เหตุที่พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“เหตุที่พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก”

 

เล่ม ๑๐ หน้า ๙๗๐-๙๗๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๗-๘๘๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

เล่ม ๒ หน้า ๑๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐-๑๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

เล่ม ๑๐ หน้า ๙๗๐-๙๗๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๗-๘๘๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

 

อรรถวสวรรคที่ ๒

ทรงบัญญัติสิกขาบท

 

          [๑,๓๕๙] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจ ๒ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ๑

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๙๗๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ 

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๙๗๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ 

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ ๑

เพื่อเข้าไปตัดฝักฝ่ายของพวกภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ๑

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

 

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘ - หน้าที่ ๙๗๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ คือ

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑

          พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้.

 

อรรถวสวรรค ที่ ๒ จบ

 

http://www.tripitaka91.com/10-970-15.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๑ (ปกสีน้ำเงิน/ หน้า ๑๐-๑๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่อถือตามพระวินัย ๑

 

http://www.tripitaka91.com/2-11-12.html

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994