คำถาม-คำตอบ กิจกรรมแจกสื่อ หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนาฯ มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ?
- ฮิต: 5773
คำถาม
กิจกรรมแจกสื่อ หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา
หยุดทำบาปให้กับตนเอง
หยุดถวายทอง-เงิน แด่พระภิกษุและสามเณร
มีกฎหมายอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง ?
คำตอบ
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้คือ
๑. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๖๓ และ มาตรา ๖๗
๒. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
มาตรา ๑๕ ตรี (๔)
เพิ่มโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
๓. พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
มาตรา ๘
๔. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๑๕๗ , ๓๔๑ , ๓๔๒ และ ๓๔๓
รายละเอียดเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
มาตรา ๖๓
รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน
และให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตราย
ที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
และจัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อป้องกันและขจัดการทุจริต
และประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างเข้มงวด
รวมทั้งกลไกในการส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกัน
เพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส
โดยได้รับความคุ้มครอง
จากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๖๗
รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา
อันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน
รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา
และการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท
เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา
และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกัน
มิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด
และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชน
มีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการ
หรือกลไกดังกล่าวด้วย
---------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A401/%A401-20-9998-update.pdf
มาตรา ๑๕ ตรี (๔)
เพิ่มโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๑๕ ตรี
มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...
(๔) รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา
---------------------------------------------------------------------------------------------
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา
โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. ๒๔๙๓
http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A410/%A410-20-2493-001.htm
https://www.royalthaipolice.go.th/downloads/laws/laws_08.pdf
มาตรา ๘ พระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่การโฆษณา
๑. คำสอนในทางศาสนา
-----------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนพระที่หลอกลวงประชาชนว่าถวายเงินได้ไม่ผิดไม่ต้องอาบัติ
ทั้งที่รู้อยู่ว่าผิดทำให้ประชาชนหลงเชื่อได้เงินไป
ก็เข้าข่ายความผิดฐานฉ้อโกง
ตาม พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙
มาตรา ๓๔๑ , ๓๔๒ และ ๓๔๓
ส่วนเจ้าพนักงานเมื่อมีผู้กระทำผิดแล้วละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ก็เข้าข่าย มาตรา ๑๕๗
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๔๙๙
http://web.krisdika.go.th/data/law/law4/%BB06/%BB06-20-9999-update.htm
https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=443287&ext=pdf
มาตรา ๓๔๑
ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม
ทํา ถอน หรือทําลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทําความผิดฐานฉ้อโกง
ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา ๓๔๒
ถ้าในการกระทําความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทํา
(๑) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(๒) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก
หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา ๓๔๓
ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๓๔๑
ได้กระทําด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน
หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน
ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๑๕๗
ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี
หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
--------------------------------------------------------------------------------------------
รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ อาบัติ
และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum