อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง

  

เล่ม ๓ หน้า ๙๕๑-๙๕๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๘-๙๐๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง]

 

          จริงอยู่ การบริโภค มี ๔ อย่าง คือ

ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย) ๑

อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้) ๑

ทายัชชบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก) ๑

สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ๑.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น

การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีล

ซึ่งนั่งบริโภคอยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์

ชื่อว่า ไถยบริโภค.

การบริโภคไม่พิจารณาของ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค.

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณาจีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย

บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน.

เมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน

ยามต้น ยามกลาง และยามสุดท้าย.

หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะบริโภคอย่างเป็นหนี้.

แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย.

ความมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทำสติในการรับ

ไม่ทำในการบริโภคอย่างเดียว.

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลาบริโภค.

          ก็สุทธิมี ๔ อย่าง คือ

เทสนาสุทธิ (หมดจดด้วยการแสดง) ๑

สังวรสุทธิ (หมดจดด้วยสังวร) ๑

ปริยิฏฐิสุทธิ (หมดจดด้วยการแสวงหา) ๑

ปัจจเวกขณสุทธิ (หมดจดด้วยการพิจารณา) ๑.

บรรดาสุทธิ ๔ อย่างนั้น

ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่าเทสนาสุทธิ.

ก็ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดง.

อินทรียสังวรศีล ชื่อว่าสังวรสุทธิ.

ก็อินทรียสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า สังวรสุทธิ

เพราะบริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีกเท่านั้น.

อาชีวปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฏฐิสุทธิ.

ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปริยิฏฐิสุทธิ

เพราะเป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหาของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้ว

ยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ.

ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ.

จริงอยู่ ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า

ภิกษุย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการบริโภค.

การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.

จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.

          ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น

บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?

          ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง.

แต่ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

          การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค.

จริงอยู่พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความเป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว.

บรรดาการบริโภคทั้ง ๔ นี้

สามีบริโภคและทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก.

อิณบริโภค ไม่สมควรเลย.

ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.

 

[อธิบายว่าการบริโภคอีก ๔ อย่าง]

 

การบริโภคแม้อื่นอีก ๔ คือ

ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิยบริโภค อธัมมิยบริโภค.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภค

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของอลัชชีภิกษุร่วมกับลัชชีภิกษุ สมควร. ไม่พึงปรับอาบัติเธอ.

การบริโภคของลัชชีภิกษุร่วมกับอลัชชีภิกษุ ย่อมควรตลอดเวลาที่เธอยังไม่รู้.

เพราะว่าธรรมดาภิกษุผู้เป็นอลัชชีมาแต่แรกไม่มี.

เพราะฉะนั้น พึงว่ากล่าวเธอในเวลาทราบว่าเธอเป็นอลัชชีว่า

ท่านทำการละเมิดในกายทวารและวจีทวาร,

การทำนั้น ไม่สมควรเลย, ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้.

ถ้าเธอไม่เอื้อเฟื้อยังคงกระทำอยู่อีก, ถ้ายังขืนทำการบริโภคร่วมกับอลัชชีนั้น,

แม้เธอก็กลายเป็นอลัชชีไปด้วย.

ฝ่ายภิกษุใด กระทำการบริโภคร่วมกับอลัชชี ผู้ซึ่งเป็นภาระของตน,

แม้ภิกษุนั้น อันภิกษุอื่นเห็นพึงห้าม,

ถ้าเธอไม่ยอมงดเว้น, ภิกษุแม้รูปนี้ ก็เป็นอลัชชีเหมือนกัน.

อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว

ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูปอย่างนี้.

ชื่อว่าอาบัติในการบริโภคร่วมกันระหว่างอลัชชีกับอลัชชี ย่อมไม่มี.

การบริโภคร่วมระหว่างลัชชีกับลัชชี

เป็นเช่นเดียวกับขัตติยกุมารสองพระองค์เสวยร่วมกันในสุวรรณภาชน์.

การบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรม

ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั่นแล.

          ในการบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

          ถ้าแม้บุคคลก็เป็นอลัชชี แม้บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, น่ารังเกียจทั้ง ๒ ฝ่าย.

บุคคลเป็นอลัชชี แต่บิณฑบาตเป็นธรรม,

ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจบุคคลแล้ว ไม่พึงรับบิณฑบาต.

แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า

คนทุศีล ได้อุเทศภัตเป็นต้นจากสงฆ์แล้ว ถวายแก่สงฆ์นั่นแล.

อุเทศภัตเป็นต้นนี้ ย่อมควร เพราะเป็นไปตามที่เขาถวายนั่นเอง.

บุคคลเป็น

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา.

บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.

 

[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ ๒]

 

          ยังมีการยกย่อง ๒ อย่าง และการบริโภค ๒ อย่างอีก คือ

การยกย่องลัชชี ๑

การยกย่องอลัชชี ๑

ธรรมบริโภค ๑

อามิสบริโภค ๑,

ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร. เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ.

ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วยอนุโมทนา

เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย,

แม้อลัชชีนอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า

อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้,

ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อมลง คือ ให้อันตรธานไป.

          ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค

ในบุคคลใด อามิสบริโภคสมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร.

 

http://www.tripitaka91.com/3-951-16.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994