[142] 31 ตุลาคม 2553 คลองถมเซ็นเตอร์ (กรุงเทพมหานคร)
[142] 31 ตุลาคม 2553 คลองถมเซ็นเตอร์ (กรุงเทพมหานคร)
แจกเอกสารธรรมะ หยุด!ทำร้ายพระพุทธศาสนา
“ พระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑ เปิดเผยดี ปกปิดไม่ดี”
( พระไตรปิฎก ฉบับมมร. เล่มที่ 34 / 567 / 7 : ปฏิจฉันนสูตร / ปกสีน้ำเงิน)
วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ณ คลองถมเซ็นเตอร์ (กรุงเทพมหานคร)
รวมสมาชิกที่แจกเอกสารหยุด!ทำร้ายพระพุทธศาสนา จำนวนประมาณสิบกว่าท่าน เริ่มแจกเวลาประมาณ 14.30 น. -18.00 น.
ขอยินดีในบุญกับเจ้าของสถานที ที่อนุญาตให้แจกสมาชิก(เจ้าของร้านค้า) และคนทั่วไป มีพระเข้ามาสอบถามน้องผู้ชายท่านหนึ่ง
พี่นัทช่วยกันอธิบายให้พระฟัง พระสนใจมาก ตอนหลังบอกว่าพระต้องใช้เงิน ยุคสมัยเปลี่ยน question จึงพูดเรื่องวินัยพระ
ท่านทั้งสองก็บวชนานพอสมควร คือประมาณเกิน 1 ปี แล้ว ก็ให้ท่านทั้ง 2 ไปตรวจสอบดูพระวินัย ปาติโมกข์ที่สวดอยู่ก็ชัดเจนอยู่แล้ว
ยังไม่รู้เรื่องอีก ??? ผู้รู้ติเตียน พวกบวชเรียนแล้วไม่เอาธรรมวินัย พระบอกว่าสมัยนี้พระต้องใช้เงิน ดูแล้วสวดปาติโมกข์เกิน 3 ครั้งแล้ว
ไม่รู้เรื่องสวดทำไม ชอบรับเงินรับทองเป็นประจำ เป็นพวกภิกษุอลัชชี มีผู้ที่เปิดร้านขายของแถวนั้น มาขอเอกสารไปช่วยแจก
จึงให้เอกสารไปประมาณ 100 แผ่น เขาบอกกับทีมงานว่า พระเก๊ (เทียม) เยอะมาก และแนะนำให้มาแจกที่นี่ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตื่นตัว
ส่วนสมาชิกท่านอื่นๆ ทยอยเดินมาร่วมสมทบแจกเอกสารหยุด!ทำร้ายพระพุทธศาสนา ด้วย ยินดีในบุญทุกๆ ท่าน และยินดีในบุญกับชาวทิพย์
ที่มาร่วมด้วยช่วยกันประกาศคำสอนพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏก แจกเสร็จก็แยกย้ายกันกลับ แต่บันทึกภาพไม่ทั่วถึง
เนื่องจากกระจายตัวกันแจก คนเยอะมาก คนสนใจมีพอสมควร งานนี้พระทุศีลช๊อปปิ้งแบบไม่อายใคร
ไม่รู้สำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาทำอะไรอยู่ questionไหนบอกว่าส่งเสริมพระพุทธศาสนา.......
เรื่องด่วนที่ฆราวาสและพระควรรู้ ( จากพระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม มมร.ชุดสีน้ำเงิน พิมพ์ พ.ศ. 2525 )
พระพุทธเจ้าสรรเสริญธรรม ติเตียนสาวกผู้ปฏิบัติผิด
จากหนังสือพระไตรปิฏก เล่ม 15/ 263/ 12 – 264/ 11 ชุด 91 เล่ม พิมพ์ พ.ศ.2525
[๙๘] ดูก่อนจุนทะ อนึ่ง ศาสดาในโลกนี้ เป็นสัมมาสัมพุทธะ
และธรรมก็เป็นธรรมอันศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว เป็น
ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นธรรม
ที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่สาวกไม่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่เป็นผู้ประพฤติตามธรรม
และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น สาวกนั้นควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า ดู
ก่อนผู้มีอายุ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้วด้วยว่าศาสดาของท่าน เป็น
สัมมาสัมพุทธะ และธรรมก็เป็นธรรมที่ศาสดานั้นกล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้
ดีแล้ว เป็นธรรมที่จำนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความ
สงบ เป็นธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้ แต่ว่าตัวท่านไม่
เล่ม 15 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 264
เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรมในธรรมนั้นอยู่ ไม่เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่
เป็นผู้ประพฤติตามธรรม และย่อมประพฤติหลีกเลี่ยงจากธรรมนั้น. ด้วยเหตุ
ดังนี้แล ดูก่อนจุนทะ แม้ศาสดาก็ควรได้รับการสรรเสริญในธรรมนั้น แม้
ธรรมก็ควรได้รับการสรรเสริญ แต่ว่า สาวกควรได้รับการติเตียนในธรรมนั้น
อย่างนี้. ดูก่อนจุนทะ ผู้ได้แลพึงกล่าวกะสาวกเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า ท่าน
จงปฏิบัติธรรมที่ศาสดาของท่านแสดงไว้แล้ว บัญญัติไว้แล้วเถิด. ผู้ที่ชักชวน
ผู้ที่ถูกชักชวน ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น คนทั้ง
หมดนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก. ข้อนั้นเพราะเหตุไร. ดูก่อนจุนทะ
เพราะว่าข้อนี้มีอยู่ในธรรมวินัยที่พระศาสดากล่าวไว้ดีแล้ว ประกาศไว้ดีแล้ว
เป็นธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกไปจากทุกข์ได้ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็น
ธรรมที่ท่านผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะประกาศไว้อย่างนี้แล.
ประโยชน์อะไรในปาติโมกข์ ที่สวดเกิน 3 ครั้ง แล้วเสแสร้งว่าไม่รู้ทุกๆ วัน
เป็นหนึ่งในศีล 227 ข้อที่พระสวดปาติโมกข์ เป็นภาษาบาลี ตอนนี้ส่วนใหญ่โกหกทุกๆวัน
จากหนังสือพระไตรปิฏก เล่ม เล่ม 4 หน้า 758 ชุด 91 เล่ม พิมพ์ พ.ศ.2525
พระบัญญัติ
๑๒๒. ๓. อนึ่ง ภิกษุใด เมื่อพระวินัยธรสวดปาติโมกข์อยู่
ทุกกึ่งเดือน กล่าวอย่างนี้ว่า ฉันเพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า เออ ธรรมแม้
นี้ก็มาแล้วในสูตร เนื่องแล้วในสูตร มาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ถ้าภิกษุ
ทั้งหลายอื่นรู้จักภิกษุนั้นว่า ภิกษุนี้เคยนั่งเมื่อปาติโมกข์กำลังสวดอยู่.
๒-๓ คราวมาแล้ว กล่าวอะไรเพิ่มอีก อันความพ้นด้วยอาการที่ไม่รู้
หามีแก่ภิกษุนั้นไม่ พึงปรับเธอตามธรรม ด้วยอาบัติที่ต้องในเรื่อง
นั้น และพึงยกความหลงขึ้นแก่เธอเพิ่มอีกว่า แน่ะเธอ ไม่ใช่ลาภ
ของเธอ เธอได้ไม่ดีแล้ว ด้วยเหตุว่าเมือปาติโมกข์กำลังสวดอยู่ เธอ
หาทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ดีไม่ นี้เป็นปาจิตตีย์ในความเป็นผู้
แสร้งทำหลงนั้น.
สวดปาติโมกข์แล้วโกหกทุกๆวัน ไปนรก ( เรื่องปลาชื่อกปิละ )
จากหนังสือพระไตรปิฏก เล่ม 43 หน้า 271-273 สิ้นสุดบรรทัดที่ 12 ชุด 91 เล่ม พิมพ์ พ.ศ.2525
๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มนุชสฺส " เป็นต้น.
สองพี่น้องออกบวช
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม
ว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว กุลบุตรสองคนพี่น้องออกบวชในสำนักแห่ง
พระสาวกทั้งหลาย.
บรรดากุลบุตรสองคนนั้น คนพี่ได้ชื่อว่าโสธนะ, คนน้องชื่อกปิละ.
ส่วนมารดาของคนทั้งสองนั้น ชื่อว่าสาธนี, น้องสาวชื่อตาปนา. แม้
หญิงทั้งสองนั้น ก็บวชแล้วใน ( สำนัก ) ภิกษุณี. เมื่อคนเหล่านั้นบวช
แล้วอย่างนั้น พี่น้องทั้งสองทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอาจรรย์และพระ-
อุปัชฌายะอยู่ วันหนึ่ง ถามว่า " ท่านขอรับ ธุระในพระศาสนานี้มี
เท่าไร ?" ได้ยินว่า " ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ ๑ วิปัสสนา-
ธุระ ๑," ภิกษุผู้เป็นพี่คิดว่า " เราจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" อยู่ในสำนัก
แห่งพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ๕ พรรษาแล้ว เรียนกัมมัฏฐานจน
ถึงพระอรหัต เข้าไปสู่ป่าพยายามอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตผล.
น้องชายเมาในคันถธุระ
ภิกษุน้องชายคิดว่า " เรายังหนุ่มก่อน, ในเวลาแก่จึงจักบำเพ็ญ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 272
วิปัสสนาธุระ " จึงเริ่มตั้งคันถธุระ เรียนพระไตรปิฎก. บริวารเป็นอัน
มากได้เกิดขึ้น เพราะอาศัยปริยัติของเธอ, ลาภก็ได้เกิดขึ้น เพราะอาศัย
บริวาร. เธอเมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นผู้สดับมาก อันความทะยาน
อยากในลาภครอบงำแล้ว เพราะเป็นผู้สำคัญตัวว่าฉลาดยิ่ง ย่อมกล่าวแม้
สิ่งที่เป็นกัปปิยะ อันคนเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่า " เป็นอกัปปิยะ," กล่าว
แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่า " เป็นกัปปิยะ," กล่าวแม้สิ่งที่มีโทษว่า " ไม่มี
โทษ," กล่าวแม้สิ่งไม่มีโทษว่า " มีโทษ." เธอแม้อันภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
ทั้งหลายกล่าวว่า " คุณกปิละ คุณอย่าได้กล่าวอย่างนี้ " แล้ว แสดง
ธรรมและวินัยกล่าวสอนอยู่ ก็กล่าวว่า " พวกท่านจะรู้อะไร ? พวกท่าน
เช่นกับกำมือเปล่า" เป็นต้นแล้ว ก็เที่ยวขู่ตวาดภิกษุทั้งหลายอยู่.
น้องชายไม่เชื่อพี่
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายบอกเนื้อความนั้นแม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็น
พี่ชายของเธอแล้ว. แม้พระโสธนะเถระเข้าไปหาเธอแล้ว ตักเตือนว่า
" คุณกปิละ ก็การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายผู้เช่นเธอชื่อว่าเป็นอายุ
พระศาสนา; เพราะฉะนั้น เธออย่าได้ละการปฏิบัติชอบแล้ว กล่าว
คัดค้านสิ่งที่เป็นกัปปิยะเป็นต้นอย่างนั้นเลย." เธอมิได้เอื้อเฟื้อถ้อยคำแม้
ของท่าน. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเถระก็ตักเตือนเธอ ๒ - ๓ ครั้ง ทราบ
เธอผู้ไม่รับคำตักเตือนว่า " ภิกษุนี้ไม่ทำตามคำของเรา" จึงกล่าวว่า
" คุณ ถ้าดังนั้น เธอจักปรากฏด้วยกรรมของตน ดังนี้แล้ว หลีกไป.
น้องชายเสียคนเพราะถูกทอดทิ้ง
จำเดิมแต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก แม้เหล่าอื่น ทอดทิ้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 273
เธอแล้ว. เธอเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว อันพวกผู้มีความประพฤติชั่ว
แวดล้อมอยู่ วันหนึ่ง คิดว่า " เราจักสวดปาติโมกข์ " จึงถือพัดไปนั่ง
บนธรรมาสน์ในโรงอุโบสถแล้ว ถามว่า " ผู้มีอายุ ปาติโมกข์ย่อมเป็นไป
เพื่อภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นี้หรือ ?" เห็นภิกษุทั้งหลายนิ่งเสีย
ด้วยคิดว่า " ประโยชน์อะไร ด้วยคำโต้ตอบที่เราให้แก่ภิกษุ ?" จึง
กล่าวว่า " ผู้มีอายุ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ไม่มี, ประโยชน์อะไรด้วย
ปาติโมกข์ ที่พวกท่านจะฟังหรือไม่ฟัง" ดังนี้แล้ว ก็ลุกไปจากอาสนะ.
เธอยังศาสนาคือปริยัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปให้
เสื่อมลงแล้วด้วยอาการอย่างนี้. แม้พระโสธนเถระก็ปรินิพพานในวันนั้น
เอง.
ในกาลสิ้นอายุ ภิกษุกปิละเกิดในอเวจีมหานรก. มารดาและน้อง-
สาวของเธอแม้นั้น ถึงทิฏฐานุคติของเธอนั่นแล ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีศีลเป็นที่รักแล้ว ก็บังเกิดในอเวจีมหานรกนั้นเหมือนกัน.
รายละเอียดเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.317877138318363.60344.315109618595115&type=3
http://d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/th-mediagiveawayevent/573-142-31-10-53#sigFreeId5bdc16c07b