คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล”

 

เล่ม ๓๓ หน้า ๓๔๕-๓๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๐๕-๓๐๖ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒

 

พาลวรรคที่ ๓

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก

 

          [๒๖๗] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑

คนที่รับรองตามธรรมเมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล.

 

จบสูตรที่ ๑

 

พาลวรรคที่ ๓ 

อรรถกถาสูตรที่ ๑

 

          พาลวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. 

          บทว่า  อจฺจยํ อจฺจยโต น ปสฺสติ  ความว่า

ทำผิดแล้ว ไม่เห็นความผิดของตนว่า เราทำผิด

ได้แก่ ไม่กล่าวว่า ข้าพเจ้าทำผิดแล้ว

นำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ.

บทว่า  อจฺจยํ เทเสนฺตสฺส  ความว่า 

เมื่อเขากล่าวอย่างนี้แล้วนำทัณฑกรรมมาขอขมาโทษ.

บทว่า  ยถาธมฺมํ น ปฏิคฺคณฺหาติ  ความว่า 

เมื่อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักไม่กระทำอย่างนี้

 

พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต 

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๔๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อีก ขอท่านโปรดยกโทษแก่ข้าพเจ้า ดังนี้ 

ก็ไม่ยอมรับการขอขมานี้ตามธรรม คือตามสมควร

คือไม่กล่าวว่า จำเดิมแต่นี้ ท่านอย่าได้ทำอย่างนี้อีก

เรายกโทษแก่ท่าน ดังนี้.

ธรรมฝ่ายขาว 

พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

 

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑

 

http://www.tripitaka91.com/33-345-1.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994