พระที่ต้องอาบัติปาราชิกหรือต้องอาบัติเป็นประจำทั้งที่รู้อยู่แล้วไม่แก้ไข สึกแล้วยังมีทางรอด
- ฮิต: 5086
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
“เหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร”
“พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น
แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.
ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.
ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น
ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.
ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น
นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม
เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน
เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.
ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป
คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต
ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ
แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา
ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุเหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.
ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต
ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.
พระธรรมเทศนาของพระศาสดา
เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.
ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต
ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?
ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้
เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้
แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น
จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว
แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.
ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐
ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ
บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นพระสกทาคามี
บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลก.
พระธรรมเทศนาได้มีผล
แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการอย่างนี้.
ฝ่ายภิกษุนอกนี้
ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้
เมื่อกาลล่วงไป ๆ
ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง
ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า
พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ
พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้
จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม
จักพ้นจากทุกข์ได้
ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.
ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓
รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม
บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นสกทาคามี
บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.
พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุเหล่านั้น
ด้วยอาการอย่างนี้."
เล่ม ๓๒ หน้า ๑๑๒-๑๒๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๕-๑๐๔ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๓
สูตรที่ ๓ กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่อง.
กล่าวไว้ในเหตุเกิดเรื่องไหน ?
ในเหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร.
ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาศัยประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี.
จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ทรงอาศัยอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ อย่างเลย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ชื่อว่า พุทธกิจ ๕ อย่าง คือ
ปุเรภัตตกิจ ๑
ปัจฉาภัตตกิจ ๑
ปุริมยามกิจ ๑
มัชฌิมยามกิจ ๑
ปัจฉิมยามกิจ ๑
ในพุทธกิจ ๕ นั้น
ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีดังต่อไปนี้
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นแต่เช้า
ทรงการทำปริกรรมพระสรีระ มีล้างพระพักตร์เป็นต้น
เพื่ออนุเคราะห์อุปัฏฐาก
และเพื่อความผาสุกแห่งพระสรีระ
ทรงยับยั้งอยู่เหนืออาสนะอันสงัด จนถึงเวลาภิกขาจาร
พอได้เวลาภิกขาจาร ก็ทรงนุ่งอันตรวาสก
ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ถือบาตร
บางครั้งก็พระองค์เดียว บางครั้งก็แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม.
บางคราวเสด็จเข้าไปตามปกติ
บางคราวเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์เป็นอันมาก.
คือเมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต
ลมอ่อน ๆ ก็พัดไปข้างหน้าเป่าแผ่นดินให้สะอาด
เมฆหลั่งเมล็ดฝนดับฝุ่นละอองบนหนทาง
กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน.
ลมอีกพวกหนึ่งก็นำดอกไม้เข้าไปโปรยลงบนหนทาง
ภูมิประเทศที่ดอนก็ยุบลง.
ภูมิประเทศที่ลุ่มก็หนุนตัวขึ้น
เวลาที่ทรงย่างพระบาท ภูมิภาคย่อมมีพื้นราบเรียบ
หรือดอกปทุมมีสัมผัสอันอ่อนละมุน คอยรับพระบาท.
เมื่อพอทรงวางพระบาทเบื้องขวา ไว้ในภายในเสาเขื่อน.
ฉัพพัณณรังสี พระรัศมีมีพรรณ ๒ ประการ
เปล่งออกจากพระสรีระพวยพุ่งไปรอบด้าน
กระทำปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น
ให้เป็นดุจสีเหลืองเหมือนทองคำ
และให้เป็นดุจแวดวงด้วยผ้าอันวิจิตร.
สัตว์ทั้งหลายมีช้างม้าและนกเป็นต้น
ที่อยู่ในที่ของตน ๆ ก็เปล่งเสียงไพเราะ.
ดนตรีมีกองและบัณเฑาะว์ เป็นต้น กับ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
เครื่องอาภรณ์ที่สวมใส่อยู่ในกายของพวกมนุษย์
ก็เหมือนกัน คือ เปล่งเสียงไพเราะ
ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้ว่าวันนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในที่นี้.
มนุษย์เหล่านั้นนุ่งห่มเรียบร้อย
ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น
ออกจากเรือนดำเนินไปตามท้องถนน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอม
และดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์ ๑๐ รูป
แก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป
แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปูอาสนะน้อมถวายบิณฑบาตโดยเคารพ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว
ทรงตรวจดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงแสดงธรรม.
บางพวกจะตั้งอยู่ในสรณคมน์
บางพวกจะตั้งอยู่ในศีล ๕
บางพวกจะตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล
และอนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
บางพวกจะบวชแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ
ด้วยประการใด ก็ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยประการนั้น
เสด็จลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไปพระวิหาร.
เสด็จไปที่พระวิหารนั้นแล้วประทับนั่ง บนบวรพุทธอาสน์
ที่เขาตกแต่งไว้ ณ ศาลากลมประกอบด้วยของหอม.
ในเวลาเสร็จภัตตกิจของภิกษุทั้งหลาย
อุปัฏฐากก็จะกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ.
ต่อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงจะเสด็จเข้าพระคันธกุฏี
ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีเท่านี้ก่อน.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำกิจก่อนเสวยอาหารอย่างนี้แล้ว
ก็ประทับนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ทรงล้างพระบาท
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า
ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงยังกิจให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด
การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าหาได้ยาก
กาลได้อัตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก
การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหาได้ยาก
การบรรพชาหาได้ยาก
การฟังธรรมหาได้ยากในโลก
บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุบางรูปทูลถามกรรมฐาน กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระองค์ก็ประทานกรรมฐาน
อันเหมาะแก่ความประพฤติของภิกษุเหล่านั้น
แต่นั้นภิกษุแม้ทั้งหมดถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้วไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน ๆ.
บางพวกไปป่า บางพวกอยู่โคนไม้
บางพวกไปภูเขาเป็นต้น แห่งใดแห่งหนึ่ง
บางพวกไปภพของท้าวจาตุมหาราช
บางพวกไปภพของท้าววสวัตตี.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี
ถ้าทรงจำนงก็ทรงมีสติ สัมปชัญญะ บรรทมตะแคงขวาครู่หนึ่ง
ครั้นมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า
เสด็จลุกขึ้นตรวจดูสัตว์โลก ในภาคที่ ๒.
ในภาคที่ ๓ มหาชนในคามหรือนิคม
ที่พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ถวายทานก่อนอาหาร
ครั้นเวลาหลังอาหาร นุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว
ถือเอาสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น
ประชุมกันในพระวิหาร.
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปโดยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทที่ประชุมกัน
ประทับนั่งแสดงธรรม บนบวรพุทธอาสน์
ที่ตกแต่งไว้ในโรงธรรม ให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย.
ครั้นถึงเวลาอันควรแล้ว จึงส่งบริษัทกลับไป.
พวกมนุษย์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วก็หลีกไป.
ปัจฉาภัตตกิจ กิจภายหลังอาหาร มีดังกล่าวนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงทำปัจฉาภัตตกิจให้เสร็จอย่างนั้นแล้ว
ถ้าทรงประสงค์จะทรงสนานพระกาย
ก็เสด็จลุกขึ้นจากพุทธอาสน์
เสด็จเข้าสู่ซุ้มสำหรับสรงสนาน
ทรงรดพระกายด้วยน้ำอันอุปัฏฐากจัดถวาย.
แม้พระอุปัฏฐากก็นำเอาพุทธอาสน์
มาลาดถวายในบริเวณพระคันธกุฏี
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงนุ่งอันตรวาสก ๒ ชั้น ที่ย้อมดีแล้ว
ทรงคาดประคดเอว ทรงครองอุตตราสงฆ์
แล้วเสด็จมาประทับ ณ พุทธอาสน์นั้น
ทรงเร้นอยู่ครู่หนึ่งลำพังพระองค์
ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น
ไปยังที่เฝ้าพระศาสดา
บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา
บางพวกขอกรรมฐาน บางพวกขอฟังธรรม.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจัดให้สมประสงค์ของภิกษุเหล่านั้น
ทรงยับยั้ง แม้ตลอดยามต้น.
ปุริมยามกิจ กิจในยามต้น มีดังกล่าวนี้.
เวลาเสร็จกิจในยามต้น
เมื่อภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป
เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาส
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหา
ชั้นที่สุดแม้อักษร ๔ ตัวตามที่แต่งมา
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงวิสัชนาปัญหาแก่เทวดาเหล่านั้น
ทรงยับยั้งอยู่ตลอดมัชฌิมยาม
มัชฌิมยามกิจ กิจในมัชฌิมยาม มีดังกล่าวนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแบ่งปัจฉิมยามเป็น ๓ ส่วน
แล้วทรงยับยั้งส่วนหนึ่งด้วยการเดินจงกรม
เพื่อทรงปลดเปลื้องความเมื่อยพระวรกายที่ประทับนั่งมาก
ตั้งแต่เวลาก่อนเสวยอาหาร ใน
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ส่วนที่ ๒
เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ทรงมีพระสติและสัมปชัญญะ
บรรทมตะแคงข้างขวา ในส่วนที่ ๓
เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
เพื่อทอดพระเนตรบุคคลผู้ได้กระทำบุญญาธิการ
ไว้ด้วยทาน และศีลเป็นต้น
ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน
ปัจฉิมยามกิจ กิจในปัจฉิมยาม มีดังกล่าวนี้.
วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำรงอยู่ในกิจนี้นี่แหละ
ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า
เมื่อเราจาริกไปในมหาโกสลรัฐ
แสดงสูตรหนึ่งเปรียบเทียบด้วยกองเพลิง
ภิกษุ ๖๐ รูปจักบรรลุพระอรหัต
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักรากเลือด
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักสึกเป็นคฤหัสถ์.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น
พวกภิกษุผู้จักบรรลุพระอรหัต
ได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
จักบรรลุได้ทีเดียว.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปเพื่อสงเคราะห์ภิกษุนอกจากนี้
จึงตรัสว่า อานนท์ เธอจงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย.
พระเถระไปตามบริเวณแล้วกล่าวว่า
ผู้มีอายุ พระศาสดา
มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก เพื่ออนุเคราะห์มหาชน
ผู้ประสงค์จะไปตามเสด็จ ก็จงพากันมาเถิด.
ภิกษุทั้งหลาย มีใจยินดีเหมือนได้ลาภใหญ่ คิดว่า
เราจักได้ชมพระสรีระมีวรรณะเพียงดังทองคำ
ได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะ
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสดงธรรมแก่มหาชน
ผู้ที่มีผมขึ้นยาวก็ปลงผม มีบาตรถูกสนิมจับก็ระบมบาตร
มีจีวรหมอง ก็ซักจีวร ต่างเตรียมจะตามเสด็จ.
พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่กำหนดจำนวนไม่ได้
ออกจาริกไปยัง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
โกศลรัฐ วันหนึ่ง ๆ เสด็จจาริกไป ๑ คาวุต ๒ คาวุต ๓ คาวุต
และโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ตามลำดับแห่งคามและนิคม
ทอดพระเนตรเห็นต้นไม้มีโพรงต้นใหญ่แห่งหนึ่ง
ถูกไฟไหม้ลุกโพลง ทรงดำริว่า
เราจะทำต้นไม้นี้แล ให้เป็นวัตถุเหตุตั้งเรื่อง
แสดงธรรมกถาประกอบด้วยองค์ ๗ จึงงดการเสด็จ
เสด็จเข้าไปยังโคนไม้ต้นหนึ่ง
ทรงแสดงอาการจะประทับนั่ง.
พระอานนทเถระทราบพระประสงค์ของพระศาสดา คิดว่า
ชะรอยว่าจักมีเหตุแน่นอน
พระตถาคตไม่เสด็จต่อไป
แล้วจะหยุดประทับนั่งเสียโดยเหตุอันไม่สมควรหามิได้
จึงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น.
พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น
แล้วทรงแสดงอัคคิขันโธปมสูตร.
ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปรากเลือด.
ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์.
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่น
ก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย.
ก็เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น
นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูปก็กลัดกลุ้ม
เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน
เมื่อกรัชกายรุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก.
ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐ รูป
คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต
ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ
แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป
ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา
ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น
ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๑๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์
ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.
ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต
ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล.
พระธรรมเทศนาของพระศาสดา
เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก ดังกล่าวนี้.
ถามว่า
พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต
ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ?
ก็ว่า ก็ภิกษุแม้เหล่านั้น
ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้
เป็นผู้ประมาท ไม่พึงอาจละฐานะได้
แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น
จะพึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว
แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิดความสังเวช ละฐานะ.
ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐
ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ
บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นพระสกทาคามี
บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลก.
พระธรรมเทศนาได้มีผล
แม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก
ด้วยอาการอย่างนี้.
ฝ่ายภิกษุนอกนี้
ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้
เมื่อกาลล่วงไป ๆ
ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง ปาราชิกบ้าง
ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า
พระพุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ
พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้
จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม
จักพ้นจากทุกข์ได้
ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์.
ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะ ๓
รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม
บางพวกเป็นพระโสดาบัน
บางพวกเป็นสกทาคามี
บางพวกเป็นอนาคามี
บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล.
พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้.
อนึ่งหมู่เทพได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว
ได้เที่ยวไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ได้ฟังทุกรูปทีเดียว.
ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วคิดว่า
ท่านผู้เจริญ การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนาทำได้ยาก.
ภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง
บอกลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ไปทันที.
พระศาสดา เสด็จจาริกไปตามพอพระหฤทัย
ไม่เสด็จกลับไปพระเชตวันอีก จึงทรงเรียกภิกษุมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเมื่อเที่ยวจาริกไปอยู่คลุกคลีมานาน
ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนาจะเร้นอยู่สักกึ่งเดือน
ใคร ๆ ไม่ต้องเข้าไปหาเรา
เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวดังนี้
ทรงยับยั้งลำพังพระองค์เดียวกึ่งเดือน
เสด็จออกจากที่เร้น พร้อมด้วยพระอานนทเถระ
เสด็จจาริกกลับไปพระวิหาร ทรงเห็นภิกษุเบาบาง
ในที่ ๆ ทรงตรวจดูแล้วตรวจดูอีก
ถึงทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า
อานนท์ ในเวลาอื่น ๆ
เมื่อตถาคตเที่ยวจาริกกลับมายังเชตวัน
ทั่ววิหารรุ่งเรืองไปด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
คลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงคุณ
แต่มาบัดนี้ ปรากฏว่าภิกษุสงฆ์เบาบางลง
และโดยมากภิกษุเกิดโรคผอมเหลืองขึ้น
นี่เหตุอะไรกันหนอ.
พระเถระกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ภิกษุทั้งหลายเกิดความวังเวช
จำเดิมแต่เวลาที่พระองค์แสดงพระธรรมเทศนา
อัคคิขันโธปมสูตร
คิดว่า พวกเรา ไม่สามารถจะปรนนิบัติธรรมนั้น
โดยอาการทั้งปวงได้
และการที่ภิกษุผู้ประพฤติไม่ชอบ
บริโภคไทยธรรม ที่เขาให้ด้วยศรัทธาของชน ไม่ควรเลย
จึงครุ่นคิดจะสึกเป็นคฤหัสถ์.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวช.
ลำดับนั้น จึงตรัสกะพระเถระว่า
เมื่อเรายับยั้งอยู่ในที่หลีกเร้น
ใคร ๆ ไม่บอกฐานะอันเป็นที่เบาใจอย่างหนึ่ง
แก่เหล่าบุตรของเราเลย
เหตุอันเป็นที่เบาใจในศาสนานี้มีมาก
เหมือนท่าเป็นที่ลงสู่สาครทะเลฉะนั้น
ไปเถิด อานนท์ จงจัดพุทธอาสน์ ในบริเวณคันธกุฏี
จงให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกัน.
พระเถระได้กระทำอย่างนั้น.
พระศาสดา เสด็จสู่บวรพุทธอาสน์
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย นั่นเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหมดแห่งเมตตา
ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่อุเบกขา
เป็นเพียงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
จึงทรงแสดงอัจฉราสังฆาตสูตรนี้
เพื่อเป็นอัตถุปปัตติเหตุนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺตํ ความว่า เพียงการดีดนิ้วมือ.
อธิบายว่า เพียงเอา ๒ นิ้วดีดให้มีเสียง.
บทว่า เมตฺตจิตฺตํ ได้แก่
จิตที่คิดแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์.
บทว่า อาเสวติ ถามว่า ย่อมเสพอย่างไร ?
แก้ว่า นึกถึงอยู่เสพ เห็นอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ
ประคองความเพียรอยู่เสพ น้อมใจเชื่อเสพ
เข้าไปตั้งสติเสพ ตั้งจิตเสพ รู้ชัดด้วยปัญญาเสพ
รู้ยิ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเสพ กำหนดรู้สิ่งที่ควรกำหนดรู้เสพ
ละสิ่งที่ควรละเสพ เจริญสิ่งที่ควรเจริญเสพ
กระทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้งเสพ.
แต่ในที่นี้พึงทราบว่า
เสพด้วยเหตุสักว่าเป็นไปโดยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูล
ในส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.
บทว่า อริตฺตชฺฌาโน ได้แก่
ผู้มีฌานไม่ว่าง หรือไม่ละทิ้งฌาน.
บทว่า วิหรติ ความว่า
ผลัดเปลี่ยนเป็นไปรักษาเป็นไปเอง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ให้เป็นไป เที่ยวไป อยู่
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า วิหรติ ด้วยบทนี้
ท่านจึงกล่าวการอยู่ด้วยอิริยาบถ
ของภิกษุผู้เสพเมตตา.
บทว่า สตฺถุ สาสนกโร ได้แก่
ผู้กระทำตามอนุสาสนี ของพระศาสดา
บทว่า โอวาทปฏิกโร ได้แก่ ผู้กระทำตามโอวาท.
ก็ในเรื่องนี้ การกล่าวคราวเดียว ชื่อว่า โอวาท
การกล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่า อนุสาสนี.
แม้การกล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่า โอวาท
การส่ง (ข่าว) ไปกล่าวลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสนี.
การกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โอวาท.
ส่วนการกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นหรือยังไม่เกิดขึ้น
ชื่อว่า อนุสาสนี.
พึงทราบความแปลกกันอย่างนี้.
แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์
คำว่า โอวาท หรืออนุสาสนีนั้น เป็นอันเดียวกัน
มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เข้ากันได้ เกิดร่วมกันนั้นนั่นแล.
ก็ในที่นี้ คำว่าภิกษุทั้งหลาย
หากภิกษุเสพเมตตาจิต แม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว
นี้แล เป็นคำสอนและเป็นโอวาทของพระศาสนา
พึงทราบว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้ทำตามคำสอน
และผู้สนองโอวาท เพราะปฏิบัติคำสอนและโอวาทนั้น.
บทว่า อโมฆํ แปลว่า ไม่เปล่า.
บทว่า รฏฺฐปิณฺฑํ ความว่า บิณฑบาต (อาหาร) นั่นแล
ท่านเรียกว่า รัฏฐบิณฑะ (ก้อนข้าวของชาวแคว้น)
เพราะอาหารนั้น ภิกษุผู้สละเครือญาติ
อาศัยชาวแว่นแคว้น บวชแล้วได้จากเรือนของคนอื่น.
บทว่า ปริภุญฺชติ ความว่า บริโภค มี ๔ อย่าง คือ
เถยยบริโภค อิณบริโภค ทายัชชบริโภค สามิบริโภค.
ในบริโภค ๔ อย่างนั้น
การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า เถยยบริโภค.
การบริโภค
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต
เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ปัจจัยที่ไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค.
การบริโภคของพระเสขบุคคล ๗ จำพวก
ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.
การบริโภคของพระขีณาสพ ชื่อว่า สามิบริโภค.
ใน ๔ อย่างนั้น
การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ ของภิกษุนี้
ย่อมไม่เสียเปล่าด้วยเหตุ ๒ ประการ.
ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว
ชื่อว่าเป็นเจ้าของก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นบริโภค
แม้เพราะเหตุนั้น
การบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นของภิกษุนั้น
ชื่อว่า ไม่เสียเปล่า.
ทานที่เขาให้แก่ภิกษุผู้เสพเมตตาแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว
ย่อมมีความสำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก
มีความรุ่งเรืองมาก มีความกว้างขวางมาก
เพราะเหตุนั้น การบริโภคข้าวของชาวแคว้นของภิกษุนั้น
ไม่เป็นโมฆะ ไม่เสียเปล่า
บทว่า โก ปน วาโท เย นํ พหุลีกโรนฺติ ความว่า
ควรกล่าวได้แท้ในข้อนี้ว่า
ภิกษุเหล่าใด ส้องเสพ เจริญให้มาก ทำบ่อย ๆ ซึ่งเมตตาจิตนี้
ภิกษุเหล่านั้น
ย่อมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ไม่เสียเปล่า
เพราะภิกษุ เห็นปานนี้
ย่อมเป็นเจ้าของก้อนข้าวชาวแว่นแคว้น ไม่เป็นหนี้
เป็นทายาทบริโภค.
จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓