คำถาม-คำตอบ ทำไมพระถึงรับทอง-เงินไม่ได้ ? เมื่อพระรับทอง-เงินแล้วโทษร้ายแรงขนาดไหน ? ส่งผลถึงใครบ้าง ?

คำถาม

 

ทำไมพระถึงรับทอง-เงินไม่ได้  ?

เมื่อพระรับทอง-เงินแล้วโทษร้ายแรงขนาดไหน ?

ส่งผลถึงใครบ้าง ?

 

คำตอบ

 

พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธบัญญัติว่า

ภิกษุที่บวชในพระพุทธศาสนา

ห้ามรับทอง-เงิน เมื่อภิกษุละเมิดก็เป็นผู้ต้องอาบัติ เป็นผู้ทุศีล

เมื่อเป็นผู้ทุศีล บริโภคปัจจัย 4 ของชาวบ้านก็เป็นมหาโจร

เมื่อไม่ยอมแก้ไขอยู่ร่วมกับภิกษุอื่นก็จะทำให้ภิกษุอื่นต้องอาบัติเพิ่ม

โยมที่ไปเกี่ยวข้อง คบค้าสมาคมด้วยก็จะประสบทุกข์ตลอดกาลนาน

 

และนอกจากจะต้องอาบัติจากการรับทอง-เงินแล้ว

ก็ยังสามารถต้องอาบัติลามไปได้อีกหลายอาบัติ

จากการที่นำเงินนั้นไปทำอย่างอื่นต่อไป

 

หนักที่สุดก็ถึงขั้นต้องปาราชิก

ขาดจากความเป็นพระไปเลยก็มี

หากรู้อยู่ว่ารับเงินแล้วต้องอาบัติมีโทษแต่ยังโกหกโยม

ผู้ถวายว่ารับเงินได้ไม่เป็นไร ถวายได้ไม่ผิด ไม่ต้องอาบัติ

ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าผิด ต้องอาบัติ

ได้ทรัพย์มา 1 บาทขึ้นไป

ต้องอาบัติปาราชิก ฐานฉ้อโกงอีกด้วย

 

นอกจากพระที่รับเงินจะต้องอาบัติแล้ว

ถ้าหากพระรูปนั้นรู้ว่าผิดต้องอาบัติ

แต่ยืนยันจะไม่แก้ไขก็จะเป็นอลัชชี

จะทำให้พระรูปอื่นที่อยู่ร่วมต้องอาบัติไปด้วย

ต้องอาบัติลามไปได้อีกมากมายหลายรูป

 

โทษของการถวายเงินพระจึงมีมากอย่างนี้

 

อ้างอิง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม

ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

เรื่องราวต้นบัญญัติ

ห้ามพระรับหรือยินดีเงิน-ทองที่เขาเก็บไว้ให้

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/443-3-937

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๓๗-๙๕๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๕-๙๐๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร 

 

          [๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน

อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๓๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ครั้งนั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตร

เป็นกุลุปกะของสกุลหนึ่ง

รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ

ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น

เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร

เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น

เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร

เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด

ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า

บุรุษผู้สามี จึงสั่งภรรยาว่า

จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก

เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน

ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศายบุตร

นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลนั้น

แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย

          ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร

กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบเรียนว่า

ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น

ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง

จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า

จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า

ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก

พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วย

ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง  ขอรับ

          ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า

เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่ง แก่เราแล้วหรือ

          บุ.   ขอรับ ผมบริจาคแล้ว

          อุ.   เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา

          บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร

ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้

รับรูปิยะเหมือนพวกเรา

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๓๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ  ติเตียน  โพนทะนาอยู่

บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย

มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

 

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์

ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น

แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า

ดูก่อนอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ

          ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

 

ทรงติเตียน

 

          พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า

ดูก่อนโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น

ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ

ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า

การกระทำของเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น

เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

 

ทรงบัญญัติสิกขาบท

 

          พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร

โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว

ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก

ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก

ความเป็นคนไม่สันโดษ ความ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

คลุกคลี ความเกียจคร้าน

ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ

ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส

การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น

ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย

แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่อถือตามพระวินัย ๑

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

 

พระบัญญัติ

 

๓๗.  ๘.  อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี

ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

 

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร  จบ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สิกขาบทวิภังค์

 

         [๑๐๖] บทว่า  อนึ่ง...ใด  ความว่า

ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด

มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด

มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด

เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  อนึ่ง...ใด.

          บทว่า  ภิกษุ  ความว่า

ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว

ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา

ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นเอหิภิกษุ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า มีสารธรรม

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน

อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ

บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม

อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุ

ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้

          ที่ชื่อว่า  ทอง  ตรัสหมายทองคำ

          ที่ชื่อว่า  เงิน  ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

          บทว่า  รับ  คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.

          บทว่า  ให้รับ  คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้  ความว่า

หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า

ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้ เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์

ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลภิกษุพึงเสียสละรูปิยะนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีเสียสละรูปิยะ

 

          ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า

          ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้ารับรูปิยะไว้แล้ว

ของนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ

ข้าพเจ้าสละรูปิยะนี้แก่สงฆ์

          ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ

ถ้าคนผู้ทำการวัด หรืออุบาสก

เดินมาในสถานที่เสียสละนั้น พึงบอกเขาว่า

ท่านจงรู้ของสิ่งนี้

ถ้าเขาถามว่า จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา

อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา

ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น

เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย

ถ้าเขานำรูปิยะนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย

เว้นภิกษุผู้รับรูปิยะ ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป

ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี

ถ้าไม่ได้พึงบอกเขาว่า

โปรดช่วยทิ้งของนี้

ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี

ถ้าเขาไม่ทิ้งให้

พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          องค์ ๕ นั้น คือ

๑.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง

๓.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย

๔.ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ

๕.รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้งหรือไม่เป็นอันทิ้ง

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน

ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 

คำสมมติ

 

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี่เป็นญัตติ

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ ชอบแก่ท่านผู้ใด

ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

          ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว ชอบแก่สงฆ์

เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

          ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก

ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บทภาชนีย์

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

 

          [๑๐๗] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสงสัย รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ รับรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 

ทุกกฏ

 

          ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ต้องอาบัติทุกกฏ

          ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย...ต้องอาบัติทุกกฏ

 

ไม่ต้องอาบัติ

 

          ไม่ใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าไม่ใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ.

 

อนาปัตติวาร

 

          [๑๐๘] ทองเงินตกอยู่ภายในวัดก็ดี ภายในที่อยู่ก็ดี

ภิกษุหยิบยกเองก็ดี ใช้ให้หยิบยกก็ดี

แล้วเก็บไว้ด้วยตั้งใจว่า เป็นของผู้ใด

ผู้นั้นจักนำไปดังนี้ ๑

ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

 

โกสิยวรรค  สิกขาบทที่  ๘  จบ 

 

โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘

พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

          รูปิยสิกขาบทว่า  เตน สมเยน  เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-

ในรูปิยสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

          บทว่า  ปฏิวึโส  แปลว่า ส่วน.

          ในบทว่า  ชาตรูปรชตํ  นี้ คำว่า  ชาตรูป  เป็นชื่อแห่งทองคำ.

ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต;

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.

เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา

นี้ชื่อว่า ชาตรูป (ทองคำธรรมชาติ).

ส่วนเงินท่านเรียกว่า รูปิยะ.

ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.

แต่ในสิกขาบทนี้

ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้นอย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง

ที่ให้ถึงการซื้อขายได้.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า  รชตํ  นั้น

ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.

 

[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]

 

          บรรดาบทว่า  กหาปณะ  เป็นต้นนั้น

กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี กหาปณะธรรมดาก็ดี

ชื่อว่า กหาปณะ.

          มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า  โลหมาสก.

          มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี

โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า  มาสกไม้.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า  มาสกยาง.

          ก็ด้วยบทว่า  เย โวหารํ คจฺฉนฺติ  นี้

ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน

โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง

ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง.

วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้

(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด

จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,

วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด

ทาสหญิง ทาสชาย นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น

จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.

วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ

และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น

จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.

          บรรดานิสสัคคิยวัตถุและทุกกฎวัตถุนั้น

ภิกษุจะรับนิสสัคคิยวัตถุเพื่อประโยชน์ตนเอง

หรือเพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ คณะบุคคลและเจดีย์ เป็นต้น ย่อมไม่ควร,

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

แก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง.

เป็นทุกกฎแก่ภิกษุผู้รับเพื่อประโยชน์แก่สิ่งที่เหลือ

เป็นทุกกฏอย่างเดียว แก่ภิกษุผู้รับทุกกฏวัตถุ เพื่อประโยชน์ทุกอย่าง,

ไม่เป็นอาบัติในกัปปิยวัตถุ.

เป็นปาจิตตีย์ด้วยอำนาจที่มาในรัตนสิกขาบทข้างหน้า

แก่ภิกษุผู้รับวัตถุมีเงินเป็นต้นแม้ทั้งหมด

ด้วยหน้าที่แห่งภัณฑาคาริก เพื่อต้องการจะเก็บไว้.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) 

 

[ว่าด้วยการรับ การใช้ให้รับ และวิธีปฏิบัติในรูปิยะ]

 

          บทว่า  อุคฺคณฺเหยฺย  แปลว่า พึงถือเอา.

ก็เพราะเมื่อภิกษุรับเอาจึงต้องอาบัติ;

ฉะนั้น ในบทภาชนะแห่งบทว่า  อุคฺคณฺเหยฺย  นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ภิกษุรับเอง เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยอย่างนี้ .

          ในการรับเองและใช้ให้รับนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

          เป็นอาบัติตัวเดียวแก่ภิกษุผู้รับเอง หรือใช้ให้รับวัตถุสิ่งเดียว

ในบรรดาภัณฑะ คือ ทองเงิน ทั้งกหาปณะ และมาสก.

ถ้าแม้นว่า ภิกษุรับเอง

หรือใช้ให้รับตั้งพันอย่างรวมกัน,

เป็นอาบัติมากตามจำนวนวัตถุ.

แต่ในมหาปัจจรีและกุรุนที กล่าวรวมกันว่า

เป็นอาบัติ โดยนับรูปในถุงที่ผูกไว้หย่อน ๆ หรือในภาชนะที่บรรจุไว้หลวม ๆ.

ส่วนในถุงที่ผูกไว้แน่น หรือในภาชนะที่บรรจุแน่น เป็นอาบัติตัวเดียวเท่านั้น.

          ส่วนในการยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:-

เมื่อเขากล่าวว่า นี้เป็นของพระผู้เป็นเจ้า

ถ้าแม้นภิกษุยินดีด้วยจิต เป็นผู้ใคร่เพื่อจะรับเอาด้วยกายหรือวาจา,

แต่ปฏิเสธว่า นี้ไม่ควร ไม่เป็นอาบัติ.

แม้ไม่ห้ามด้วยกายและวาจา เป็นผู้มีจิตบริสุทธิ์

ไม่ยินดีด้วยคิดว่า นี้ไม่ควรแก่เรา ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

จริงอยู่ บรรดาไตรทวาร

อันภิกษุห้ามแล้วด้วยทวารใดทวารหนึ่ง ย่อมเป็นอันห้ามแล้วแท้.

แต่ถ้าไม่ห้ามด้วยกายและวาจา รับอยู่ด้วยจิต

ย่อมต้องอาบัติในกายทวารและวจีทวาร

มีการไม่กระทำเป็นสมุฏฐาน เพราะไม่กระทำการห้าม

ที่ตนพึงกระทำด้วยกายและวาจา.

แต่ ชื่อว่า อาบัติ ทางมโนทวาร ไม่มี.

...

 

[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]

 

          ข้อว่า  รูปิยปฏิคฺคาหกํ ฐเปตฺวา สพฺเพเหว ปริภุญฺชิตพฺพํ  มีความว่า

ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค.

ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับส่วนแบ่ง.

แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่นหรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภคก็ไม่ควร.

โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น

ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า หรือที่หล่นจากมือของสัตว์เหล่านั้น

ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่สมควรทั้งนั้น.

แม้จะอบเสนาสนะ ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควร.

จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี

กระทำกสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร.

อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น จากส่วนแบ่งนั้น

ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

         คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี

สร้างอุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร.

แม้ร่มเงา (แห่งโรงฉัน เป็นต้น) อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร.

ร่มเงาที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา.

จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร.

จะดื่มหรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้น ก็ไม่ควร.

แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่.

แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระโบกขรณีที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควร.

          สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย

แม้ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ.

แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น ) ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย.

ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็นอกัปปิยะ, จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ไม่ควรทั้งนั้น.

ถ้าภิกษุซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น, จะบริโภคผล ควรอยู่.

ถ้าพืช ภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ จะบริโภคผล ไม่ควร.

จะนั่งหรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.

          ข้อว่า  สเจ โส ฉฑฺเฑติ  มีความว่า เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง, ไม่พึงห้ามเขา

          ข้อว่า  โน เจ ฉฑฺเฑติ  มีความว่า ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้

หลีกไปตามความปรารถนา ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการขวนขวายนี้,

ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

 

[ว่าด้วยองค์แห่งภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ]

 

ในคำว่า  โย น ฉนฺทาคตึ  เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

ภิกษุผู้กระทำวัตถุนั้นเพื่อตน หรือยกตนขึ้นอ้าง ด้วยอำนาจแห่งความโลภ

ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน.

เมื่อรุกรานผู้อื่นด้วยอำนาจแห่งโทสะว่า ภิกษุนี้ไม่รู้แม่บทเลย ไม่รู้วินัย

ชื่อว่า ย่อมถึงความ ลำเอียงเพราะโทสะ.

เมื่อถึงความเป็นผู้พลั้งเผลอและหลงลืมสติด้วยอำนาจโมหะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะหลง.

เมื่อไม่อาจจะทิ้งเพราะกลัวภิกษุผู้รับรูปิยะ

ชื่อว่า ย่อมถึงความลำเอียงเพราะกลัว.

ภิกษุผู้ไม่กระทำอย่างนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

ย่อมไม่ถึงความลำเอียงเพราะชอบกัน ฯลฯ ย่อมไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว.

          สองบทว่า  อนิมิตฺตํ กตฺวา  ได้แก่ ไม่กระทำให้มีที่หมาย.

อธิบายว่า ภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะนั้น หลับตาแล้ว ไม่เหลียวดูดุจคูถคือไม่กำหนดหมายที่ตก

พึงทิ้งให้ตกไปในแม่น้ำ ในเหว หรือในพุ่มไม้.

ในรูปิยะแม้อันภิกษุพึงรังเกียจอย่างนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกการบริโภคใช้สอย แก่ภิกษุทั้งหลายโดยปริยาย.

ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นจากรูปิยะนั้น

ย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะ โดยปริยายไร ๆ เลย.

ก็การบริโภคปัจจัยที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุผู้รับรูปิยะนั่น ฉันใด.

ปัจจัยที่เกิดขึ้น เพราะการอวดอุตริมนุสธรรมอันไม่มีจริงก็ดี

เพราะกุลทูสกกรรมก็ดี เพราะการหลอกลวงเป็นต้นก็ดี

ย่อมไม่ควรแก่ภิกษุนั้น และแก่ภิกษุอื่น ฉันนั้น

ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมโดยสม่ำเสมอ ยังไม่ได้พิจารณา จะบริโภคก็ไม่ควร.

 

[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง]

 

          จริงอยู่ การบริโภค มี ๔ อย่าง คือ

ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย) ๑

อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้) ๑

ทายัชชบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก) ๑

สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ๑.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น

การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีล

ซึ่งนั่งบริโภคอยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์

ชื่อว่า ไถยบริโภค.

การบริโภคไม่พิจารณาของ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค.

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณาจีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย

บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน.

เมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลาง และยามสุดท้าย.

หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะบริโภคอย่างเป็นหนี้.

แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย.

ความมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทำสติในการรับ ไม่ทำในการบริโภคอย่างเดียว.

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลาบริโภค.

          ก็สุทธิมี ๔ อย่าง คือ

เทสนาสุทธิ (หมดจดด้วยการแสดง) ๑

สังวรสุทธิ (หมดจดด้วยสังวร) ๑

ปริยิฎฐิสุทธิ (หมดจดด้วยการแสวงหา) ๑

ปัจจเวกขณสุทธิ (หมดจดด้วยการพิจารณา) ๑.

บรรดาสุทธิ ๔ อย่างนั้น

ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่าเทสนาสุทธิ.

ก็ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดง.

อินทรียสังวรศีล ชื่อว่าสังวรสุทธิ.

ก็อินทรียสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า สังวรสุทธิ

เพราะบริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีกเท่านั้น.

อาชีวปริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฎฐิสุทธิ.

ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปริยิฎฐิสุทธิ

เพราะเป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหาของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้ว

ยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ.

ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ.

จริงอยู่ ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า

ภิกษุย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการบริโภค.

การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.

จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.

          ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น

บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?

          ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง.

แต่ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

          การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค.

จริงอยู่พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความเป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว.

บรรดาการบริโภคทั้ง ๔ นี้

สามีบริโภคและทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก.

อิณบริโภค ไม่สมควรเลย.

ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.

 

[อธิบายว่าการบริโภคอีก ๔ อย่าง]

 

การบริโภคแม้อื่นอีก ๔ คือ

ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิยบริโภค อธัมมิยบริโภค.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภค

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของอลัชชีภิกษุร่วมกับลัชชีภิกษุ สมควร. ไม่พึงปรับอาบัติเธอ.

การบริโภคของลัชชีภิกษุร่วมกับอลัชชีภิกษุ ย่อมควรตลอดเวลาที่เธอยังไม่รู้.

เพราะว่าธรรมดาภิกษุผู้เป็นอลัชชีมาแต่แรกไม่มี.

เพราะฉะนั้น พึงว่ากล่าวเธอในเวลาทราบว่าเธอเป็นอลัชชีว่า

ท่านทำการละเมิดในกายทวารและวจีทวาร,

การทำนั้น ไม่สมควรเลย, ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้.

ถ้าเธอไม่เอื้อเฟื้อยังคงกระทำอยู่อีก, ถ้ายังขืนทำการบริโภคร่วมกับอลัชชีนั้น,

แม้เธอก็กลายเป็นอลัชชีไปด้วย.

ฝ่ายภิกษุใด กระทำการบริโภคร่วมกับอลัชชี ผู้ซึ่งเป็นภาระของตน,

แม้ภิกษุนั้น อันภิกษุอื่นเห็นพึงห้าม,

ถ้าเธอไม่ยอมงดเว้น, ภิกษุแม้รูปนี้ ก็เป็นอลัชชีเหมือนกัน.

อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว

ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูปอย่างนี้.

ชื่อว่าอาบัติในการบริโภคร่วมกันระหว่างอลัชชีกับอลัชชี ย่อมไม่มี.

การบริโภคร่วมระหว่างลัชชีกับลัชชี

เป็นเช่นเดียวกับขัตติยกุมารสองพระองค์เสวยร่วมกันในสุวรรณภาชน์.

การบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรม

ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั่นแล.

          ในการบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

          ถ้าแม้บุคคลก็เป็นอลัชชี แม้บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, น่ารังเกียจทั้ง ๒ ฝ่าย.

บุคคลเป็นอลัชชี แต่บิณฑบาตเป็นธรรม,

ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจบุคคลแล้ว ไม่พึงรับบิณฑบาต.

แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า

คนทุศีล ได้อุเทศภัตเป็นต้นจากสงฆ์แล้ว ถวายแก่สงฆ์นั่นแล.

อุเทศภัตเป็นต้นนี้ ย่อมควร เพราะเป็นไปตามที่เขาถวายนั่นเอง.

บุคคลเป็น

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา.

บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.

 

[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ ๒]

 

          ยังมีการยกย่อง ๒ อย่าง และการบริโภค ๒ อย่างอีก คือ

การยกย่องลัชชี ๑

การยกย่องอลัชชี ๑

ธรรมบริโภค ๑

อามิสบริโภค ๑,

ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร. เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ.

ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วยอนุโมทนา

เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย,

แม้อลัชชีนอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า

อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้,

ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อมลง คือ ให้อันตรธานไป.

          ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค

ในบุคคลใด อามิสบริโภคสมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร.

ท่านกล่าวไว้ (ในอรรถกถาทั้งหลาย) ว่า

ก็คัมภีร์ใด ตั้งอยู่ในสุดท้าย จักฉิบหายไป โดยกาลล่วงไปแห่งบุคคลนั้น,

จะเรียนเอาคัมภีร์นั้นเพื่ออนุเคราะห์ธรรม ควรอยู่.

ในการอนุเคราะห์ธรรมนั้น มีเรื่องต่อไปนี้:-

 

[เรื่องเรียนคัณฐะจากคนเลวเพื่ออนุเคราะห์ธรรม]

 

          ได้ยินว่า ในยุคมหาภัย ได้มีภิกษุผู้ชำนาญมหานิเทศเพียงรูปเดียวเท่านั้น.

ครั้งนั้น พระอุปัชฌายะของพระติสสเถระ ผู้ทรงนิกาย ๔ ชื่อว่า มหาติปิฎกเถระ

กล่าวกะพระมหารักขิตเถระว่า อาวุโสมหารักขิต !

เธอจงเรียนเอามหานิเทศในสำนักแห่งภิกษุนั่นเถิด.

เธอเรียนว่า ได้ทราบว่า ท่านรูปนี้เลวทราม ขอรับ ! กระผมจักไม่เรียนเอา.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          อุปัชฌาย์. เรียนไว้เถิดคุณ ! ฉันจักนั่งใกล้ ๆ เธอ.

          พระเถระ. ดีละ ขอรับ ! เมื่อท่านนั่งอยู่ด้วย กระผมจักเรียนเอา

แล้วเริ่มเรียนติดต่อกันทั้งกลางคืนกลางวัน วันสุดท้ายเห็นสตรีภายใต้เตียงแล้ว เรียนว่า

ท่านขอรับ ! กระผมได้สดับมาก่อนแล้วทีเดียว,

ถ้าว่ากระผมพึงรู้อย่างนี้ จะไม่พึงเรียนธรรมในสำนักคนเช่นนี้เลย.

ก็พระมหาเถระเป็นอันมาก ได้เรียนเอาในสำนักของพระเถระนั้นแล้ว

ได้ประดิษฐานมหานิเทศไว้สืบมา.

          อันทองและเงินแม้ทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบว่า

ถึงการสงเคราะห์ว่ารูปิยะทั้งนั้น ในคำว่า  รูปิเย รูปิยสญฺี  นี้.

          สองบทว่า  รูปิเย เวมติโก  มีความว่า เกิดมีความสงสัย

โดยนัยเป็นต้นว่า เป็นทองคำ หรือทองเหลือง หนอ

          สองบทว่า  รูปิเย อรูปิยสญฺี  ความว่า

มีความสำคัญในทองคำเป็นต้นว่า เป็นทองเหลืองเป็นต้น .

          อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ใคร่ในบุญทั้งหลาย มีนางสนมของพระราชา เป็นต้น

ถวายเงินและทองใส่ไว้ในภัต ของควรเคี้ยว ของหอมและกำยานเป็นต้น,

ถวายแผ่นผ้าเล็ก ๆ รวมกับกหาปณะที่ขอดไว้ที่ชายผ้าเป็นต้นนั่นแหละ

แก่ภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวบิณฑบาตผ้า,

ภิกษุทั้งหลายรับเอาด้วยสำคัญว่าภัตตาหารเป็นต้น หรือสำคัญว่าผ้า,

ภิกษุนี้ พึงทราบว่า ผู้มีความสำคัญในรูปิยะว่ามิใช่รูปิยะ รับเอารูปิยะด้วยอาการอย่างนี้.

          แต่ภิกษุผู้รับ พึงกำหนดให้ดีว่า วัตถุนี้เราได้ในเรือนหลังนี้

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เพราะว่า ผู้ที่ถวายของด้วยไม่มีสติ ได้สติแล้วจะกลับมา (ทวงถาม).

ลำดับนั้น ภิกษุพึงบอกเขาว่า ท่านจงตรวจดูห่อผ้าของท่าน ดังนี้.

บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

          บรรดาสมุฏฐานเป็นต้น สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖

บางคราวเป็นกิริยา เพราะต้องด้วยการรับบางคราวเป็นอกิริยา เพราะไม่ทำการห้าม

จริงอยู่ รูปิยสิกขาบท อัญญวาทกสิกขาบท และอุปัสสุติสิกขาบท

ทั้ง ๓ มีกำหนดอย่างเดียวกัน เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล.

 

รูปิยสิกขาบทที่ ๘ จบ

 

http://www.tripitaka91.com/3-937-16.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/446-29-212

 

เล่ม ๒๙ หน้า ๒๑๒-๒๑๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๐๐-๒๐๒ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๒

 

๑๐.  มณิจูฬกสูตร

ว่าด้วยทองและเงินไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร 

 

          [๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์.

ก็สมัยนั้นแล เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า

ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร

สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน ย่อมรับทองและเงิน.

          [๖๒๔] ก็สมัยนั้นแล นายบ้านนามว่ามณิจูฬกะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น

นายบ้าน นามว่ามณิจูฬกะได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า

ท่านผู้เจริญย่อมไม่กล่าวอย่างนี้

ทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร

สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน

สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน

นายบ้านมณิจูฬกะไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้.

          [๖๒๕] ครั้งนั้น นายบ้านมณิจูฬกะ

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อราชบริษัทนั่งประชุมกันในพระราชวังสนทนากันว่า

ทองและเงินย่อมควรแก่สมณศากยบุตร

สมณศากยบุตรย่อมยินดีทองและเงิน

เมื่อราชบริษัทกล่าวอย่างนี้

ข้าพระองค์ได้กล่าวกะบริษัทนั้นว่า

ท่านผู้เจริญอย่าได้กล่าวอย่างนี้

ทองและเงินย่อมไม่ควรแก่สมณศากยบุตร

สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน ย่อมไม่รับทองและเงิน

สมณศากยบุตร

 

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ห้ามแก้วและทอง ปราศจากทองและเงิน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ไม่อาจให้บริษัทนั้นยินยอมได้

เมื่อข้าพระองค์พยากรณ์อย่างนี้

เป็นอันกล่าวตามคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

จะไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่จริง

และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม

และสหธรรมิกไร ๆ คล้อยตามวาทะ

จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้แลหรือ พระเจ้าข้า.

          [๖๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดีละ นายคามณี

เมื่อท่านพยากรณ์อย่างนี้

เป็นอันกล่าวตามคำที่เรากล่าวแล้ว

ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง

และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม

และสหธรรมิกไร ๆ คล้อยตามวาทะ

จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้.

เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร

สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีทองและเงิน

สมณศากยบุตรห้ามแก้วและทอง

ปราศจากทองและเงิน.

ดูก่อนนายคามณี

ทองและเงินควรแก่ผู้ใด

เบญจกามคุณก็ควรแก่ผู้นั้น

เบญจกามคุณควรแก่ผู้ใด

ทองและเงินก็ควรแก่ผู้นั้น

ดูก่อนนายคามณี

ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่เบญจกามคุณนั้นโดยส่วนเดียวว่า

ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร

อนึ่งเล่า เรากล่าวอย่างนี้ว่า

ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า

ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้

ผู้ต้องการเกวียนพึงแสวงหาเกวียน

ผู้ต้องการบุรุษพึงแสวงหาบุรุษ

เรามิได้กล่าวว่า สมณศากยบุตรพึงยินดี

พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายอะไรเลย.

 

จบ  มณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ 

 

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค 

เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

 

          ในมณิจูฬกสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้. 

          บทว่า  ตํ  ปริสํ  เอตทโวจ  ความว่า

ได้ยินว่า นายบ้านนามว่า มณิจูฬกะนั้นได้มีความคิดว่า

กุลบุตรทั้งหลายเมื่อบวช ย่อมละบุตรและภรรยา

ทองและเงินก่อนแล้วจึงบวช

แลเขาเหล่านั้นครั้นละแล้วบวช จึงไม่อาจรับทองและเงินนั้นได้.

นายบ้านนั้นมีความยึดถือเป็นพิเศษ

จึงได้กล่าวคำเป็นต้นว่า  มา  อยฺยา  ดังนี้.

บทว่า  เอกํเสเนตํ  ความว่า

ท่านพึงทรงจำความที่ควรแก่กามคุณห้านั้น

โดยส่วนเดียวว่า ไม่ใช่ธรรมของสมณะ ไม่ใช่ธรรมของศากยบุตร.

บทว่า  ติณํ  ได้แก่ หญ้ามุงเสนาสนะ.

บทว่า  ปริเยสิตพฺพํ  ความว่า

เมื่อเรือนที่มุงด้วยหญ้า หรือมุงด้วยอิฐพัง

พึงไปยังสำนักของผู้ที่ทำเรือนนั้น บอกว่า

เสนาสนะที่ท่านทำ ฝนรั่ว.

เราไม่อาจอยู่ในเสนาสนะนั้นได้.

มนุษย์ทั้งหลายเมื่อทำได้ก็จักทำให้

เมื่อทำไม่ได้ก็จักบอกว่า พวกท่านจงหานายช่างให้ทำ

พวกเราจักให้สัญญากะนายช่างเหล่านั้น

ครั้นให้นายช่างที่บอกไว้อย่างนั้นทำเสร็จแล้ว

พึงบอกแก่มนุษย์เหล่านั้น

พวกมนุษย์จักให้ค่าจ้างแก่พวกนายช่าง.

ถ้าไม่มี เจ้าของที่อยู่อาศัย

ภิกษุผู้ประพฤติภิกขาจารวัตร

ควรบอกแม้แก่คนอื่น ๆให้ทำ.

บทว่า  ปริเยสิตพฺพํ  ตรัสหมายข้อความดังนี้.

บทว่า  ทารุํ  ความว่า เมื่อไม้กลอนหลังคาเป็นต้นในเสนาสนะพัง

พึงแสวงหาไม้เพื่อซ่อมแซมสิ่งนั้น.

บทว่า  สกฏํ  ได้แก่ เกวียนชั่วคราวเท่านั้น

ทำให้แปลกจากของคฤหัสถ์

มิใช่แต่เกวียนอย่างเดียวเท่านั้น

แม้อุปกรณ์อื่น ๆ มีมีด

 

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค 

เล่ม ๔ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๑๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ขวานและจอบเป็นต้น ก็ควรแสวงหาอย่างนี้. 

บทว่า  ปุริโส  ความว่า ควรแสวงหาคนมาช่วยงาน

คือ พูดกะคนใดคนหนึ่งว่า ท่านจักช่วยงานได้ไหม

เมื่อเขาบอกว่า กระผมจักช่วยขอรับ

ควรให้เขาทำสิ่งที่ต้องการว่า ท่านจงทำสิ่งนี้ ๆ.

บทว่า  น  เตฺววาหํ คามณิ  เกนจิ  ปริยาเยน  ความว่า

แต่เรามิได้กล่าวถึงทองและเงิน

ว่าสมณศากยบุตรพึงแสวงหา ด้วยเหตุอะไร ๆ เลย.

 

จบ  อรรถกถามณิจูฬกสูตรที่ ๑๐

 

http://www.tripitaka91.com/29-212-1.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ภิกษุไม่พึงยินดี ไม่พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ เลย.

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/447-7-149

 

เล่ม ๗ หน้า ๑๔๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๔๐-๑๔๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒

 

บางส่วนของ เภสัชชขันธกะ

 

          มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย

ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส

เขามอบเงินทองไว้ในมือกัปปิยการกสั่งว่า

สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า

ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิยภัณฑ์นั้นได้

แต่เรามิได้กล่าวว่า

พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยายไร ๆ เลย.

 

http://www.tripitaka91.com/7-149-3.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------

 

ในจุลศีลก็ให้พระเว้นขาดจากการรับทองและเงิน

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/916-11-309-319

 

เล่ม ๑๑ หน้า ๓๐๙-๓๑๙  (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๖๓-๒๗๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

 

บางส่วนของ สามัญญผลสูตร

 

จุลศีล

 

          (๑๐๓) มหาบพิตร

อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

          ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์

วางไม้ วางมีด มีความละอายมีความเอ็นดู

มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์

รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้

ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์

ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้นขาดจากเมถุน อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ

พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน

ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด

ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น

เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน

หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้

เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน

สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง

ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง

ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีคนผู้พร้อมเพรียงกัน

เพลิดเพลินคนผู้พร้อมเพรียงกัน

กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ

กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ

เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ

พูดถูกกาล พูดจริง พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม

พูดเป็นวินัย พูดมีหลัก มีที่อ้าง มีที่สุด

ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          ๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม.

          ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี

งดเว้นการฉันในเวลาวิกาล.

          ๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ

ขับร้อง ประโคมดนตรี

และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

          ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ

และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม

และเครื่องประเทืองผิว

อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

          ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอน

บนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

          ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

          ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

          ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรี และกุมารี.

          ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสี และทาส.

          ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะ และแกะ.

          ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่ และสุกร.

          ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

          ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นา และที่ดิน.

          ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับใช้.

๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.

          ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง

การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

          ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง

และการตลบตะแลง.

          ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ

การตีชิง การปล้น และกรรโชก

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

 

จบจุลศีล

 

มัชฌิมศีล

 

          (๑๐๔) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคาม และภูตคาม

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้

คือพืชเกิดแต่

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล

พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๐๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ

สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน

สะสมที่นอน สะสมของหอม สะสมอามิส

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๐๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ

การฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคม มหรสพ มีการรำเป็นต้น

การเล่านิยาย การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี

การเล่นตีกลอง ฉากบ้านเมืองที่สวยงาม

การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง

การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ

ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา

รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ

การตรวจพล การจัดกระบวนทัพ กองทัพ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

          (๑๐๗) ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนัน

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เช่นอย่างสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังขวนขวายเล่นการพนัน

อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ

เล่นหมากรุกแถวละ ๘ ตา แถวละ ๑๐ ตา

เล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว

เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสกา

เล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อย ๆ เล่นหกคะเมน

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ

เล่นธนูน้อย ๆ เล่นเขียนทายกัน

เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๐๘) ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงให้เห็นปานนี้ คือ

เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย

ผ้าโกเชาว์ขนยาว เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย

เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว

เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น

เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะและเสือเป็นต้น

เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว

เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทอง

และเครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน  ๑๖ คน

เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ

เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะ อันมีขนอ่อนนุ่ม

เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด

เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้าง

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๐๙) ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการ

ประดับตกแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังขวนขวายประกอบการประดับตกแต่งร่างกาย

อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ

อบตัวไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก

แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก

ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา

ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร

ติดกรอบหน้า ปักปิ่น

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ใช้พัดวาลวีชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๐) ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ

พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์

เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ

เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม

เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร

เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ

เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว

เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล

เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๑) ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวคำแก่งแย่งกัน

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่า

ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง

ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร

ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก

ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์

คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง

คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน

ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมา ผันแปรไปแล้ว

ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว

ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย

มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๒) ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรม และการรับ

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังขวนขวายประกอบทูตกรรม

และการรับใช้เห็นปานนี้ คือ

รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์

กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่า

ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น

ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

       (๑๑๓) ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง

และการพูดเลียบเคียง

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม

พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

 

จบมัชฌิมศีล

 

มหาศีล

 

       (๑๑๔) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่าเป็นต้น

ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า

ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน

ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ

ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ

ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ

ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ

ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก

เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมงป่อง

เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก

เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ

เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

          (๑๑๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า

ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะศาสตรา

ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร

ทายลักษณะธนู ทายลักษณะอาวุธ

ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ

ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะกุมารี

ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี

ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะม้า

ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ

ทายลักษณะโค ทายลักษณะแพะ

ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่

ทายลักษณะนกกระทา ทายลักษณะเหี้ย

ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ดูฤกษ์ยาตราทัพ ว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก

พระราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย

พระราชาภายนอกจักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย

พระราชาภายในจักมีชัย พระราชาภายนอกจักปราชัย

พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายในจักปราชัย

พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย

เพราะเหตุนี้ ๆ

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๗) ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์บางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

พยากรณ์ว่าจักมีจันทรคราส

จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินถูกทาง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง

ดาวนักษัตรจักเดินถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง

จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมีแผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักมัวหมอง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง

จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

นักษัตรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้

มีอุกกาบาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้

แผ่นดินไหวจักมีผลเป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตกจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผลเป็นอย่างนี้

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็นอย่างนี้

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๑๘) ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง

จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษาหาได้ยาก

จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรคมิได้

หรือนับคะแนนคำนวณ

นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

       (๑๑๙) ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ

โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล

ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง

ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์

ดูโชคดี ดูเคราะห์ ให้ยาผดุงครรภ์

ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง

ร่ายมนต์ให้มือสั่น ร่ายมนต์ให้หูไม่ได้ยินเสียง

เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว

เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์

บวงสรวงท้าวมหาพรหม

ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๒๐) ๗.  ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก

ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว

ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ

ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี

สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน

ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย

ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่

พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ

ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย

ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง

ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู

ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยา

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา

ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ชะแผล

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

          (๑๒๑) มหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เลย

เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์

ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะราชศัตรูนั้น

มหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล

สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว

ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ

เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้

ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน

มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.

 

จบมหาศีล

 

http://www.tripitaka91.com/11-309-8.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------------

 

พระจัดการเงินก็ผิด

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/864-3-869

 

เล่ม ๓ หน้า ๘๖๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๘-๘๑๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท

 

          ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า

กหาปณะเหล่านี้พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า

ท่านจงนำผ้ามาด้วยกหาปณะเท่านี้,

จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้

ด้วยความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการกหาปณะ.

          ถ้าพวกชาวนานำข้าวเปลือกมากล่าวว่า

ข้าวเปลือกนี้ พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า

พวกท่านจงนำเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้

มาด้วยข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะเฉพาะแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น.

เพราะเหตุไร ?

เพราะภิกษุจัดการข้าวเปลือก.

 

http://www.tripitaka91.com/3-869-8.html

 

----------------------------------------------------------------------------------------------

 

ถ้าพระนำเงินไปซื้อสิ่งของต่างๆ

หรือนำไปสร้างสถานที่ต่างๆ ก็ผิดเพิ่มขึ้นอีก

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/442-3-957

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๕๗-๙๗๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐๓-๙๑๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

โกสิยวรรค  สิกขาบทที่  ๙

เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 

 

          [๑๐๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่

ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี

ครั้งนั้นพระฉัพพัคคีย์ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ

ชาวบ้านพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า

ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร

จึงได้ถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ

เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า

          ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน

โพนทะนาอยู่ บรรดาผู้ที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ

มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา

ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า

ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ เล่า

แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

 

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

 

          ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์

ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น

แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข่าวว่า พวกเธอถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ

มีประการต่าง ๆ  จริงหรือ

          พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

 

ทรงติเตียน

 

          พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า

ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย

การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เหมาะ

ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ

ไฉนพวกเธอจึงได้ถึงการซื้อขายด้วยรูปิยะ มีประการต่าง ๆ เล่า

การกระทำของพวกเธอนั่น

ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว

โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น

เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส

และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

 

ทรงบัญญัติสิกขาบท

 

          ครั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์โดยอเนกปริยาย ดังนี้แล้ว

ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ

ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน

ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย

ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ

ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส

การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย

ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น

ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย

แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย

อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ

เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑

เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑

เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑

เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑

เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑

เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑

เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑

เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑

เพื่อถือตามพระวินัย ๑

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-

 

พระบัญญัติ

 

๓๘. ๙.  อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะ

มีประการต่าง ๆ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

 

เรื่องพระฉัพพัคคีย์  จบ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สิกขาบทวิภังค์

 

          [๑๑๐] บทว่า  อนึ่ง...ใด  ความว่า ผู้ใด คือ

ผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด

มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด

มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด

เป็นเถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า  อนึ่ง...ใด. 

          บทว่า  ภิกษุ  ความว่า

ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า ทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว

ชื่อว่า ภิกษุ โดยสมญา

ชื่อว่า ภิกษุ โดยปฏิญญา

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นเอหิภิกษุ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้เจริญ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า มีสารธรรม

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นพระเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ  เพราะอรรถว่า  เป็นพระอเสขะ

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันสงฆ์พร้อมเพรียงกัน

อุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบควรแก่ฐานะ

บรรดาภิกษุเหล่านั้น  ภิกษุที่สงฆ์พร้อมเพรียงกันอุปสมบท

ให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ

นี้ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้ 

          ที่ชื่อว่า  มีประการต่างๆ  คือ

เป็นรูปพรรณบ้าง ไม่เป็นรูปพรรณบ้าง

เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณบ้าง

          ที่ชื่อว่า  เป็นทั้งรูปพรรณ  ได้แก่

เครื่องประดับศีรษะ เครื่องประดับคอ

เครื่องประดับมือ เครื่องประดับเท้า เครื่องประดับสะเอว.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ที่ชื่อว่า  ไม่เป็นรูปพรรณ  คือที่เรียกกันว่าเป็นแท่ง

          ที่ชื่อว่า  เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ  ได้แก่ ของ ๒ อย่างนั้น

          ที่ชื่อว่า  รูปิยะ  ได้แก่

ทองคำ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

          บทว่า  ถึงความซื้อขาย  คือ

เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย

          เอาของที่เป็นรูปพรรณซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่ยังไม่เป็นรูปพรรณ ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่เป็นรูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ ซื้อของที่มิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          เอาของที่เป็นทั้งรูปพรรณและมิใช่รูปพรรณ

ซื้อของที่เป็นทั้งรูปพรรณเละมิใช่รูปพรรณเป็นนิสสัคคีย์

          ของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ ซึ่งเป็นนิสสัคคีย์นั้น

ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลภิกษุพึงเสียสละของนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีเสียสละของที่ซื้อขายด้วยรูปิยะ

 

          ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า

กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษากว่า

นั่งกระโหย่งเท้าประณมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า:-

          ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่าง ๆ

ของสิ่งนี้ของข้าพเจ้า เป็นของจำจะสละ

ข้าพเจ้าสละของสิ่งนี้แก่สงฆ์

          ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ

ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงรับอาบัติ

ถ้าคนทำการวัด หรืออุบาสกเดินมาในสถานที่เสียสละนั้น

พึงบอกเขาว่า

ท่านจงรู้ของสิ่งนี้

ถ้าเขาถามว่า

จะให้ผมนำของสิ่งนี้ไปหาอะไรมา

อย่าบอกว่า จงนำของสิ่งนี้หรือของสิ่งนี้มา

ควรบอกแต่ของที่เป็นกัปปิยะ เช่น

เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย

ถ้าเขานำของสิ่งนั้นไปแลกของที่เป็นกัปปิยะมาถวาย

เว้นภิกษุผู้ซื้อขายด้วยรูปิยะ

ภิกษุนอกนั้นฉันได้ทุกรูป

ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี

ถ้าไม่ได้ พึงบอกเขาว่า โปรดช่วยทิ้งของสิ่งนี้

ถ้าเขาทิ้งให้ นั่นเป็นการดี

ถ้าเขาไม่ทิ้งให้

พึงสมมติภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

องค์ ๕ ของภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          องค์ ๕ นั้น คือ

๑. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะความชอบพอ

๒. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะเกลียดชัง

๓. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะงมงาย

๔. ไม่ถึงความลำเอียงเพราะกลัว และ

๕. รู้จักว่าทำอย่างไรเป็นอันทิ้ง หรือไม่เป็นอันทิ้ง

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แลสงฆ์พึงสมมติภิกษุนั้น อย่างนี้:-

 

วิธีสมมติภิกษุผู้ทิ้งรูปิยะ

 

          พึงขอภิกษุให้รับตกลงก่อน

ครั้นแล้วภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ

พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-

 

คำสมมติ

 

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว

สงฆ์พึงสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ นี้เป็นญัตติ

          ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า

สงฆ์สมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

การสมมติภิกษุมีชื่อนี้ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ

ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง

ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด

          ภิกษุมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะแล้ว

ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง

ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้

          ภิกษุผู้รับสมมติแล้วนั้น

พึงทิ้งอย่าหมายที่ตก

ถ้าทิ้งหมายที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บทภาชนีย์

 

          [๑๑๑] รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 

ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคีย์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

 

ทุกกฏ

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่าเป็นรูปิยะ... ต้องอาบัติทุกกฏ

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ไม่ต้องอาบัติ

 

          มิใช่รูปิยะ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ... ไม่ต้องอาบัติ

 

อนาปัตติวาร

 

          [๑๑๒] ภิกษุวิกลจริต ๑

ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑

ไม่ต้องอาบัติแล.

 

โกสิยวรรค  สิกขาบทที่  ๙  จบ

 

โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๙

พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท

 

          รูปิยสัพโยหารสิกขาบทว่า  เตน   สมเยน  เป็นต้น

ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไป:-

ในรูปิยสัพโยหารสิกขาบทนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

          บทว่า  นานปฺปการก  ได้แก่ มีประการมิใช่น้อย

ด้วยอำนาจรูปิยะที่ทำ (เป็นรูปภัณฑ์)

และมิได้ทำ (เป็นรูปภัณฑ์) เป็นต้น .

          บทว่า  รูปิยสพฺโยหาร  ได้แก่

การแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงิน.

          บทว่า  สมาปชฺชนฺติ  มีความว่า

พวกภิกษุฉัพพัคคีย์มองไม่เห็นโทษ

ในการแลกเปลี่ยนด้วยทองและเงินที่ตนรับไว้แล้ว

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการรับอย่างเดียว

จึงกระทำ (การแลกเปลี่ยนด้วยรูปิยะ).

          ในคำว่า  สีสุปค  เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

ทองเงินรูปภัณฑ์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ที่ชื่อว่าสีสูปคะ เพราะอรรถว่า ประดับศีรษะ.

ก็ในคัมภีร์ทั้งหลายเขียนไว้ว่า สีสูปก ก็มี.

คำว่า  สีสูปก  นี้ เป็นชื่อของเครื่องประดับศีรษะชนิดใดชนิดหนึ่ง.

ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

          ในบทว่า  กเตน   กต  เป็นต้นนี้

บัณฑิตพึงทราบการซื้อขาย

ด้วยรูปิยะล้วน ๆ เท่านั้น.

          ข้าพเจ้า จักกล่าววินิจฉัยในบทว่า  รูปิเย รูปิยสญี  เป็นต้นต่อไป:-

บรรดาวัตถุที่กล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน

เมื่อภิกษุซื้อขายนิสสัคคิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทก่อน

ในเพราะการรับมูลค่า,

ในเพราะการซื้อขายของอื่น ๆ

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยสิกขาบทนี้แล.

แต่เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุ

หรือกัปปิยวัตถุด้วยนิสสัคคิยวัตถุ

ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.

 

[ว่าด้วยการซื้อขายรูปิยะด้วยรูปิยะเป็นต้น]

 

          จริงอยู่ ผู้ศึกษาพึงทราบติกะว่า

ภิกษุมีความสำคัญในรูปิยะว่าเป็นรูปิยะ

ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ เป็นต้น

นี้ เป็นอีกติกะหนึ่ง ซึ่งแม้มิได้ตรัสไว้

เพราะอนุโลมแก่ติกะที่สองที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่มิใช่รูปิยะว่าเป็นรูปิยะ

ซื้อขายรูปิยะ เป็นต้นนี้.

แท้จริง ภิกษุซื้อขายรูปิยะของผู้อื่น

ด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะของตนก็ดี

ซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะของผู้อื่นด้วยรูปิยะของตนก็ดี

แม้โดยการซื้อขายทั้งสองประการ

ก็จัดเป็นทำการซื้อขายด้วยรูปิยะเหมือนกัน.

เพราะฉะนั้น ในบาลี จึงตรัสไว้ติกะเดียวเท่านั้น

ในฝ่ายรูปิยะข้างเดียวฉะนี้แล.

          ก็เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์

ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็น

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อน

ในเพราะการรับมูลค่า.

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยสิกขาบทนี้

ในเพราะแลกเปลี่ยนในภายหลัง

เพราะซื้อขายของหนัก.

เมื่อซื้อขายทุกกฎวัตถุนั่นแหละ หรือกัปปิยวัตถุ

ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทก่อน

ในเพราะการรับมูลค่า,

เป็นทุกกฎเช่นกันด้วยสิกขาบทนี้

แม้ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง.

เพราะเหตุไร ?

เพราะซื้อขายด้วยอกัปปิยวัตถุ.

          ส่วนในอรรถกถาอันธกะ ท่านกล่าวว่า

ถ้าภิกษุถึงการซื้อขายเป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์

คำนั้น ท่านกล่าวไว้ไม่ชอบ.

เพราะเหตุไร ?

เพราะชื่อว่าการซื้อขาย

นอกจากการให้และการรับ ไม่มี.

และกยวิกกยสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา

การแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุด้วยกัปปิยวัตถุเท่านั้น.

ก็แลการแลกเปลี่ยนนั้นนอกจากพวกสหธรรมิก.

          สิกขาบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการซื้อขายรูปิยะ

และสิ่งมิใช่รูปิยะด้วยรูปิยะ

และการซื้อขายรูปิยะด้วยสิ่งมิใช่รูปิยะ,

ส่วนการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎด้วยวัตถุแห่งทุกกฎ

มิได้ตรัสไว้ในบาลีในสิกขาบทนี้ (และ)

มิได้ตรัสไว้ในบาลีในกยวิกกยสิกขาบทนั้นเลย.

ก็ในการซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎ ด้วยวัตถุแห่งทุกกฎนี้

ไม่ควรจะ (เป็นอนาบัติ).

เพราะฉะนั้น พวกอาจารย์ผู้รู้พระประสงค์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้กล่าวคำว่า ในเพราะรับวัตถุแห่งทุกกฏ เป็นทุกกฏ ฉันใด,

แม้ในเพราะซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎนั้น

ด้วยวัตถุแห่งทุกกฏนั้นนั่นแล เป็นทุกกฎ

ก็ชอบแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน.

          อนึ่ง เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุนิสสัคคีย์

ด้วยกัปปิยวัตถุ เป็นอนาบัติ

ด้วยสิกขาบทก่อนในเพราะการรับมูลค่า,

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วย

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สิกขาบทนี้ ในเพราะแลกเปลี่ยนภายหลัง.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งมิใช่รูปิยะว่าไม่ใช่รูปิยะ

ซื้อขายรูปิยะ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

เมื่อภิกษุซื้อขายวัตถุแห่งทุกกฎ

ด้วยกัปปิยวัตถุนั้นนั่นแหละ ไม่เป็นอาบัติ

เหมือนอย่างนั้น ในเพราะการรับมูลค่า,

เป็นทุกกฎด้วยสิกขาบทนี้

ในเพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.

เพราะเหตุไร ?

เพราะซื้อขายสิ่งเป็นอกัปปิยะ.

          อนึ่ง เมื่อภิกษุแลกเปลี่ยนกัปปิยวัตถุ ด้วยกัปปิยวัตถุ

นอกจากพวกสหธรรมิก ไม่เป็นอาบัติ

ด้วยสิกขาบทก่อน ในเพราะการรับมูลค่า.

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ด้วยวิกกยสิกขาบทข้างหน้า

เพราะการแลกเปลี่ยนภายหลัง.

เมื่อภิกษุถือเอาพ้นการซื้อขายไป ไม่เป็นอาบัติ

แม้โดยสิกขาบทข้างหน้า.

(แต่) เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้ประกอบการหาผลกำไร.

 

[อธิบายปัตตจตุกกะเป็นอุทาหรณ์]

 

          อนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบปัตตจตุกกะนี้

อันแสดงถึงความที่รูปิยสัพโยหารสิกขาบทนี้หนัก.

ความพิสดารว่า

ภิกษุใด รับเอารูปิยะ

แล้วจ้างให้ขุดแร่เหล็กขึ้นด้วยรูปิยะนั้น,

ให้ช่างเหล็กถลุงแร่เหล็กนั้น

แล้วให้ทำบาตรด้วยโลหะนั้น.

บาตรนี้ ชื่อว่า เป็นมหาอกัปปิยะ

ภิกษุนั้นไม่อาจทำให้เป็นกัปปิยะได้ด้วยอุบายไร ๆ.

ก็ถ้าว่า ทำลายบาตรนั้นแล้วให้ช่างทำกระถาง.

แม้กระถางนั้นก็เป็นอกัปปิยะ.

ให้กระทำมีด

แม้ไม้สีฟันที่ตัดด้วยมีดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.

ให้กระทำเบ็ด

แม้ปลาที่เขาให้ตายด้วยเบ็ดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ.

ภิกษุให้ช่างเผาตัวมีดให้ร้อนแล้ว

แช่น้ำ หรือนมสดให้ร้อน.

แม้น้ำและนมสดนั้น ก็เป็นอกัปปิยะเช่นกัน.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๖๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า

ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น,

แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ

ไม่สมควรแม้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕.

แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้.

จริงอยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้

ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า

และเมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร.

ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์

แล้วรับเอาไปใช้สอยสมควรอยู่.

          ฝ่ายภิกษุใด ให้รับเอารูปิยะไว้แล้ว

ไปยังตระกูลช่างเหล็กกับด้วยกัปปิยการก

เห็นบาตรแล้วพูดว่า บาตรนี้ เราชอบใจ.

และกัปปิยการกให้รูปิยะนั้นแล้ว ให้ช่างเหล็กตกลง.

แม้บาตรใบนี้ อันภิกษุนั้นถือเอาโดยกัปปิยโวหาร

เป็นเช่นกับบาตรใบที่ ๒ นั่นเอง

จัด เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน

เพราะภิกษุรับมูลค่า.

          ถามว่า เพราะเหตุไร

จึงไม่ควรแก่สหธรรมิกที่เหลือ ?

          แก้ว่า เพราะไม่เสียสละมูลค่า.

          อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก

พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า

ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า

เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้แล้วได้ถือเอาไป.

บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ,

แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.

          ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.

ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๗๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก

ก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน.

พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว

ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ.

ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูลแห่งช่างเหล็ก

พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้,

และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว

ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง.

บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค

แม้แห่งพระพุทธทั้งหลาย.

          สองบทว่า  อรูปิเย  รูปิยสญี  ได้แก่

มีความสำคัญในทองเหลือง เป็นต้น ว่าเป็นทองคำเป็นต้น.

          สองบทว่า  อาปตฺติ  ทุกฺกฏสฺส  มีความว่า

ถ้าภิกษุซื้อขายสิ่งที่มิใช่รูปิยะ.. ด้วยสิ่งที่มิใช่รูปิยะ

ซึ่งมีความสำคัญว่าเป็นรูปิยะนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ.

ในภิกษุผู้มีความสงสัย ก็มีนัยอย่างนี้.

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุมีความสำคัญว่ามิใช่รูปิยะ

แม้กระทำการซื้อขาย กับด้วย สหธรรมิก ๕ ว่า

ท่านจงถือเอาสิ่งนี้แล้วให้สิ่งนี้.

คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

          สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา

โนสัญญาวิโมกข์ เป็นอจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ

กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.

 

รูปิยสัพโยหาร สิกขาบทที่ ๙ จบ

 

http://www.tripitaka91.com/3-957-10.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------

 

ปัจจัยที่ได้จากเงินที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/865-3-948

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๘-๙๕๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๕-๘๙๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ โกสิยวรรคที่ ๒ สิกขาบทที่ ๘

พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

          ในคำว่า  สงฺฆมชฺเฌ นิสฺสชฺชิตพฺพํ  นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า

พึงสละแก่สงฆ์ หรือแก่คณะ หรือแก่บุคคล

ก็เพราะธรรมดาว่ารูปิยะเป็นอกัปปิยะ (เป็นของไม่สมควร).

          อนึ่ง เพราะรูปิยะนั้น เป็นเพียงแต่ภิกษุรับไว้เท่านั้น

เธอไม่ได้จ่ายหากัปปิยภัณฑ์อะไรด้วยรูปิยะนั้น;

ฉะนั้น เพื่อทรงแสดงการใช้สอยโดยอุบาย

จึงตรัสว่า พึงสละในท่ามกลางแห่งสงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ข้อว่า  กปฺปิยํ อาจิกฺขิตพฺพํ สปฺปิ วา  มีความว่า

พึงบอกอย่างนี้ว่า อุบาสก เนยใส หรือน้ำมัน ย่อมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย.

 

[ปัจจัยที่ได้จากรูปิยะที่ภิกษุรับ ไม่ควรแก่เธอผู้รับ]

 

          ข้อว่า  รูปิยปฏิคฺคาหกํ   ฐเปตฺวา  สพฺเพเหว  ปริภุญฺชิตพฺพํ  มีความว่า

ภิกษุทั้งหมดพึงแจกกันบริโภค.

ภิกษุผู้รับรูปิยะไม่พึงรับส่วนแบ่ง.

แม้ได้ส่วนที่ถึงแก่พวกภิกษุอื่น

หรืออารามิกชนแล้ว จะบริโภคก็ไม่ควร.

โดยที่สุด เนยใส หรือน้ำมันนั้น อันดิรัจฉานมีลิงเป็นต้น

ลักเอาไปจากส่วนแบ่งนั้น วางไว้ในป่า

หรือที่หล่นจากมือของสัตว์เหล่านั้น

ยังเป็นของอันดิรัจฉานหวงแหนก็ดี

เป็นของบังสุกุลก็ดี ไม่สมควรทั้งนั้น.

แม้จะอบเสนาสนะ

ด้วยน้ำอ้อยที่นำมาจากส่วนแบ่งนั้นก็ไม่ควร.

จะตามประทีปด้วยเนยใส หรือน้ำมันแล้วนอนก็ดี

กระทำกสิณบริกรรมก็ดี สอนหนังสือก็ดี

ด้วยแสงสว่างแห่งประทีป ไม่ควร.

อนึ่ง จะทาแผลที่ร่างกายด้วยน้ำมัน

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

จากส่วนแบ่งนั้น ก็ไม่ควรเหมือนกัน.

คนทั้งหลาย เอาวัตถุนั้น

จ่ายหาเตียงและตั่งเป็นต้นก็ดี

สร้างอุโบสถาคารก็ดี สร้างโรงฉันก็ดี

จะบริโภคใช้สอย ก็ไม่ควร.

แม้ร่มเงา (แห่งโรงฉัน เป็นต้น)

อันแผ่ไปอยู่ตามเขตของเรือน ก็ไม่ควร.

ร่มเงาที่เลยเขตไป ควรอยู่ เพราะเป็นของจรมา.

จะเดินไปตามทางก็ดี สะพานก็ดี เรือก็ดี แพก็ดี

ที่เขาจำหน่ายวัตถุนั้นสร้างไว้ไม่ควร.

จะดื่มหรือใช้สอยน้ำที่เอ่อขึ้นเต็มปริ่มสระโบกขรณี

ซึ่งเขาให้ขุดด้วยวัตถุนั้นก็ไม่ควร.

แต่ว่า เมื่อน้ำภายใน (สระ) ไม่มี น้ำที่ไหลมาใหม่ หรือ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

น้ำฝนไหลเข้าไป สมควรอยู่.

แม้น้ำที่มาใหม่ซึ่งซื้อมาพร้อมกับสระโบกขรณี

ที่ซื้อมา (ด้วยวัตถุนั้น) ก็ไม่ควร.

       สงฆ์ตั้งวัตถุนั้นเป็นของฝาก (เก็บดอกผล) บริโภคปัจจัย

แม้ปัจจัยเหล่านั้น ก็ไม่ควรแก่เธอ.

แม้อารามซึ่งเป็นที่อันสงฆ์รับไว้ (ด้วยวัตถุนั้น)

ก็ไม่ควรเพื่อบริโภคใช้สอย.

ถ้าพื้นดินก็ดี พืชก็ดี เป็นอกัปปิยะ,

จะใช้สอยพื้นดิน จะบริโภคผลไม้ ไม่ควรทั้งนั้น.

ถ้าภิกษุซื้อพื้นดินอย่างเดียว เพาะปลูกพืชอื่น,

จะบริโภคผล ควรอยู่.

ถ้าพืชภิกษุซื้อมาปลูกลงในพื้นดินอันเป็นกัปปิยะ

จะบริโภคผล ไม่ควร.

จะนั่งหรือนอนบนพื้นดิน ควรอยู่.

          ข้อว่า  สเจ โส ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

เขาโยนทิ้งไป ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง.

ถ้าแม้นเขาไม่ทิ้ง หรือถือเอาไปเสียเอง,

ไม่พึงห้ามเขา

          ข้อว่า  โน เจ ฉฑฺเฑติ  มีความว่า

ถ้าเขาไม่ถือเอาไป และไม่ทิ้งให้ หลีกไปตามความปรารถนา

ด้วยใส่ใจว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยการขวนขวายนี้,

ลำดับนั้น สงฆ์พึงสมมติภิกษุผู้มีลักษณะ

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ให้เป็นผู้ทิ้งรูปิยะ.

 

http://www.tripitaka91.com/3-948-17.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

เมื่อพระรับเงินแล้วไม่แก้ไขเมื่อบริโภคอาหารของชาวบ้าน 

ก็จะบริโภคอย่างขโมย อย่างอลัชชีบริโภค

ซึ่งเมื่อพระอื่นบริโภคร่วมกับอลัชชีทั้งที่รู้อยู่

ก็จะเป็นอลัชชีไปด้วยต้องอาบัติเพิ่มไปได้อีก

จากพระรับเงินแล้วไม่แก้ไขที่อยู่ในวัดเพียงรูปเดียว

ก็จะทำให้พระรูปอื่นภายในวัดต้องอาบัติไปด้วยได้

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/957-3-951

 

[อธิบายการบริโภคปัจจัยมี ๔ อย่าง]

 

          จริงอยู่ การบริโภค มี ๔ อย่าง คือ

ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย) ๑

อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้) ๑

ทายัชชบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก) ๑

สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) ๑.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น

การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีล

ซึ่งนั่งบริโภคอยู่แม้ในท่ามกลางสงฆ์

ชื่อว่า ไถยบริโภค.

การบริโภคไม่พิจารณาของ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค.

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณาจีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย

บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน.

เมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน

ยามต้น ยามกลาง และยามสุดท้าย.

หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้น, ย่อมตั้งอยู่ในฐานะบริโภคอย่างเป็นหนี้.

แม้เสนาสนะ ก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย.

ความมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ทำสติในการรับ

ไม่ทำในการบริโภคอย่างเดียว.

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลาบริโภค.

          ก็สุทธิมี ๔ อย่าง คือ

เทสนาสุทธิ (หมดจดด้วยการแสดง) ๑

สังวรสุทธิ (หมดจดด้วยสังวร) ๑

ปริยิฎฐิสุทธิ (หมดจดด้วยการแสวงหา) ๑

ปัจจเวกขณสุทธิ (หมดจดด้วยการพิจารณา) ๑.

บรรดาสุทธิ ๔ อย่างนั้น

ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อว่าเทสนาสุทธิ.

ก็ปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดง.

อินทรียสังวรศีล ชื่อว่าสังวรสุทธิ.

ก็อินทรียสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่า สังวรสุทธิ

เพราะบริสุทธิ์ด้วยสังวร คือ การตั้งจิตอธิษฐานว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีกเท่านั้น.

อาชีวปริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริยิฎฐิสุทธิ.

ก็อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปริยิฎฐิสุทธิ

เพราะเป็นความบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหาของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้ว

ยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ.

ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ.

จริงอยู่ ปัจจัยบริโภคสันนิสสิตศีลนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะ

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

บริสุทธิ์ด้วยการพิจารณาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า

ภิกษุย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร ดังนี้.

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า

แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในการบริโภค.

การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค.

จริงอยู่ พระเสขะ ๗ จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า;

เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น.

          ถามว่า ก็พระเสขะเหล่านั้น

บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?

          ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง.

แต่ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้

เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็ธรรมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในการบริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

          การบริโภค ของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค.

จริงอยู่พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความเป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว.

บรรดาการบริโภคทั้ง ๔ นี้

สามีบริโภคและทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก.

อิณบริโภค ไม่สมควรเลย.

ในไถยบริโภค ไม่มีคำจะพูดถึงเลย.

 

[อธิบายว่าการบริโภคอีก ๔ อย่าง]

 

การบริโภคแม้อื่นอีก ๔ คือ

ลัชชีบริโภค อลัชชีบริโภค ธัมมิยบริโภค อธัมมิยบริโภค.

บรรดาการบริโภค ๔ อย่างนั้น การบริโภค

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของอลัชชีภิกษุร่วมกับลัชชีภิกษุ สมควร. ไม่พึงปรับอาบัติเธอ.

การบริโภคของลัชชีภิกษุร่วมกับอลัชชีภิกษุ ย่อมควรตลอดเวลาที่เธอยังไม่รู้.

เพราะว่าธรรมดาภิกษุผู้เป็นอลัชชีมาแต่แรกไม่มี.

เพราะฉะนั้น พึงว่ากล่าวเธอในเวลาทราบว่าเธอเป็นอลัชชีว่า

ท่านทำการละเมิดในกายทวารและวจีทวาร,

การทำนั้น ไม่สมควรเลย, ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้.

ถ้าเธอไม่เอื้อเฟื้อยังคงกระทำอยู่อีก, ถ้ายังขืนทำการบริโภคร่วมกับอลัชชีนั้น,

แม้เธอก็กลายเป็นอลัชชีไปด้วย.

ฝ่ายภิกษุใด กระทำการบริโภคร่วมกับอลัชชี ผู้ซึ่งเป็นภาระของตน,

แม้ภิกษุนั้น อันภิกษุอื่นเห็นพึงห้าม,

ถ้าเธอไม่ยอมงดเว้น, ภิกษุแม้รูปนี้ ก็เป็นอลัชชีเหมือนกัน.

อลัชชีภิกษุแม้รูปเดียว

ย่อมทำให้ภิกษุเป็นอลัชชีได้แม้ตั้งร้อยรูปอย่างนี้.

ชื่อว่าอาบัติในการบริโภคร่วมกันระหว่างอลัชชีกับอลัชชี ย่อมไม่มี.

การบริโภคร่วมระหว่างลัชชีกับลัชชี

เป็นเช่นเดียวกับขัตติยกุมารสองพระองค์เสวยร่วมกันในสุวรรณภาชน์.

การบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรม

ผู้ศึกษาพึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัจจัยนั่นแล.

          ในการบริโภคเป็นธรรม และไม่เป็นธรรมนั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

          ถ้าแม้บุคคลก็เป็นอลัชชี แม้บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, น่ารังเกียจทั้ง ๒ ฝ่าย.

บุคคลเป็นอลัชชี แต่บิณฑบาตเป็นธรรม,

ภิกษุทั้งหลาย รังเกียจบุคคลแล้ว ไม่พึงรับบิณฑบาต.

แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า

คนทุศีล ได้อุเทศภัตเป็นต้นจากสงฆ์แล้ว ถวายแก่สงฆ์นั่นแล.

อุเทศภัตเป็นต้นนี้ ย่อมควร เพราะเป็นไปตามที่เขาถวายนั่นเอง.

บุคคลเป็น

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ลัชชี บิณฑบาตไม่เป็นธรรม, บิณฑบาตน่ารังเกียจ ไม่ควรรับเอา.

บุคคลเป็นลัชชี แม้บิณฑบาตก็เป็นธรรม ย่อมสมควร.

 

[อธิบายการยกย่องและการบริโภคอีกอย่างละ ๒]

 

          ยังมีการยกย่อง ๒ อย่าง และการบริโภค ๒ อย่างอีก คือ

การยกย่องลัชชี ๑

การยกย่องอลัชชี ๑

ธรรมบริโภค ๑

อามิสบริโภค ๑,

ในการยกย่องและการบริโภคนั้น การยกย่องลัชชี แก่อลัชชี สมควร. เธอไม่ควรถูกปรับอาบัติ.

ก็ถ้าว่า ลัชชียกย่องอลัชชี ย่อมเชื้อเชิญด้วยอนุโมทนา

เชื้อเชิญด้วยธรรมกถา อุปถัมภ์ในสกุลทั้งหลาย,

แม้อลัชชีนอกนี้ ก็กล่าวสรรเสริญเธอในบริษัทว่า

อาจารย์ของพวกเราย่อมเป็นผู้เช่นนี้และเช่นนี้,

ภิกษุนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า

ย่อมทำพระศาสนาให้เสื่อมลง คือ ให้อันตรธานไป.

          ก็บรรดาธรรมบริโภคและอามิสบริโภค

ในบุคคลใด อามิสบริโภคสมควร, ในบุคคลนั้น แม้ธรรมบริโภค ก็สมควร.

 

http://www.tripitaka91.com/3-951-16.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“ภิกษุมหาโจร”

 

“ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น 

ด้วยอาการอย่างอื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว

ด้วยอาการแห่งคนขโมยดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น

ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ

มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว

ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก

เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม

ภิกษุผู้ทุศีลผู้ไม่สำรวมแล้ว

บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า

การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.”

 

เล่ม ๒ หน้า ๔๕๒-๔๕๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๓๒-๔๓๔ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

บางส่วนของ จตุตถปาราชิกกัณฑ์ 

 

มหาโจร ๕ จำพวก

 

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

มหาโจร ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

มหาโจร ๕ จำพวกเป็นไฉน.

          ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

มหาโจรบางคนในโลกนี้ ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า

เมื่อไรหนอ เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง

หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว

ท่องเที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน

ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ

สมัยต่อมา เขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง 

หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้ว

เที่ยวไปในคามนิคมและราชธานี

เบียดเบียนเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน

ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง

ให้ผู้อื่นเผาผลาญฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมปรารถนาอย่างนี้ว่า

เมื่อไรหนอ เราจึงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง

หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว

เที่ยวจาริกไปในคามนิคมและราชธานี

อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

สมัยต่อมา เธอเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง

หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว

เที่ยวจาริกไปในตามนิคมและราชธานี

อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง

แล้ว ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

          ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาคตประกาศแล้ว ย่อมยกตนขึ้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด

ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่

ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

          ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้

ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คือ

อาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฟูก

หมอน หม้อโลหะ อ่างโลหะ กระถางโลหะ กระทะโลหะ

มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สว่าน เถาวัลย์ ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย

หญ้าปล้อง หญ้าสามัญ ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

          ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม

อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง

นี้จัดเป็นยอดมหาโจร

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะภิกษุนั้น ฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น

ด้วยอาการแห่งคนขโมย.

 

นิคมคาถา

 

          ภิกษุใด ประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น 

ด้วยอาการอย่างอื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้น ฉันแล้ว

ด้วยอาการแห่งคนขโมยดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น

ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ

มีธรรมทรามไม่สำรวมแล้ว

ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก

เพราะกรรมทั้งหลายที่เลวทราม

ภิกษุผู้ทุศีล

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๔๕๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ผู้ไม่สำรวมแล้ว

บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟ ประเสริฐกว่า

การฉันก้อนข้าวของชาวรัฏฐะ จะประเสริฐอะไร.

 

http://www.tripitaka91.com/2-452-1.html

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ”

 

“ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ 

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเธอ

เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล”

 

เล่ม ๓๖ หน้า ๒๓๕-๒๓๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๓๓-๒๓๕ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓

 

๓. โจรสูตร

ว่าด้วยองค์แห่งมหาโจร ๕ ประการ

 

          [๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ

ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง

ย่อมทำการปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง

ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง

องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบ ๑

เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑

เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑

เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑

เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต 

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๒๓๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ

มหาโจรในโลกนี้

เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล

ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ 

มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่งหญ้าบ้าง

ที่รกชัฏแห่งต้นไม้บ้าง ฝั่งแม่น้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล

ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ 

มหาโจรในโลกนี้ ย่อมอาศัยพระราชาบ้าง

มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง

เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้

จักช่วยว่าความให้

ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น

ก็ช่วยว่าความให้แก่เขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล

ก็มหาโจรย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ 

มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา

เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล

ก็มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ 

มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว

ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า

เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพรายไปภายนอก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล

มหาโจรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล 

ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง

ย่อมปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล

ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ

ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย

เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต 

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๒๓๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

จะพึงติเตียน และย่อมประสบบาปเป็นอันมาก

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑

เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑

เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑

เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑

เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 

ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร คือ

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่สม่ำเสมอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างนี้แล

ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นมิจฉาทิฏฐิประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้แล

ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ 

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง

เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านี้

จักช่วยว่าความให้

ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ

พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น

ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล

ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ 

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า

ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา

เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเธอ

เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล

ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ 

ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหา

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต 

เล่ม ๓ - หน้าที่ ๒๓๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

สกุล (บ้านญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล

ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ

มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียนและประสบบาปเป็นอันมาก.

 

จบโจรสูตรที่ ๓ 

 

http://www.tripitaka91.com/36-235-12.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------

 

เมื่อภิกษุที่มีศีลอยู่ร่วมกับภิกษุอลัชชีก็ยังต้องอาบัติ

 

เล่ม ๖ หน้า ๓๕๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๙-๑๙๐ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

 

บางส่วนของ มหาขันธกะ

 

วิธีการให้นิสัย

 

          [๑๓๖] ก็โดยสมัยนั้นแล 

พระฉัพพัคคีย์ให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี

รูปใดให้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

วิธีการถือนิสัย

 

          สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

ไม่ช้าไม่นานเท่าไรนัก

แม้พวกเธอก็กลายเป็นพวกอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.

 

พระพุทธานุญาตให้สืบสวนก่อนถือนิสัย

 

          ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความดำริว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า

ไม่พึงให้นิสัยแก่ภิกษุพวกอลัชชี

และไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

ทำอย่างไรหนอพวกเราจึงจะรู้ว่า

เป็นภิกษุลัชชี หรืออลัชชี

แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้รอ ๔ - ๕ วัน

พอจะสืบสวนรู้ว่า ภิกษุผู้ให้นิสัยเป็นสภาคกัน.

 

http://www.tripitaka91.com/6-351-1.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

เมื่อพระรู้อยู่ว่ารับเงินต้องอาบัติได้บาป 

แต่หลอกลวงโยมว่าถวายได้ไม่เป็นอาบัติได้บุญ

เข้าข่ายฉ้อโกงได้ทรัพย์มาตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป

ต้องอาบัติปาราชิก

 

“ปาราชิกอาบัติพึงมีแก่ภิกษุ 

ผู้หลอกลวงฉ้อเอา

หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย

ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น

ด้วยอาการ ๕ อย่าง”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/909-2-12

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๒,๑๔,๓๐,๙๘,๑๐๘,๑๐๙ และ ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน)

/ หน้า ๑๑,๑๓,๒๙,๙๖-๙๗,๑๐๖,๑๐๗ และ ๒๑๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๑ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

พระอนุบัญญัติ

 

       ๒. ก. อนึ่ง ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้

ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี

พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ประหารเสียบ้าง

จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า

เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล

เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นขโมย ดังนี้

ในเพราะถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานใด

ภิกษุถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้เห็นปานนั้น

แม้ภิกษุนี้ ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.

 

http://www.tripitaka91.com/2-12-1.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          [๘๘] ที่ชื่อว่า  เห็นปานนั้น  คือ

หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี.

          บทว่า  ถือเอา  คือ ตู่ วิ่งราว ฉ้อ ยังอิริยาบถให้กำเริบ

ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย.

 

http://www.tripitaka91.com/2-14-18.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๐๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๖ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          ส่วนความประกอบอำนาจเอกภัณฑะ พึงทราบดังนี้ :-

ทาสก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งมีเจ้าของ

ภิกษุตู่เอาก็ดี ลักไปก็ดี ฉ้อไปก็ดี

ให้อิริยาบถกำเริบก็ดี ให้เคลื่อนจากฐานก็ดี

ให้ก้าวล่วงเลยที่กำหนดไปก็ดี

โดยนัยมีตู่เอา เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้ว.

นี้เป็นความประกอบด้วยอำนาจเอกภัณฑะ

ในบทว่า  อาทิเยยฺย  เป็นต้นนี้.

 

http://www.tripitaka91.com/2-108-9.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๑๐๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๐๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

[ ปัญจกะ ๕ หมวด ๆ ละ ๕ ๆ รวมเป็นอวหาร ๒๕ ]

 

          ที่ชื่อว่า ปัญจกะ ๕ คือ

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยภัณฑะต่างกันเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยภัณฑะชนิดเดียวเป็นข้อต่าง ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยอวหารที่เกิดแล้วด้วยมือของตนเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยบุพประโยคเป็นข้อต้น ๑

หมวดแห่งอวหาร ๕

ที่กำหนดด้วยการลักด้วยอาการขโมยเป็นข้อต้น ๑.

บรรดาปัญจกะทั้ง ๕ นั้น

นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ

ย่อมได้ด้วยอำนาจแห่งบทเหล่านี้ คือ

อาทิเยยฺย พึงตู่เอา ๑

หเรยฺย พึงลักไป ๑

อวหเรยฺย พึงฉ้อเอา ๑

อิริยาปถํ วิโกเปยฺย พึงยังอิริยาบถให้กำเริบ ๑

ฐานา จาเวยฺย พึงให้เคลื่อนจากฐาน ๑.

ปัญจกะทั้งสองนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัย

ดังที่ข้าพเจ้าประกอบแสดงไว้แล้วในเบื้องต้นนั่นแล.

ส่วนบทที่ ๖ ว่า

สงเกตํ วีตินาเมยฺย ( พึงให้ล่วงเลยเขตกำหนดหมาย ) นั้น

เป็นของทั่วไปแก่ปริกัปปาวหาร และนิสสัคคิยาวหาร.

เพราะฉะนั้น พึงประกอบบทที่ ๖ นั้น

เข้าด้วยอำนาจบทที่ได้อยู่ในปัญจกะที่ ๓ และที่ ๕.

นานาภัณฑปัญจกะ และเอกภัณฑปัญจกะ

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว.

 

http://www.tripitaka91.com/2-109-9.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๓๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

อาการแห่งอวหาร

อาการ ๕ อย่าง

 

          [๑๒๒]  ปาราชิกอาบัติ

พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้

ด้วยอาการ ๕ อย่างคือ

ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน ๑

ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๑

ไถยจิตปรากฏขึ้น ๑

ภิกษุลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฎ

ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย

ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ๑.

 

http://www.tripitaka91.com/2-30-15.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๒๒๖-๒๒๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๑๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

[อรรถาธิบายอวหาร ๕ อย่าง]

 

          จริงอยู่  ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง แอบทำโจรกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น

ลักทรัพย์ซึ่งมีเจ้าของ ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน

หรือหลอกลวงฉ้อเอาด้วยเครื่องตวงโกง

และกหาปณะปลอมเป็นต้น,

อวหารของภิกษุรูปนั้นนั่นแล

ผู้ถือเอาทรัพย์นั้น พึงทราบว่า เป็นเถยยาวหาร,

ฝ่ายภิกษุใด ข่มเหงผู้อื่น คือ

กดขี่เอาด้วยกำลัง,

ก็หรือขู่กรรโชก คือ แสดงภัย

ถือเอาทรัพย์เป็นของชนเหล่านั้น

เหมือนพวกโจรผู้ฆ่าเชลย ทำประทุษกรรม

มีฆ่าคนเดินทางและฆ่าชาวบ้านเป็นต้น

(และ) เหมือนอิสรชน  มีพระราชาและมหาอำมาตย์

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์

เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของพระราชาเป็นต้น

ซึ่งทำการริบเอาเรือนของผู้อื่นด้วยอำนาจความโกรธ

และใช้พลการเก็บพลี เกินกว่าพลีที่ถึงแก่ตน,

อวหารของภิกษุนั้น ผู้ถือเอาอย่างนั้น

พึงทราบว่า เป็นปสัยหาวหาร

ส่วนอวหารของภิกษุผู้กำหนดหมายไว้แล้วถือเอา

ท่านเรียกว่า ปริกัปปาวหาร.

ปริกัปปาวหารนั้น มี ๒  อย่าง

เนื่องด้วยกำหนดหมายสิ่งของ และกำหนดหมายโอกาส.

 

http://www.tripitaka91.com/2-226-15.html

 

เล่ม ๒ หน้า ๙๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๖-๙๗ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒

 

          สองบทว่า  ปญฺจมาสโก ปาโท  ความว่า

ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ ๒๐ มาสก เป็นหนึ่งกหาปณะ ;

เพราะฉะนั้น ห้ามาสกจึงเป็นหนึ่งบาท.

ด้วยลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปณะ

พึงทราบว่า เป็นบาทหนึ่ง ในชนบททั้งปวง.

ก็บาทนั้นแล พึงทราบด้วยอำนาจแห่งนีลกหาปณะของโบราณ

ไม่พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกหาปณะ

นอกนี้ มีรุทระทามกะกหาปณะเป็นต้น.

 

[ พระพุทธเจ้าทุกองค์ปรับโทษถึงที่สุดเพียงบาทเดียว ]

 

       แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว

ก็ทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น

ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีในอนาคต

ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาทนั้น.

จริงอยู่ ความเป็นต่างกัน ในวัตถุปาราชิกหรือในปาราชิก

ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมไม่มี.

วัตถุแห่งปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ

ปาราชิก ๔ ก็เหมือนกันนี้แหละ ไม่มีหย่อนหรือยิ่งกว่านี้.

เพราะเหตุนั้น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพระธนิยะแล้ว

เมื่อจะทรงบัญญัติทุติยปาราชิกด้วยบาทนั่นเทียว

จึงตรัสคำว่า  โย ปน ภิกฺขุ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ  เป็นต้น.

 

http://www.tripitaka91.com/2-98-7.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------

 

พระรับเงินแล้วไม่แก้ไขเป็นผู้ควรเกลียด 

ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

 

“บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก 

(มีการกระทำ) ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ

มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ

แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี

แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี

เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ)

บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร ?

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่

ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี

ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

ฉันนั้นเหมือนกัน”

 

ในบทว่า  เอวเมว โข  นี้ 

 พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ.

บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนงูเรือน

ตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น

ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล

(แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น

พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถ

ไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น

เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว

พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น.

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/901-34-87

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๘๗-๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๐-๙๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

 

๗.  ชิคุจฉิตัพพสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่ควรคบและไม่ควรคบ

 

          [๔๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคล ๓ นี้ มีอยู่ในโลก

บุคคล ๓ คือใคร คือ

บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ก็มี

บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้ก็มี

บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้ก็มี

          บุคคลที่ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร  ?

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันลามก

(มีการกระทำ)ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ

มีการงานอันปกปิดไม่เป็นสมณะ แต่

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี

เป็นคนเน่าใน เปียกชื้น  รกเรื้อ (ด้วยกิเลสโทษ)

บุคคลเช่นนี้ควรเกลียด ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร ?

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว มีเพื่อนทราม

งูที่จมคูถย่อมไม่กัดก็จริงอยู่

ถึงกระนั้นมันก็ทำผู้จับให้เปื้อน ฉันใดก็ดี

ถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงของบุคคลชนิดนั้น

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันเลวฟุ้งไปว่า

เป็นคนมีมิตรชั่ว มีสหายเลว  มีเพื่อนทราม

ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น

บุคคลเช่นนั้น จึงควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

          บุคคลที่ควรเฉย ๆ เสีย ไม่ควรเสพ

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร

บุคคลลางคนในโลกนี้ เป็นคนขี้โกรธ

มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อย

ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด.

ทำความกำเริบความร้ายและความเดือดดาลให้ปรากฏ

เหมือนแผลร้ายถูกไม้หรือกระเบื้องเข้ายิ่งหนองไหล ...

เหมือนฟืนไม้ติณฑุกะถูกครูดด้วยไม้หรือกระเบื้อง

ยิ่งส่งเสียงจิจิฏะๆ ...

เหมือนหลุมคูถถูกรันด้วยไม้หรือกระเบื้องยิ่งเหม็นฉันใด

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นคนขี้โกรธ

มีความแค้นมาก ถูกเขาว่าหน่อย

ก็ขัดเคืองขึ้งเคียดเง้างอด

ทำความกำเริบความร้าย

และความเดือดดาลให้ปรากฏฉันนั้น

บุคคลเช่นนี้  ภิกษุทั้งหลาย ควรเฉย ๆ เสีย

ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร

เพราะ (เกรงว่า) เขาจะด่าเราบ้าง

จะตะเพิดเราบ้าง จะทำเราให้เสื่อมเสียบ้าง

เพราะเหตุนั้น บุคคลชนิดนี้  จึงควรเฉย ๆ เสีย ฯลฯ

          ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้เป็นอย่างไร  ?

บุคคลลางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม

บุคคลอย่างนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้

นั่นเพราะเหตุอะไร

เพราะถึงแม้ผู้คบจะไม่เอาเยี่ยงบุคคลเช่นนั้น

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๘๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

แต่ก็จะมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปว่า

เป็นคนมีมิตรดี  มีสหายดี  มีเพื่อนดี

เพราะเหตุนั้น

บุคคลอย่างนี้จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าใกล้

         นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ มีอยู่ในโลก.

         พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนิคมคาถาว่า           

                    คนผู้คบคนทราม ย่อมเสื่อม

          ส่วนคนผู้คบคนเสมอกัน ไม่เสื่อมในกาลไหนๆ

          ผู้คบคนที่ประเสริฐกว่า ย่อมเจริญเร็ว

          เพราะฉะนั้น จึงควรคบคนที่ยิ่งกว่าตน.

 

จบชิคุจฉิตัพพสูตรที่  ๗

 

อรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตร

 

          พึงทราบวินิจฉัยในชิคุจฉิตัพพสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า  ชิคุจฺฉิตพฺโพ  ความว่า

บุคคลที่ใคร  ๆ พึงรังเกียจเหมือนคูถฉะนั้น.

บทว่า  อถโข นํ  เท่ากับ  อถโข  อสฺส.

บทว่า  กิตฺติสทฺโท  คือ เสียงที่กล่าวขานกัน.

ในบทว่า  เอวเมว โข  นี้

พึงทราบข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้

          ความเป็นผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนหลุมคูถ.

บุคคลผู้ทุศีล พึงเห็นเหมือนงูเรือนตัวตกลงไปในหลุมคูถฉะนั้น

ภาวะที่บุคคลพึงจะคบหาบุคคลผู้ทุศีล (แต่) ไม่ทำตามบุคคลผู้ทุศีลนั้น

พึงเห็นเหมือนภาวะที่บุคคลถูกงูที่เขายกขึ้นจากหลุมคูถ

ไต่ขึ้นสู่ร่างกาย แต่ไม่กัดฉะนั้น

เวลาที่บุคคลคบหาผู้ทุศีล จนชื่อเสียงที่ไม่ดีระบือไปทั่ว

พึงทราบเหมือนเวลาที่เขาถูกงูตัวเปื้อนคูถแล้ว กัดเอาฉะนั้น.

บทว่า  ติณฑุกาลาตํ  ได้แก่ ดุ้นฟืนไม้มะพลับ.

บทว่า  ภิยฺโยโส  มตฺตาย  จิจิฏายติ  ความว่า

ก็ดุ้นฟืนไม้มะพลับนั้น เมื่อ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ถูกเผาตามปกติสะเก็ดจะกระเด็นหลุดออก

ส่งเสียงดัง  จิจิฏะ  จิจิฏะ.

อธิบายว่าแต่ดุ้นฟืนที่ถูกเคาะจะส่งเสียงดังกว่ามาก.

          บทว่า  เอวเมว  โข  ความว่า

บุคคลผู้มักโกรธก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

คือ แม้ตามธรรมดาของตนก็เป็นผู้ไม่สงบ ดุร้ายเที่ยวไป.

แต่ในเวลาที่ได้ฟังคำพูด (ว่ากล่าว) แม้เพียงเล็กน้อย

ก็กลับเที่ยวเกรี้ยวกราดดุร้ายยิ่งขึ้นไปอีกว่า

คนนี้ พูดอย่างนี้  ๆ กับ คนเช่นเราได้.

บทว่า  คูถกูโป  ได้แก่

หลุมที่เต็มไปด้วยคูถ หรือหลุมคูถนั่นแล.

ก็ในที่นี้ พึงทราบการเปรียบเทียบโดยนัยก่อนนั้นแล.

          บทว่า  ตสฺมา  เอวรูโป  ปุคฺคโล  อชณุเปกฺ ขิตพฺโพ น เสวิตพฺโพ  ความว่า

เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักโกรธ

เมื่อใครคบหาใกล้ชิด ก็โกรธ (เขา) เหมือนกัน

ย่อมโกรธ แม้กะบุคคลที่ด่าย้อนให้ว่า

คนผู้นี้มีประโยชน์อะไร ฉะนั้น เขาจึงเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง

ที่ทุกคนควรวางเฉย ไม่ควรเข้าไปคบหาสมาคม.

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร  ?

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า

บุคคลที่เข้าไปใกล้ไฟไหม้ฟางจนเกินไปจะร้อน

ร่างกายของเขาจะพลอยถูกไหม้ไปด้วย

บุคคลที่ถอยออกห่างมากเกินไปจะ (ไม่) ร้อน

ความหนาวของเขาก็ยังไม่หาย

ส่วนบุคคลที่ผิงไฟอยู่ในระยะพอดี

ไม่เข้าใกล้จนเกินไป (และ) ไม่ถอยออกห่างจนเกินไป

ความหนาวก็จะหาย

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มักโกรธเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง

จึงควรถูกวางเฉยเสีย โดยการวางตัวเป็นกลาง

ไม่ควรที่ใคร ๆ จะเสพ ไม่ควรที่ใคร ๆ จะคบหา

ไม่ควรที่ใคร ๆจะเข้าไปนั่งใกล้

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  กลฺยาณมิตฺโต  ได้แก่ มิตรผู้สะอาด.

บทว่า  กลฺยาณสหาโย  ได้แก่ สหายผู้สะอาด.

ที่ชื่อว่า  สหาย  ได้แก่ ผู้มีปกติไปร่วมกันและเที่ยวไปร่วมกัน.

บทว่า  กลฺยาณสมฺปวงฺโก  ได้แก่

ผู้โอนไปในกัลยาณมิตรทั้งหลาย คือ ในบุคคลผู้สะอาด

อธิบายว่า ผู้มีใจน้อมโน้มเหนี่ยวนำไปในกัลยาณมิตรนั้น.

  

จบอรรถกถาชิคุจฉิตัพพสูตรที่   ๗

 

http://www.tripitaka91.com/34-87-12.html

 

-------------------------------------------------------------------------------------------

 

ชนเหล่าใดคบหาสมาคม

ทำตามเยี่ยงอย่างพระที่รับเงินแล้วไม่แก้ไขนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูล

เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

 

“ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี

ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว

เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้

ในความมีสีทรามของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น

อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม

ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูล

เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/899-34-489

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๔๘๙-๔๙๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๐๗-๕๑๑ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร เล่ม ๑ ภาค ๓

 

๘. นวสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่เปรียบได้กับผ้าเปลือกไม้ ๓ ชนิด

 

          [๕๓๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผ้าเปลือกไม้ แม้ใหม่ก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก

แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก

แม้เก่าแล้วก็สีทราม สัมผัสหยาบ และราคาถูก

ผ้าเปลือกไม้ที่คร่ำคร่าแล้ว

เขาก็ทำเป็นผ้าเช็ดหม้อข้าวบ้าง ทิ้งเสียที่กองขยะบ้างฉันใด

       ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี

ถ้าเป็นผู้ทุศีลมีธรรมอันเลว

เรากล่าวความทุศีลมีธรรมเลวนี้

ในความมีสีทรามของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้าเปลือกไม้มีสีทรามฉะนั้น

       อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคม ทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งอันไม่เกื้อกูล

เพื่อทุกข์แก่ชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

เรากล่าวการคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่าง

ที่เป็นเหตุให้เกิดสิ่งอันไม่เกื้อกูลเกิดทุกข์นี้

ในความมีสัมผัสหยาบของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้าเปลือกไม้มีสัมผัสหยาบฉะนั้น

          อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย ... ของชนเหล่าใด

ข้อนั้น ย่อมไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น

เรากล่าวการรับปัจจัยอันไม่เป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้

ในความมีราคาถูกของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเป็นดังผ้าเปลือกไม้มีราคาถูกฉะนั้น

          อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนั้น กล่าวอะไรในท่ามกลางสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายก็กล่าวเอาว่า

ประโยชน์อะไรด้วยถ้อยคำของท่านผู้โง่เขลาอย่างท่านก็เผยอจะพูดด้วย

ภิกษุเถระนั้นโกรธน้อยใจ

ก็จะใช้ถ้อยคำชนิดที่เป็นเหตุให้สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม

(คือห้ามไม่ให้ติดต่อเกี่ยวข้องกับภิกษุทั้งหลาย)

เหมือนเขาทิ้งผ้าเปลือกไม้เก่าเสียที่กองขยะฉะนั้น

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๔๙๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง

แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง

แม้เก่าแล้วก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง

ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อรัตนะ

(คือเงินทองเพชรพลอย่อมมีค่า) บ้าง

เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม) บ้าง ฉันใด.

          ฉันนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี ภิกษุเถระก็ดี

ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี

เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้ ในความมีสีงามของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น

          อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น

ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข

ของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน

เรากล่าวการคบหาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้

ในความมีสัมผัสนิ่มของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น       

          อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย... ของชนเหล่าใด

ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น

เรากล่าวการรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้

ในความมีราคาแพงของภิกษุ

กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น

          อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์

ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด

ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าวธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้

          เพราะเหตุนั้น

ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า

เราทั้งหลายจักเป็นอย่างผ้ากาสี

ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้

ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

 

จบนวสูตรที่   ๘

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๔๙๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

อรรถกถานวสูตร

 

          พึงทราบวินิจฉัยในนวสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

          ผ้าที่ตรัสว่าใหม่ เพราะอาศัยการกระทำ.

ผ้าที่ทำจากปอ ชื่อว่า  โปตถกะ.

ผ้าที่ชื่อว่า  ปานกลาง  ได้แก่ ผ้ากลางเก่ากลางใหม่เพราะใช้.

ผ้าที่ชื่อว่า  เก่า  ได้แก่ ผ้าเก่าเพราะใช้.

บทว่า  อุกฺขลิปริมชฺชนํ  ได้แก่ เป็นผ้าเช็ดหม้อข้าว.

บทว่า  ทุสฺสีโล  ได้เเก่ ไม่มีศีล.

บทว่า  ทุพฺพณฺณตาย  ได้แก่ เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณทราม เนื่องจากไม่มีสี คือคุณ.

บทว่า  ทิฏฺฐานุคตึ   อาปชฺชนฺติ  ได้แก่

ภิกษุทั้งหลายพากันทำตามอย่างที่ภิกษุนั้นทำไว้แล้ว.

บทว่า  น  มหปฺผลํ  โหติ  ความว่า ไม่มีผลมาก โดยผลคือวิบาก.

บทว่า  น  มหานิสํสํ  ความว่า ไม่มีอานิสงส์มาก โดยอานิสงส์คือวิบาก.

บทว่า  อปฺปคฺฆตาย  ได้แก่ เพราะการรับนั้นมีค่าน้อย โดยค่าคือวิบาก.

บทว่า  กาสิกํ วตฺถํ  ได้แก่ ผ้าที่ทอโดยปั่นด้ายจากฝ้าย.

ก็แลผ้าชนิดนั้นเกิดขึ้นเฉพาะในแคว้นกาสี.

          บทที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

ส่วนศีลในสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ปนกันแล.

 

จบอรรถกถานวสูตรที่ ๘

  

http://www.tripitaka91.com/34-489-1.html

 

----------------------------------------------------------------------------------------------

 

ผู้ที่ฝักใฝ่กับพระที่รับเงินแล้วไม่แก้ไข

ยึดมั่นในลัทธินั้น

เถียงไม่ทำตามพระบัญญัติของพระพุทธเจ้า

ย่อมประสบบาปเป็นอันมาก

 

“ตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัต

ยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น

พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/898-45-128-60-124

 

เล่ม ๔๕ หน้า ๑๒๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๒๔-๑๒๕ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔

 

บางส่วนของ อรรถกถาเภทสูตร

 

พระเทวทัตนั้นเสื่อมจากลาภและสักการะ

ประสงค์จะดำรงชีวิตด้วยการหลอกลวง

จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามด้วยพุทธดำรัสมีอาทิว่า

อย่าเลยเทวทัต ภิกษุใดปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเถิด.

พระเทวทัต ยังชนผู้เลื่อมใสในความเศร้าหมอง

เป็นคนโง่ให้เห็นชอบด้วยวัตถุ ๕ ประการนั้น

ให้ภิกษุวัชชีบุตร ๕๐๐ จับสลาก

แล้วทำลายสงฆ์ให้แตกกัน

ได้พาภิกษุเหล่านั้นไปยังคยาสีสประเทศ.

          ลำดับนั้น พระอัครสาวก ๒ รูป

โดยพระพุทธดำรัสของพระศาสดา

พากันไป ณ คยาสีสประเทศนั้น

แสดงธรรมให้ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้น

ตั้งอยู่ในอริยผล แล้วนำกลับมา.

ส่วนภิกษุเหล่าใด ชอบใจลัทธิของพระเทวทัต

ผู้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ยังยกย่องอยู่อย่างเดิม

เมื่อสงฆ์กำลังจะแตก และแตกแล้วได้เกิดความชอบใจ

ข้อนั้นได้ปรากฏเพื่อความไม่เป็นประโยชน์

เพื่อความทุกข์แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ในไม่ช้านั่นเอง พระเทวทัตก็ถูกโรคเบียดเบียน อาพาธหนัก ใกล้จะตาย

คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา

จึงให้เขานำขึ้นบนเตียงไปวางไว้

ณ ฝั่งสระโบกขรณีใกล้พระเชตะวัน

ขณะนั้นแผ่นดินก็แยกออก

พระเทวทัตตกลงไปบังเกิดในอเวจีมหานรก.

ร่างของพระเทวทัตสูง ๑๐๐ โยชน์

ถูกหลาวเหล็กขนาดลำตาลเสียบอยู่ตลอดกัป.

และตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัต

ยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น

พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก.

 

http://www.tripitaka91.com/45-128-6.html

 

เล่ม ๖๐ หน้า ๑๓๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๒๖ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖

 

บางส่วนของ อรรถกถาสมุททวาณิชชาดก

 

ก็แลสกุลอุปัฏฐากของพระเทวทัต นั้นได้มีถึง ๕๐๐ ตระกูล.

แม้ตระกูลเหล่านั้นพากันเข้าข้างพระเทวทัตนั้น

ด่าพระทศพล พากันไปในอเวจีทั้งนั้นเลย.

พระเทวทัตนั้นชักจูงตระกูล ๕๐๐

ไปไว้ในนรกอเวจีด้วย ประการฉะนี้.

 

http://www.tripitaka91.com/60-134-9.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------

 

“พาลเหล่านั้นย่อมยังตนเอง

และเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ

ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่ตนถือไว้ไม่ดี

ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้

เหมือนพี่ชายของทีฆวิทะ

ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์

หมกไหม้อยู่ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร

และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล

ที่ชอบใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น

เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของทีฆวิทะนั่นแหละ

หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น.”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/903-39-172

 

เล่ม ๓๙ หน้า ๑๗๒-๑๗๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๖๘-๑๗๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑

 

บางส่วนของ อรรถกถามงคลสูตร

 

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบก่อน

จึงตรัสว่า การไม่คบพาล การคบบัณฑิต

ความจริงคนพาลทั้งหลายไม่ควรคบ

ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น

แต่นั้น ก็ควรคบ ควรเข้าใกล้แต่บัณฑิต

เหมือนทางที่ควรยึดถือไว้.

ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล

จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน

ขอชี้แจงดังนี้

เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์

ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้นนี้

ด้วยการคบพาล ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบ

กับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร

ซึ่งหักรานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

และทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร

ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง

จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน

แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๗๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท

ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต เป็นต้น

ชื่อว่า พาล ในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น.

พาลเหล่านั้น จะรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.

พระสูตรว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้.

อนึ่ง ครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น

และสัตว์อื่น ๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ

เทวทัต โกกาลิกะ กฏโมทกะ ติสสขัณฑาเทวีบุตร

สมุทททัตตะ นางจิญจมาณวิกา เป็นต้น

และพี่ชายของทีฆวิทะ ครั้งอดีตพึงทราบว่า พาล.

       พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเอง

และเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ

ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่ตนถือไว้ไม่ดี

ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้

เหมือนพี่ชายของทีฆวิทะ

ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์

หมกไหม้อยู่ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร

และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล

ที่ชอบใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น

เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของทีฆวิทะนั่นแหละ

หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

                    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือเรือนหน้า

          ย่อมไหม้แม้เรือนยอด ซึ่งฉาบไว้ทั้งข้างนอกข้างใน

          กันลมได้ ลงกลอนสนิท ปิดหน้าต่างไว้ เปรียบฉันใด

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทุกชนิด

          ย่อมเกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน

          ภัยเหล่านั้น ทั้งหมดเกิดจากพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต.

          อุปัทวะทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ

          อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ ไม่เกิดจากบัณฑิต.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้นแลพาลเป็นภัย

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๗๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บัณฑิตไม่เป็นภัย

          พาลอุบาทว์ บัณฑิตไม่อุบาทว์

          พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค ดังนี้.

          อนึ่ง พาลเสมือนปลาเน่า

ผู้คบพาลนั้น ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อปลาเน่า

ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง และรังเกียจ.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                    ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน โย นโร อุปนยฺติ

          กุสาปิ ปูตี วายนฺติ เอวํ พาลูปเสวนา.

                    นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคา

          แม้หญ้าคาของของนรชนผู้นั้น ก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย

          การคบพาลก็เป็นอย่างนั้น.

          อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร

แก่กิตติบัณฑิต ก็กล่าวอย่างนี้ว่า

                    พาลํ น ปสฺเส น สุเณ น จ พาเลน สํวเส

          พาเลนลฺลาปสลฺลาปํ น กเร น จ โรจเย.

                    ไม่ควรพบพาล ไม่ควรฟัง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล

          ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ.

          ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า

                    กินฺนุ เต อกรํ พาโล วท กสฺสป การณํ

          เกน กสฺสป พาลสฺส ทสฺสนํ นาภิกงฺขสิ.

                    ท่านกัสสปะ ทำไมหนอ พาลจึงไม่เชื่อท่าน

          โปรดบอกเหตุมาสิ เพราะเหตุไร

          ท่านจึงไม่อยากเห็นพาลนะท่านกัสสปะ.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ

เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๗๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          อกัตติบัณฑิตตอบ

                    อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ อธุรายํ นิยุญฺชติ

          ทุนฺนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต ปกุปฺปติ

          วินยํ โส น ชานาติ สาธุ ตสฺส อทสฺสนํ.

                    คนปัญญาทราม ย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำ

          ย่อมประกอบตนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ

          การแนะนำเขาก็แสนยาก

          เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี ก็โกรธ

          พาลนั้นไม่รู้จักวินัย การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี.

          พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้

จึงตรัสว่าการไม่คบพาลเป็นมงคล

 

http://www.tripitaka91.com/39-172-13.html

 

-------------------------------------------------------------------------------------

 

“นายพรานนั้นเมื่อให้ทักขิณาอุทิศถึงผู้ตาย

ได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง.

ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/904-23-409

 

เล่ม ๒๓ หน้า ๔๐๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๓๘๗ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒

 

บางส่วนของ อรรถกถาทักขิณาวิภังคสูตร

 

พึงแสดงถึงพรานผู้อยู่ในวัฑฒมานะ

ในบทว่า  เนว   ทายกโต  นี้.

ได้ยินว่า นายพรานนั้นเมื่อให้ทักขิณาอุทิศถึงผู้ตาย

ได้ให้แก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งนั้น แลถึง ๓ ครั้ง.

ในครั้งที่ ๓ อมนุษย์ร้องขึ้นว่า ผู้ทุศีลปล้นฉัน ดังนี้.

ในเวลาที่พรานนั้นถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งมาถึง

ผลของทักขิณาก็ถึงแก่เขา.

 

http://www.tripitaka91.com/23-409-19.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

“ข้าพระองค์เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในพระนครนั้น

แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ

มีใจข้องอยู่ในอามิส

ได้ถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะความเป็นผู้ทุศีล

ข้าพระองค์ลำบากแล้วเพราะความหิวเสียดแทง

เพราะบาปกรรมเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส

จึงได้มาหาหมู่ญาติ

มนุษย์แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน

และไม่เชื่อว่าผลแห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า

มนุษย์แม้เหล่านั้นจักเกิดเป็นเปรต

เสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์ ฉะนั้น

ธิดาของข้าพระองค์บ่นอยู่เนือง ๆ ว่า

เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา

บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย

พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทาน

อันธิดาของข้าพระองค์ตกแต่งแล้ว

ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกาวินทนคร

เพื่อบริโภคอาหาร

 

พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า 

ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น

พึงรีบกลับมาบอกเหตุที่มีจริงแก่เรา

เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื่อถือได้แล้ว

จักทำการบูชาบ้าง

 

จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว

ได้ไปยังอันธกาวินทนครนั้น

แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น

เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตร

เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/905-49-222

 

เล่ม ๔๙ หน้า ๒๒๒-๒๓๔ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๗๓-๑๘๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒

 

๘.  จูฬเสฏฐีเปตวัตถุ

ว่าด้วยบรรพชิตตระหนี่เป็นเปรตเปลือยผอม

 

พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสถามจูฬเศรษฐีเปรตว่า  :-

                    [๑๐๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

          ท่านเป็นบรรพชิต เปลือยกายซูบผอม

          เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร

          ท่านจะไปที่ไหนในราตรีเช่นนี้

          ขอท่านจงบอกการที่ท่านจะไปแก่เราเถิด

          เราสามารถจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่าน

          ด้วยความอุตสาหะทั้งปวง.

 

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

                    เมื่อก่อนพระนครพาราณสีมีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล

          ข้าพระองค์เป็นคฤหบดีผู้มั่งคั่งอยู่ในพระนครนั้น

          แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ

          มีใจข้องอยู่ในอามิส

          ได้ถึงวิสัยแห่งพญายมเพราะความเป็นผู้ทุศีล

          ข้าพระองค์ลำบากแล้วเพราะความหิวเสียดแทง

          เพราะบาปกรรมเหล่านั้น

          เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ

          มนุษย์แม้เหล่าอื่นมีปกติไม่ให้ทาน และไม่เชื่อว่าผล

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          แห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า

          มนุษย์แม้เหล่านั้นจักเกิดเป็นเปรต

          เสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์ ฉะนั้น

          ธิดาของข้าพระองค์บ่นอยู่เนือง ๆ ว่า

          เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา

          บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย

          พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทาน

          อันธิดาของข้าพระองค์ตกแต่งแล้ว

          ข้าพระองค์จะไปยังเมืองอันธกาวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร         

                    พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า

          ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น

          พึงรีบกลับมาบอกเหตุที่มีจริงแก่เรา

          เราฟังคำอันมีเหตุผลควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำการบูชาบ้าง

          จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว

          ได้ไปยังอันธกาวินทนครนั้น

          แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น

          เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตร

          เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา

          ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมาสู่นครราชคฤห์อีก

          ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์

          ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน

          พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้นกลับมาอีก จึงตรัสถามว่า

          เราจะให้ทานอะไร ถ้าเหตุที่จะให้ท่านอิ่มหนำตลอดกาลมีอยู่ไซร้

          ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า

                    ข้าแต่พระราชา ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์

          ด้วยข้าวและน้ำ และจงทรงถวายจีวร

          แล้วทรงอุทิศกุศลนั้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์

          ด้วยการทรงบำเพ็ญกิจอย่างนี้

          ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำตลอดกาลนาน.

          ลำดับนั้น พระราชาเสด็จออกจากปราสาททันที

          ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์

          แล้วทรงกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคต

          ทรงอุทิศส่วนกุศลให้จูฬเศรษฐีเปรต

                    จูฬเศรษฐีเปรตนั้นอันพระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก

          ได้มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชน แล้วกราบทูลว่า

          ข้าพระองค์เป็นเทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว

          มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี

          ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพ

          อันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด

          ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์ทรงถวายทานอันจะนับมิได้แก่สงฆ์

          อุทิศส่วนพระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ด้วยทรงอนุเคราะห์

          ข้าแต่พระองค์ผู้

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          เป็นเทพแห่งมนุษย์

          ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์

          ยังพระอริยสงฆ์ให้อิ่มหนำ

          ด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้นเป็นอันมาก

          จึงได้อิ่มหนำแล้วเนือง ๆ

          บัดนี้ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว ขอทูลลาพระองค์ไป.

 

จบ  จูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่  ๘

 

อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่  ๘

 

          เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร

ทรงปรารภจูฬเศษฐีเปรต ตรัสพระคาถานี้

มีคำเริ่มต้นว่า  นคฺโค  กิโส ปพฺพชิโตสิ  ภนฺเต  ดังนี้.

          ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี

มีคฤหบดีผู้หนึ่ง เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส

เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น ไม่เอื้อเฟื้อต่อการบำเพ็ญบุญ

ได้นามว่า   จูฬเศรษฐี.

เขาทำกาละแล้ว บังเกิดในหมู่เปรต.

ร่างกายของเขาปราศจากเนื้อและเลือด

มีเพียงกระดูกเส้นเอ็นและหนัง ศีรษะโล้น ปราศจากผ้า.

แต่ธิดาของเขา ชื่อว่า อนุลา อยู่ในเรือนของสามี ในอันธกวินทนคร

มีความประสงค์จะให้พราหมณ์บริโภคอาหารอุทิศบิดา

จึงจัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทานมีข้าวสารเป็นต้น.

เปรตรู้ดังนั้น ไปในที่นั้นโดยอากาศ โดยความหวัง ถึงกรุงราชคฤห์.

ก็สมัยนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ถูกพระเจ้าเทวทัตต์ส่งไป

ให้ปลงพระชนมชีพพระบิดา ไม่เข้าถึงความหลับ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เพราะความเดือดร้อน และความฝันร้ายนั้น

จึงขึ้นไปบนปราสาท จงกรมอยู่

เห็นเปรตนั้น เหาะไปอยู่จึงถามด้วยคาถานี้ว่า :-

                    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

          ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกาย ซูบผอม

          เพราะเหตุแห่งกรรมอะไร

          ท่านจะไปไหนในราตรีเช่นนี้

          ขอท่านจงบอกกาลที่ท่านจะไปแก่เราเถิด

          เราสามารถจะให้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแก่ท่าน

          ด้วยความอุตสาหะทุกอย่าง

 

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ปพฺพชิโต  ได้แก่ สมณะ.

ได้ยินว่าพระราชากล่าวกะเขาว่า

ท่านเป็นบรรพชิตเปลือยกายซูบผอม เป็นต้น

ด้วยความสำคัญว่า ผู้นี้เป็นสมณะเปลือย

เพราะเขาเป็นคนเปลือยกายและเป็นคนศีรษะโล้น.

บทว่า  กิสฺสเหตุ  แปลว่า มีอะไรเป็นเหตุ.

บทว่า  สพฺเพน   วิตฺตํ   ปฏิปาทเย   ตุวํ  ความว่า

เราจะมอบทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

อันเป็นเครื่องอุปกรณ์แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

พร้อมด้วยโภคะทุกอย่าง หรือด้วยความอุตสาหะทุกอย่าง

ตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของท่าน

ไฉนหนอเราพึงสามารถเช่นนั้นได้

เพราะฉะนั้น ท่านจงบอกข้อนั้นแก่เรา

คือ จงบอกเหตุแห่งการมาของท่านนั้นแก่เรา.

          เปรตถูกพระราชาถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะบอกประวัติของตน

จึงได้กล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๗ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

                    เมื่อก่อนกรุงพาราณสี มีกิตติคุณเลื่องลือไปไกล

          ข้าพระองค์เป็นคฤหบดี ผู้มั่งคั่งอยู่ในกรุงพาราณสีนั้น

          แต่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น

          ไม่เคยให้สิ่งของแก่ใคร ๆ มีใจข้องอยู่ในอามิส

          ได้ถึงวิสัยแห่งพญายม เพราะความเป็นผู้ทุศีล

          ข้าพระองค์ลำบากแล้ว เพราะความหิวเสียดแทง

          เพราะกรรมชั่วเหล่านั้น

          เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ปรารถนาอามิส จึงได้มาหาหมู่ญาติ

          มนุษย์แม้เหล่าอื่น มีปกติไม่ให้ทานและไม่เชื่อว่า

          ผลแห่งทานมีอยู่ในโลกหน้า

          มนุษย์แม้เหล่านั้น จักเกิดเป็นเปรตเสวยทุกข์ใหญ่ เหมือนข้าพระองค์ฉะนั้น          

          ธิดาของข้าพระองค์ บ่นอยู่เนือง ๆ ว่า

          เราจักให้ทานอุทิศให้มารดา

          บิดา ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย

          พวกพราหมณ์กำลังบริโภคทาน

          อันธิดาของข้าพระองค์ตบแต่งแล้ว

          ข้าพระองค์จะไปยังเมือง อันธกวินทนคร เพื่อบริโภคอาหาร.

 

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ทูรฆุฏฺฐํ  ได้แก่

เลื่องลือ ด้วยอำนาจกิตติคุณไปไกลทีเดียว,

อธิบายว่า ขจรไป คือปรากฏในที่ทุกสถาน.

บทว่า  อฑฺฒโก  แปลว่า เป็นคนมั่งคั่ง คือมีสมบัติมาก.

บทว่า  ทีโน  แปลว่า มีจิตตระหนี่

คือมีอัธยาศัยในการไม่ให้. ด้วย

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๘ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

เหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า  อทาตา  ผู้ไม่ให้.

บทว่า  เคธิตมโน  อามิสสฺมึ  ได้แก่ ผู้มีจิตข้องอยู่

คือ ถึงความติดอยู่ ในอามิสคือกาม.

บทว่า  ทุสฺสีเลน  ยมวิสยมฺหิ  ปตฺโต  ความว่า

ข้าพเจ้าได้ถึงวิสัยแห่งพญายม คือ เปตโลก

ด้วยกรรมคือความเป็นผู้ทุศีลที่ตนได้ทำไว้.

          บทว่า  โส   สูจิกาย   กิลมิโต  ความว่า ข้าพเจ้านั้น ลำบากเพราะความหิว

อันได้นามว่า  สูจิกา  เพราะเป็นเสมือนเข็ม

เพราะอรรถว่า เสียดแทง เสียดแทงอยู่ไม่ขาดระยะ.

อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า  กิลมโถ  ดังนี้ก็มี.

บทว่า  เตหิ  ความว่า ด้วยบาปกรรม อันเป็นเหตุที่กล่าวแล้ว

โดยนัยมีอาทิว่า  ทีโน  ดังนี้.

จริงอยู่ เมื่อเปรตนั้นระลึกถึงกรรมชั่วนั้น

โทมนัสอย่างยิ่ง เกิดขึ้นแล้ว

เพราะเหตุนั้น เปรตจึงกล่าวอย่างนั้น.

บทว่า  เตเนว  ได้แก่ เพราะความทุกข์อันเกิดแต่ความหิวนั้นนั่นเอง.

บทว่า  ญาตีสุ  ยามิ  ความว่า

ข้าพเจ้าจึงไป คือ ไปถึงที่ใกล้ของหมู่ญาติ.

บทว่า  อานิสกิญฺจิกฺขเหตุ  ได้แก่ เพราะเหตุแห่งข้าพระองค์ปรารถนาอามิส

อธิบายว่า ปรารถนาอามิสบางอย่าง.

บทว่า  อทานสีลา  น  จ  สทฺทหนฺติ  ทานผลํ  โหติ ปรมฺหิ   โลเก  ความว่า

ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติไม่ให้ทานฉันใด

แม้คนเหล่าอื่นก็มีปกติไม่ให้ทานฉันนั้นเหมือนกัน

และไม่เชื่อว่า ผลแห่งทาน จะมีในปรโลกอย่างแท้จริง,

อธิบายว่า แม้พวกชนเหล่านั้น

เป็นเปรตเสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงเหมือนข้าพเจ้า.

          บทว่า  ลปเต  แปลว่า ย่อมกล่าว.

บทว่า  อภิกฺขณํ  แปลว่า เนือง ๆ คือโดยส่วนมาก.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เปรตกล่าวว่า

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๒๙ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

กระไร

เปรตจึงกล่าวว่า

ข้าพเจ้าจักให้ทานเพื่อมารดาบิดา ปู่ ย่า ตา ยาย.

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ปิตูนํ  ได้แก่ มารดาและบิดา หรือ อา และลุง.

บทว่า  ปิตามหานํ  ได้แก่ ปู่ ย่า ตา และยาย.

บทว่า  อุปกฺขฏํ  ได้แก่ จัดแจง.

บทว่า  ปริวิสยนฺติ  แปลว่าให้บริโภค.

บทว่า  อนฺธกวินฺทํ  ได้แก่ นครอันมีชื่อย่างนั้น.

บทว่า  ภุตฺตุํ  ได้แก่ เพื่อบริโภค.

เบื้องหน้าแต่นั้น พระสังคีติกาจารย์ได้กล่าวไว้ว่า  :-

                    พระราชาจึงตรัสสั่งเขาว่า

          ถ้าท่านไปได้เสวยผลทานนั้น

          พึงรีบกลับมาบอก เหตุที่มีจริงแก่เรา

          เราฟังคำอันมีเหตุผล ควรเชื่อถือได้แล้ว จักทำการบูชาบ้าง

          จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว

          ได้ไปยังอันธกวินทนครนั้น

          แต่ไม่ได้รับผลแห่งทานนั้น

          เพราะพราหมณ์ทั้งหลายที่บริโภคภัตร

          เป็นผู้ไม่มีศีล ไม่สมควรแก่ทักษิณา

          ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรต กลับมายังกรุงราชคฤห์อีก

          ได้ไปแสดงกายให้ปรากฏ เฉพาะพระพักตร์

          ของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน

          พระราชาทอดพระเนตรเห็นเปรตนั้น กลับมาอีก

          จึงตรัสถามว่า เราจะให้ทานอะไร

          ถ้าเหตุที่จะให้ท่านอิ่มหนำตลอดกาลนานมีอยู่ไซร้

          ขอท่านจงบอกเหตุนั้นแก่เรา

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

จูฬเศรษฐีเปรตกราบทูลว่า :-

                    ข้าแต่พระราชา

          ขอพระองค์จงทรงอังคาสพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์

          ด้วยข้าวและน้ำ และจงทรงถวายจีวร

          แล้วจงอุทิศกุศลนั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์

          ด้วยทรงการบำเพ็ญกิจอย่างนี้

          ข้าพระองค์จะพึงอิ่มหนำ ตลอดกาลนาน

          ลำดับนั้นพระราชา เสด็จออกจากปราสาททันที

          ทรงถวายทานอันประณีตยิ่งแก่สงฆ์ ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์

          แล้วทรงกราบทูลเรื่องราว แด่พระตถาคต

          ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่จูฬเศรษฐีเปรต,

          จูฬเศรษฐีเปรตนั้น

          อันพระราชาทรงบูชาแล้ว เป็นผู้งดงามยิ่งนัก

          ได้มาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระราชา

          ผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่ชน แล้วกราบทูลว่า

          ข้าพระองค์เป็นเทวดา มีฤทธิ์อย่างยอดเยี่ยมแล้ว

          มนุษย์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์เสมอด้วยข้าพระองค์ไม่มี

          ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรดูอานุภาพ

          อันหาประมาณมิได้ของข้าพระองค์นี้เถิด

          ซึ่งเกิดจากผลที่พระองค์

          ทรงถวายทาน อันจะนับมิได้แก่สงฆ์

          อุทิศส่วนพระราชกุศลให้แก่ข้าพระองค์ ด้วยทรงอนุเคราะห์

          ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งมนุษย์

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ข้าพระองค์เป็นผู้อันพระองค์ ยังพระอริยสงฆ์

          ให้อิ่มหนำ ด้วยไทยธรรมมีข้าวและน้ำ และผ้าผ่อนเป็นต้น เป็นอันมาก

          จึงได้อิ่มหนำแล้วเนือง ๆ

          บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว จึงขอทูลลาพระองค์ไป.

 

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  ตมโวจ  ราชา  ความว่า

พระเจ้าอชาตศัตรูได้ตรัสสั่งเปรตนั้น

ผู้ยืนกล่าวอยู่อย่างนั้น.

บทว่า  อนุภวิยาน   ตมฺปิ  ความว่า

เสวยทานแม้นั้นที่ธิดาของท่านเข้าไปตั้งไว้.

บทว่า  เอยฺยาสิ   แปลว่า พึงมา.

บทว่า  กริสฺสํ  แปลว่า จักกระทำ.

บทว่า  อาจิกฺข  เม  ตํ  ยทิ  อตฺถิ  เหตุ  ความว่า

ถ้าคำอะไรมีเหตุที่ควรเชื่อได้จงบอกเล่าแก่เรา.

บทว่า  สทฺธายิตํ  แปลว่า ควรเชื่อได้.

บทว่า  เหตุวโจ.  ได้แก่ คำที่ควรแก่เหตุ.

อธิบายว่า ท่านจงกล่าวคำที่มีเหตุว่า

เมื่อบำเพ็ญทานในที่ชื่อโน้น

โดยประการโน้น จะสำเร็จแก่เรา.

          บทว่า  ตถาติ   วตฺวา  ความว่า

จูฬเศรษฐีเปรตทูลรับพระดำรัสแล้ว.

บทว่า  ตตฺถ  ได้แก่ ในที่เป็นที่อังคาสในอันธกวินทนครนั้น.

บทว่า  ภุญฺชึสุ  ภตฺตํ  น  จ  ทกฺขิณารหา  ความว่า

พราหมณ์ผู้ทุศีลบริโภคภัตตาหารแล้ว

แต่ว่าพราหมณ์บริโภคนั้น

เป็นผู้ไม่ควรทักษิณา ไม่มีศีล.

บทว่า  ปุนาปรํ  ความว่า

ภายหลังจูฬเศรษฐีเปรตกลับมายังกรุงราชคฤห์อีก.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  กึ   ททามิ  ความว่า

พระราชาตรัสถามเปรตนั้นว่า เราจักให้ทานเช่นไรแก่ท่าน.

บทว่า  เยน ตุวํ  ความว่า ท่านให้อิ่มหนำด้วยเหตุใด.

บทว่า  จิรตรํ  แปลว่า ตลอดกาลนาน.

บทว่า  ปิณิโต.  ความว่า ถ้าท่านอิ่มหนำแล้วท่านจงบอกข้อนั้น.

          บทว่า  ปริวิสิยาน  แปลว่า ให้บริโภค.

จูฬเศรษฐีเปรตเรียกพระเจ้าอชาตศัตรูว่า ราชา.

บทว่า  เม   หิตาย  ได้แก่ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพระองค์

คือ เพื่อให้ข้าพระองค์พ้นจากความเป็นเปรต.

          บทว่า  ตโต  แปลว่า เพราะเหตุนั้น คือ เพราะคำนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า  ตโต  แปลว่า จากปราสาทนั้น.

บทว่า  นิปติตฺวา  แปลว่า ออกไปแล้ว.

บทว่า  ตาวเท  ได้แก่ ในกาลนั้นเอง

คือในเวลาอรุณขึ้น, อธิบายว่า

พระราชาได้ถวายทานเฉพาะในเวลาก่อนภัตร

ที่เปรตกลับมาแสดงตนแก่พระราชา.

บทว่า  สหตฺถา  แปลว่า ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์.

บทว่า  อตุลํ  แปลว่า ประมาณไม่ได้ คือ ประณีตยิ่ง.

บทว่า  ทตฺวา  สงฺเฆ  ได้แก่ ถวายแก่สงฆ์.

บทว่า  อาโรเจสิ  ปกตํ  ตถาคตสฺส  ความว่า

พระราชากราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์เจริญ ทานนี้หม่อมฉันได้บำเพ็ญมุ่งหมายอุทิศเปรตตนหนึ่ง.

ก็แลครั้นกราบทูลแล้ว

ทานนั้นก็สำเร็จแก่เปรตนั้น โดยประการนั้น

และข้าพระองค์ถวายอุทิศส่วนบุญแก่เปรตนั้น ด้วยประการฉะนี้.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  โส  ได้แก่ เปรตนั้น.

บทว่า  ปูชิโต  ได้แก่ ผู้อันพระราชาทรงบูชาด้วยทักษิณาที่ทรงอุทิศให้.

บทว่า  อติวิย  โสภมาโน.  แปลว่า เป็นผู้งดงามยิ่งนักด้วยอานุภาพของเทวดา.

บทว่า  ปาตุรโหสิ  แปลว่า ปรากฏแล้ว

คือ แสดงตนเฉพาะพระพักตร์ของพระราชา.

บทว่า  ยกฺโขหมสฺมิ  ความว่า

ข้าพระองค์พ้นจากความเป็นเปรตกลายเป็นเทวดา คือ ถึงความเป็นเทพ.

บทว่า  น  มยฺหมตฺถิ   สมา  สทิสา  มานุสา  ความว่า

มนุษย์ทั้งหลายผู้เสมอด้วยอานุภาพสมบัติ

หรือเสมือนโภคสมบัติของข้าพเจ้าไม่มี.

          บทว่า  ปสฺสานุภาวํ อปริมิตํ มมยิทํ  ความว่า

จูฬเศรษฐีเปรต กราบทูลแสดงสมบัติของตน

แก่พระราชาโดยประจักษ์ว่า

ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตรดูอานุภาพแห่งเทวดา

อันหาประมาณมิได้นี้ของข้าพระองค์เถิด.

บทว่า  ตยานุทิฏฺฐํ อตุลํ  ทตฺวา  สงฺเฆ  ความว่า

ซึ่งพระองค์ถวายทานอันโอฬาร

หาสิ่งเปรียบปานมิได้แด่พระอริยสงฆ์

แล้วทรงอุทิศด้วยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์.

บทว่า  สนฺตปฺปิโต  สตตํ  สทา พหูหิ  ความว่า

ข้าพระองค์เมื่อให้พระอริยสงฆ์

อิ่มหนำด้วยไทยธรรมเป็นอันมากมีข้าว น้ำ และผ้าเป็นต้น

ชื่อว่าให้อิ่มหนำติดต่อกัน คือ ไม่ขาดระยะ

แม้ในที่นั้นทุกเมื่อ คือทุกเวลา ตลอดชีวิต.

บทว่า  ยามิ  อหํ  สุขิโต   มนุสฺสเทว  ความว่า

จูฬเศรษฐีเปรตทูลถามพระราชาว่า

ข้าแต่มหาราชเป็นเทพของมนุษย์

เพราะฉะนั้น บัดนี้ ข้าพระองค์มีความสุขแล้ว

ขอกลับไปยังที่ตามที่ปรารถนา.

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          เมื่อเปรตทูลลากลับไปอย่างนี้

พระเจ้าอชาตศัตรูตรัสบอกความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลความนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ

ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว

มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทินคือความตระหนี่

ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในบุญมีทานเป็นต้นแล.

 

จบ  อรรถกถาจูฬเสฏฐิเปตวัตถุที่  ๘

 

http://www.tripitaka91.com/49-222-1.html

 

-----------------------------------------------------------

 

ตามหลักฐานที่อ้างอิงจากพระไตรปิฎก 

จะเห็นได้ว่าถ้าพระรับเงินแล้วไม่แก้ไข

จะมีโทษมากไม่ใช่เฉพาะพระรูปนั้นเท่านั้น

แต่มีผลกระทบถึงพระรูปอื่นที่มาเกี่ยวข้อง

รวมถึงโยมที่มาทำบุญหรือมาคบหาสมาคมด้วย

มีผลกระทบเป็นวงกว้างมีโทษมากมาย

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ 

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994