกัน ในวัตถุปาราชิกหรือในปาราชิก
ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมไม่มี.
วัตถุแห่งปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ
ปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ ไม่มีหย่อนหรือยิ่งกว่านี้.
เพราะเหตุนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพระธนิยะแล้ว
เมื่อจะทรงบัญญัติทุติยปาราชิกด้วยบาทนั่นเทียว
จึงตรัสคำว่า โย ปน ภิกฺขุ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ เป็นต้น.