คำถาม-คำตอบ กฐิน, ผ้าป่า ที่นำเงินไปถวายพระ ผิดหรือไม่ ?
- ฮิต: 7027
คำถาม
กฐิน, ผ้าป่า ที่นำเงินไปถวายพระ ผิดหรือไม่ ?
คำตอบ
กฐิน ความหมายในพจนานุกรมแปลว่า ไม้สะดึง
คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร
เป็นเรื่องเกี่ยวกับผ้า แต่การอ้างว่าเงินเป็นบริวารกฐิน
แล้วเอาเงินไปถวายพระเป็นสิ่งที่ผิด
ขัดกับพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
เพราะพระรับเงินไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ก็ตาม
ส่วนเรื่องผ้าป่า คือ
พระบางรูปจะสมาทาน
ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
ไม่รับผ้าใหม่ ใช้เฉพาะผ้าบังสุกุลเท่านั้น
คำว่าผ้าบังสุกุลแปลว่าผ้าที่เขาทิ้ง
จึงมีการเอาผ้าไปทิ้งไว้ในป่าเพื่อเป็นผ้าบังสุกุล
แล้วเรียกว่าผ้าป่า
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทิ้งไว้ในป่าเสมอไป
(สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ต่อด้านล่างที่ “ผ้าบังสุกุล 23 ชนิด”)
นอกจากนี้โยมยังเข้าใจกันผิดๆ คือเอาผ้าใหม่ๆ ไปให้พระ
แล้วพระก็รับผ้าแล้วบอกว่าเป็นผ้าบังสุกุล
ผ้ายังใหม่อยู่บางผืนพึ่งจะแกะออกจากถุงพลาสติก
และไม่ได้เป็นผ้าทิ้งเป็นผ้าใหม่ที่ตั้งใจว่าจะเอามาถวายพระ
จะเป็นผ้าบังสุกุลได้อย่างไร ?
มิหนำซ้ำยังเอาเงินถวายพระอีกได้บาปเพิ่มขึ้นไปอีก
เพราะพระรับเงินไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ก็ตาม
สามารถศึกษาเพิ่มเติมเรื่อง
พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ
ได้จาก คำถาม-คำตอบ
ทำไมพระถึงรับทอง-เงินไม่ได้ ?
เมื่อพระรับทอง-เงินแล้วโทษร้ายแรงขนาดไหน ?
ส่งผลถึงใครบ้าง ?
http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/question/917-q001
และ
รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ
และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum
https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A
อ้างอิง
ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม
ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)
“เรื่องกฐิน”
(กฐินขันธกะ)
มมร. เล่ม ๗ หน้า ๑๙๓-๒๒๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๔-๒๑๕ (ปกสีแดง)
http://www.tripitaka91.com/7-193-1.html
(กฐินขันธกวรรณนา)
มมร. เล่ม ๗ หน้า ๒๒๖-๒๔๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๕-๒๒๙ (ปกสีแดง)
http://www.tripitaka91.com/7-226-4.html
--------------------------------------------------------------------------------------------
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร
รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล
รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร
แต่เราสรรเสริญการยินดี
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้.”
เล่ม ๗ หน้า ๒๖๑-๒๖๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๔๙-๒๕๐ (ปกสีแดง)
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒
บางส่วนของ จีวรขันธกะ
กราบทูลขอพร
ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ถือผ้าสิไวยกะคู่นั้นไปในพุทธสำนัก
ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ชีวกโกมารภัจจ์นั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ข้าพระพุทธเจ้าจะขอประทานพรต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าสักอย่างหนึ่ง
พระพุทธเจ้าข้า
ภ. พระตถาคตทั้งหลายเลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก.
ชี. ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ
พระพุทธเจ้าข้า.
ภ. จงว่ามาเถิด ชีวก.
ชี. พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าและพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่
ผ้าสิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้
พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงส่งมาพระราชทาน
เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเสียงเด่นอุดม
และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้ง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๖๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
หลายเป็นอันมาก ตั้งหลายคู่ ตั้งหลายร้อยคู่
หลายพันคู่ หลายแสนคู่
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณา
โปรดรับผ้าคู่สิไวยกะของข้าพระพุทธเจ้า
และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ด้วยเถิด
พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าคู่สิไวยกะแล้ว
ครั้นแล้ว ทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
ครั้นชีวกโกมารภัจจ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา
แล้วลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทำประทักษิณกลับไป.
พระพุทธานุญาติคหบดีจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร
รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล
รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร
แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
http://www.tripitaka91.com/7-261-11.html
---------------------------------------------------------------------------------------
“ธุดงค์ ๘ เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.”
เล่ม ๖๕ หน้า ๔๑๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๓๖ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑
บางส่วนของ ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส ที่ ๓
เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล เป็นไฉน ?
ธุดงค์ ๘ คือ
อารัญญิกังคธุดงค์
ปิณฑปาติกังคธุดงค์
ปังสุกูลิกังคธุดงค์
เตจีวริกังคธุดงค์
สปทานจาริกังคธุดงค์
ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
เนสัชชิกังคธุดงค์
ยถาสันถติกังคธุดงค์
นี้เรียกว่า เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล.
http://www.tripitaka91.com/65-418-1.html
---------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)”
มมร. เล่ม ๖๗ หน้า ๖๗๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๓๕ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖
บางส่วนของ อรรถกถาขัคควิสาณสุตตนิทเทส
ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
และติจีวริกังคธุดงค์ (ถือไตรจีวรเป็นวัตร)
ชื่อว่า ธุดงค์ปฏิสังยุตด้วยจีวร.
http://www.tripitaka91.com/67-678-3.html
-----------------------------------------------------------------------------------
“บทว่า ปํสุกูลิกา ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
คือสมาทานปังสุกูลิกังคธุดงค์.”
มมร. เล่ม ๒๐ หน้า ๕๘๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๔-๕๕๕ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑
บางส่วนของ อรรถกถามหาสกุลุทายิสูตร
บทว่า ปํสุกูลิกา ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
คือสมาทานปังสุกูลิกังคธุดงค์.
บทว่า ลูขจีวรธรา ทรงจีวรเศร้าหมองด้วยด้าย ๑๐๐ เส้น.
บทว่า นนฺตกานิ ผ้าเก่า คือชิ้นผ้าที่ไม่มีชาย.
จริงอยู่ ผิว่า ผ้าเหล่านั้นพึงมีชาย
ผ้าเหล่านั้น เรียกว่า ปิโลตกา ผ้าขี้ริ้ว.
บทว่า อุจฺจินิตฺวา เลือกเก็บ คือฉีกทิ้งส่วนที่ใช้
ไม่ได้ถือเอาส่วนที่ยังใช้ได้เท่านั้น.
บทว่า อลาวุโลมสานิ คือเส้นด้ายเช่นกับขนน้ำเต้า.
ท่านแสดงว่า ละเอียด.
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ไม่ควรกล่าวว่าพระศาสดามิได้ทรงสันโดษด้วยจีวรสันโดษ.
เพราะในวันที่พระองค์ทรงรับเอาผ้าบังสุกุลทำด้วยเปลือกไม้
ที่นางปุณณทาสีนำมาจากป่าช้าผีดิบถวาย
มหาปฐพีได้ไหวจนกระทั่งถึงน้ำเป็นที่สุด
พระองค์ทรงแสดงความในบทนี้ไว้ว่า
เรารับผ้าบังสุกุลครั้งเดียวเท่านั้น.
แต่สาวกทั้งหลายของเราไม่ทำลายธุดงค์จนตลอดชีวิต
จำเดิมแต่สมาทานธุดงค์.
http://www.tripitaka91.com/20-581-5.html
----------------------------------------------------------------------------
“ผ้าบังสุกูล”
มมร. เล่ม 45 หน้า 646-647 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 622 (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔
บางส่วนของ อรรถกถาจัตตาริสูตร
บทว่า ปํสุกูลํ ความว่า
จีวรที่เลือกเก็บเอาเศษผ้าที่หล่นตามถนนเป็นต้นมาทำ
ซึ่งได้นามอย่างนี้ว่า บังสุกูล เพราะว่า เป็นเหมือนกองฝุ่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก
เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ ๖๔๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
โดยความหมายว่า อยู่สูง
เนื่องจากอยู่บนฝุ่นทั้งหลายในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง
มีถนน ป่าช้า และกองขยะเป็นต้น
และเพราะหมายความว่า ไป
คือ ถึงความเป็นของน่าเกลียด เหมือนฝุ่น.
http://www.tripitaka91.com/45-646-19.html
------------------------------------------------------------------------
“ผ้าบังสุกุล 23 ชนิด”
มมร. เล่ม ๑๖ หน้า ๓๓๐-๓๓๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๑๔-๓๑๕ (ปกสีแดง)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒
บางส่วนของ อรรถกถาสังคีติสูตร
ข้อว่า ปํสุกูลํ ความว่า พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ ชนิดคือ
๑. ผ้าโสสานิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า )
๒. ผ้าปาปณิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามทางเข้าตลาด )
๓. ผ้ารถิกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งอยู่ตามตรอก )
๔. ผ้าสังการโจฬกะ ( ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในกองหยากเยื่อ )
๕. ผ้าโสตถิยะ ( ผ้าที่เขาใช้เช็ดครรภ์มลทินแล้วทิ้ง )
๖. ผ้าสินานะ ( ผ้าที่เขาผลัดอาบน้ำมนต์แล้วทิ้ง )
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
๗. ผ้าติตถะ (ผ้าที่ทิ้งอยู่ตามท่าน้ำ)
๘. ผ้าคตปัจจาคตะ (ผ้าที่ใช้ห่มศพไปป่าช้า แล้วนำกลับมาทิ้งไว้)
๙. ผ้าอัคคิทัฑฒะ (ผ้าถูกไฟไหม้แล้วทิ้งไว้)
๑๐. ผ้าโคขายิตะ (ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๑. ผ้าอุปจิกขายิตะ (ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๒. ผ้าอุนธูรขายิตะ (ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้งไว้)
๑๓. ผ้าอันตัจฉินนะ (ผ้าขาดริมแล้วเขาทิ้งไว้ )
๑๔. ผ้าทสัจฉินนะ (ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้งไว้ )
๑๕. ผ้าธชาหฏะ (ผ้าที่เขาชักเป็นธงแล้วทิ้งไว้ )
๑๖. ผ้าถูปะ (ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวกทิ้งไว้)
๑๗. ผ้าสมณจีวร (ผ้าของภิกษุด้วยกัน)
๑๘. ผ้าสามุททิยะ (ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง)
๑๙. ผ้าอภิเสกิกะ (ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในที่ราชาภิเษก)
๒๐. ผ้าปันถิกะ (ผ้าที่ตกอยู่ตามหนทาง ไม่ปรากฏเจ้าของ)
๒๑. ผ้าวาตาหฏะ (ผ้าที่ลมหอบเอาไปไม่มีเจ้าของติดตาม)
๒๒. ผ้าอิทธิมยะ (ผ้าสำหรับเอหิภิกษุ)
๒๓. ผ้าเทวทัตติยะ (ผ้าที่เทวดาถวาย)
ก็บรรดาผ้าเหล่านี้
ผ้าที่ชื่อว่า โสตถิยะ ได้แก่ผ้าสำหรับเช็ดครรภ์มลทิน
ผ้าที่ชื่อว่า คตปัจจาคตะ ได้แก่
ผ้าที่เขาห่มศพนำไปป่าช้า แล้วนำกลับมา
ผ้าที่ชื่อว่า ธชาหฏะ ได้แก่
ผ้าที่เขาชักเป็นธง แล้วภิกษุนำมาจากที่นั้น
ผ้าที่ชื่อว่า ถูปะ ได้แก่ ผ้าที่เขาบูชาจอมปลวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)
ผ้าที่ชื่อว่า สามุททิยะ ได้แก่ ผ้าที่ถูกคลื่นทะเลชัดขึ้นบก.
ผ้าที่ชื่อว่า ปันถิกะ ได้แก่
ผ้าที่คนเดินทางใช้แผ่นหินทุบแล้วห่ม เพราะกลัวโจร.
ผ้าที่ชื่อว่า อิทธิมยะ ได้แก่ ผ้าของเอหิภิกขุ.
ผ้าที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.
http://www.tripitaka91.com/16-330-15.htm
--------------------------------------------------------------------------------------------
รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ
หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ
และเรื่องที่เกี่ยวข้อง
http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum