ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ตัวอย่างนิตยภัตรที่ถูกต้องในพระไตรปิฎก

 

เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙-๓๒๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒

เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖  (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓-๔๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖-๓๒๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

 

เล่ม ๒๑ หน้า ๓๓๕-๓๓๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๙-๓๒๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒

 

บางส่วนของ โฆฏมุขสูตร

 

อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ

ที่พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน

ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำนั้นแก่ท่านอุเทน.

          [๖๔๕] อุ. ดูก่อนพราหมณ์

ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานอะไร

เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำทุกวันแก่ท่าน.

          โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน

พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ ๕๐๐

เป็นเบี้ยเลี้ยงประจำแก่ข้าพเจ้า.

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ 

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          อุ. ดูก่อนพราหมณ์

การรับทองและเงิน

ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย.

          โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน

ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร

ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวายท่านอุเทน.

          อุ. ดูก่อนพราหมณ์

ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา

ก็ขอให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์

ในเมืองปาตลีบุตรเถิด.

          โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ 

ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีเหลือประมาณ

ข้าแต่ท่านอุเทน

ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร

ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย

ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย.

          ครั้งนั้นแล

โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงเลี้ยง

ถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร

ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้และส่วนอื่น

โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่า โฆฏมุขี ฉะนี้แล.

 

จบ โฆฏมุขสูตรที่ ๔ 

 

http://www.tripitaka91.com/21-335-16.html

 

“ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต.”

 

เล่ม ๙ หน้า ๒๖๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๕๘ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒

 

บางส่วนของ เสนาสนักขันธกวรรณนา

 

[ภัตอีก ๓ ชนิด]

 

          ภัตอื่นอีก ๓ ชนิดเหล่านี้ คือ ธุวภัต กุฏิภัต วารกภัติ. 

ในภัต ๓ ชนิดนั้น

นิตยภัต เรียกว่า ธุวภัต.

ธุวภัตนั้น มี ๒ อย่าง คือ 

ของสงฆ์ ๑.

ของเฉพาะบุคคล ๑.

          ใน ๒ อย่างนั้น

ธุวภัตใด อันทายกถวายให้เป็นประจำว่า

ข้าพเจ้าถวายธุวภัตแก่สงฆ์ ดังนี้

ธุวภัตนั้น มีคติอย่างสลากภัตเหมือนกัน.

ก็แล ธุวภัตนั้น อันทายกบอกถวายว่า

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จงรับภิกษาประจำของข้าพเจ้า ดังนี้

ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์.

          แม้ครั้นเมื่อธุวภัตเป็นของเฉพาะบุคคล อันทายกกล่าวว่า

ข้าพเจ้าถวายธุวภัต แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้

ธุวภัตนั้น ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เท่านั้น.

แต่เมื่อเขากล่าวว่า

ท่านทั้งหลายจงรับภิกษาประจำของข้าพเจ้า ดังนี้ ควรอยู่,

ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์พึงยินดี.

          แม้ถ้าว่าภายหลัง เมื่อล่วงไปแล้ว ๒- ๓ วัน เขากล่าวว่า 

ท่านทั้งหลายจงรับธุวภัต

ภัตนั้นควรแก่ภิกษุผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์

เพราะเป็นของที่เธอรับไว้ดีแล้วในวันแรก.

 

http://www.tripitaka91.com/9-260-3.html

 

เล่ม ๔ หน้า ๔๗๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๘๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

 

บางส่วนของ คณโภชนสิกขาบทที่ ๒

 

       ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต.

ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัต

จะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร.

แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล.

 

http://www.tripitaka91.com/4-476-9.html

 

เล่ม ๔๓ หน้า ๔๒๓-๔๒๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๒๖-๓๒๘ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔

 

๒๖. พราหมณวรรควรรณนา 

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]

 

ข้อความเบื้องต้น

 

          พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน 

ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

" ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม " เป็นต้น.

 

พวกภิกษุรังเกียจวาทะของพราหมณ์

 

          ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว 

มีจิตเลื่อมใส เริ่มตั้งนิตยภัตเพื่อภิกษุมีประมาณ ๑๖ รูป

ไว้ในเรือนของตน รับบาตรในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า

" ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงมา,

ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงนั่ง"

เมื่อจะกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง

ก็กล่าวคำประกอบเฉพาะด้วยวาทะว่าพระอรหันต์เท่านั้น.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า 

" พราหมณ์นี้ มีความสำคัญในพวกเราว่าเป็นพระอรหันต์"

พวกที่เป็นพระขีณาสพก็คิดว่า

" พราหมณ์นี้ ย่อมรู้ความที่พวกเราเป็นพระขีณาสพ,"

ภิกษุแม้ทั้งหมดนั้น ประพฤติรังเกียจอยู่อย่างนี้

จึงไม่ไปสู่เรือนของพราหมณ์นั้น.

เขาเป็นผู้มีทุกข์เสียใจ คิดว่า 

" ทำไมหนอแล พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่มา"

จึงไปยังวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา

กราบทูลเนื้อความนั้น.

 

ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่ยินดีต่อวาทะนั้น

 

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท 

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๔๒๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทั้งหลาย ข้อนั้นอย่างไร "

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, จึงตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอยังยินดีวาทะว่า

เป็นพระอรหันต์ อยู่หรือ."

          พวกภิกษุ.  พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี พระเจ้าข้า.

          พระศาสดา.  เมื่อเป็นเช่นนั้น,

คำนั้น เป็นคำกล่าวด้วยความเลื่อมใสของมนุษย์ทั้งหลาย,

ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติในเพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส;

ก็แลอีกอย่างหนึ่ง

ความรักใคร่ในพระอรหันต์ทั้งหลายของพราหมณ์ มีประมาณยิ่ง;

เหตุนั้น แม้พวกเธอตัดกระแสตัณหา

แล้วบรรลุพระอรหันต์นั่นแล ควร"

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

                    ๑. ฉินฺท โสตํ ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ 

          สงฺขารานํ ขยํ ตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ.

                    " พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา,

          จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย,

          ท่านรู้ความสิ้นไปแห่งสังขารทั้งหลายแล้ว

          เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไร ๆ กระทำไม่ได้นะ พราหมณ์."

 

แก้อรรถ

 

          บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า  ปรกฺกมฺม  เป็นต้น ความว่า

ขึ้นชื่อว่ากระแสตัณหา ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะตัดได้ 

ด้วยความพยายามมีประมาณน้อย;

เหตุนั้นท่านจงพยายามตัดกระแสนั้น

ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ ซึ่งสัมปยุตด้วยญาณ

คือจงบรรเทา ได้แก่ จงขับไล่กามแม้ทั้งสองเสียเถิด.

          คำว่า  พฺราหฺมณ  นั้น เป็นคำร้องเรียกพระขีณาสพทั้งหลาย.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท 

เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ ๔๒๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  สงฺขารานํ  ความว่า รู้ความสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕.

          บทว่า  อกตญฺญู  ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น 

ท่านจะเป็นผู้ชื่อว่าอกตัญญ.

เพราะรู้พระนิพพาน

อันอะไร ๆ บรรดาโลกธาตุทั้งหลาย

มีทองคำเป็นต้น ทำไม่ได้.

          ในกาลจบเทศนา 

ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย

มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

 

เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก จบ.

 

http://www.tripitaka91.com/43-423-1.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994