คำถาม-คำตอบ เงินก็แค่โลหะ, กระดาษ หรือแค่ธาตุ 4 ไม่ใช่หรือ ? จะเลี่ยงรับเป็นเช็ค หรือใบปวารณาได้หรือไม่ ?

คำถาม

 

เงินก็แค่โลหะ, กระดาษ หรือแค่ธาตุ 4 ไม่ใช่หรือ ?

จะรับเป็นเช็ค หรือใบปวารณาได้หรือไม่ ?

 

คำตอบ

 

พระพุทธเจ้าบัญญัติว่าภิกษุที่บวชในพระพุทธศาสนา

รับ ให้รับ หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

ไม่ว่าด้วยประการใดๆ (ทั้งรับเพื่อตนหรือรับเพื่อผู้อื่น)

 

ความหมายของเงินคือ

“เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.”

 

จะอ้างว่ารับเป็นเช็คก็ไม่ได้เพราะ

ถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถนำมา

แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้อย่างหนึ่ง

ส่วนใบปวารณาถ้าพระยังจัดการเงินก็ยังผิดอยู่

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ก็ต้องอาบัติ

 

 

อ้างอิง ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม

ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

ทอง , เงิน คือ ?

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/862-3-941

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๑-๙๔๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๘๘-๘๘๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ โกสิยวรรคสิกขาบทที่ ๘

 

          ที่ชื่อว่า  ทอง  ตรัสหมายทองคำ

          ที่ชื่อว่า  เงิน  ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ

มาสกที่ทำด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั่ง

ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้.

          บทว่า  รับ  คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.

          บทว่า  ให้รับ  คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          บทว่า  หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้  ความว่า

หรือยินดีทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า

ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์

ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่ามกลางสงฆ์

 

http://www.tripitaka91.com/3-941-17.html

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๔๕-๙๔๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๙๒-๘๙๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ พรรณนารูปิยสิกขาบท

 

          บทว่า  ชาตรูปรชตํ  นี้

คำว่า  ชาตรูป  เป็นชื่อแห่งทองคำ.

ก็เพราะทองคำนั้นเป็นเช่นกับพระฉวีวรรณแห่งพระตถาคต;

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในบทภาชนะว่า

ท่านเรียกพระฉวีวรรณของพระศาสดา.

เนื้อความแห่งบทภาชนะนั้นว่า

โลหะพิเศษมีสีเหมือนพระฉวีวรรณของพระศาสดา

นี้ชื่อว่า  ชาตรูป  (ทองคำธรรมชาติ ).

ส่วนเงินท่านเรียกว่า รูปิยะ.

ในคำทั้งหลายว่า สังข์ ศิลา ประพาฬ เงิน ทอง เป็นต้น.

แต่ในสิกขาบทนี้

ท่านประสงค์เอากหาปณะเป็นต้น

อย่างใดอย่างอย่างหนึ่ง

ที่ให้ถึงการซื้อขายได้.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล ในบทภาชนะแห่งบทว่า  รชตํ   นั้น

ท่านจึงกล่าวคำว่า กหาปณะ โลหมาสก ดังนี้ เป็นต้น.

 

[อธิบายวัตถุแห่งนิสสัคคีย์และทุกกฏ]

 

          บรรดาบทว่า  กหาปณะ  เป็นต้นนั้น

กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี

กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า  กหาปณะ.

          มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น

ชื่อว่า  โลหมาสก.

          มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี

โดยที่สุดแม้มาสกที่เขาทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป

ก็ชื่อว่า  มาสกไม้.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์

เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๔๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี

ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่า  มาสกยาง.

          ก็ด้วยบทว่า  เย โวหารํ คจฺฉนฺติ  นี้

ท่านสงเคราะห์เอามาสกทั้งหมด

ที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน

โดยที่สุดทำด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง

ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง.

วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้

(และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด

จัดเป็นวัตถุแห่งนิสสัคคีย์,

วัตถุนี้ คือ มุกดา มณี ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา ประพาฬ

ทับทิม บุษราคัม ธัญชาติ ๗ ชนิด ทาสหญิง ทาสชาย

นาไร่ สวนดอกไม้ สวนผลไม้เป็นต้น

จัดเป็นวัตถุแห่งทุกกฏ.

วัตถุนี้ คือ ด้าย ผาลไถ ผืนผ้า ฝ้ายอปรัณชาติมีอเนกประการ

และเภสัช มีเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อยงบเป็นต้น

จัดเป็นกัปปิยวัตถุ.

 

http://www.tripitaka91.com/3-945-6.html

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------- 

 

หลักฐานจากข้อมูลในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับ

พระ รับ ให้รับหรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้

ต้องอาบัติ

 

พระบัญญัติ

อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี 

ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้

เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

(โกสิยวรรค สิกขาบทที่ 8)(เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร)

มมร. 3 หน้า 940 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 887 (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/3-940-16.html

 

ว่าด้วยทองและเงิน ไม่สมควรแก่สมณศากยบุตร

(มณิจูฬกสูตร)

มมร. เล่ม 29 หน้า 212 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 200 (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/29-212-1.html

 

ทองและเงินไม่ควรแก่สมณะเชื้อสายพระศากยบุตรโดยแท้

(เรื่องนายบ้านชื่อมณีจูฬกะ)

มมร. เล่ม 9 หน้า 535 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 523 (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/9-535-3.html

 

จุลศีล 

... ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

... ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อ การขาย.

(สามัญญผลสูตร)

มมร. เล่ม 11 หน้า 310 (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า 264 (ปกสีแดง)

http://www.tripitaka91.com/11-310-22.html

 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 

 

ภิกษุจัดการกหาปณะ สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป

 

https://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/864-3-869

 

เล่ม ๓ หน้า ๘๖๙ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๘๑๘-๘๑๙ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ จีวรวรรคที่ ๑ สิกขาบทที่ ๑๐ พรรณนาราชสิกขาบท

 

          ถ้าชาวนาทั้งหลายนำกหาปณะมากล่าวว่า

กหาปณะเหล่านี้พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง กล่าวว่า

ท่านจงนำผ้ามาด้วยกหาปณะเท่านี้,

จงจัดข้าวยาคูเป็นต้นด้วยกหาปณะประมาณเท่านี้

ด้วยความสำคัญว่า สงฆ์ไม่รับกหาปณะ

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะแก่พวกภิกษุทั่วไป.

ถามว่า เพราะเหตุไร

ตอบว่า เพราะภิกษุจัดการกหาปณะ.

          ถ้าพวกชาวนานำข้าวเปลือกมากล่าวว่า

ข้าวเปลือกนี้ พวกผมนำมาเพื่อสงฆ์,

และภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกล่าวว่า

พวกท่านจงนำเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้

มาด้วยข้าวเปลือกประมาณเท่านี้ โดยนัยก่อนนั่นแล

สิ่งของที่พวกเขานำมา

เป็นอกัปปิยะเฉพาะแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น.

เพราะเหตุไร ?

เพราะภิกษุจัดการข้าวเปลือก.

 

http://www.tripitaka91.com/3-869-8.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

เล่ม ๓ หน้า ๙๖๙-๙๗๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๙๑๔-๙๑๕ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ พรรณนารูปิยสัพโยหารสิกขาบท

 

อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รับรูปิยะไปยังตระกูลช่างเหล็ก

พร้อมกับกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า

ท่านจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้ว ให้กัปปิยการกจ่ายกหาปณะว่า

เธอจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้บาตรนี้แล้วได้ถือเอาไป.

บาตรนี้ ไม่ควรแก่ภิกษุรูปนี้เท่านั้น เพราะจัดการไม่ชอบ,

แต่ควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น เพราะไม่ได้รับมูลค่า.

          ได้ทราบว่า อุปัชฌาย์ของพระมหาสุมเถระ มีชื่อว่าอนุรุทธเถระ.

ท่านบรรจุบาตรเห็นปานนี้ของตนให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว สละแก่สงฆ์.

 

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๗๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

พวกสัทธิวิหาริกแม้ของพระจุลนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก

ก็ได้มีบาตรเช่นนั้นเหมือนกัน.

พระเถระสั่งให้บรรจุบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยเนยใสแล้ว

ให้เสียสละแก่สงฆ์ ดังนี้แล. นี้ชื่ออกัปปิยปัตตจตุกกะ.

ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่รับรูปิยะไปสู่ตระกูลแห่งช่างเหล็ก

พร้อมด้วยกัปปิยการกที่ทายกส่งมาว่า เธอจงซื้อบาตรถวายพระเถระ

เห็นบาตรแล้วกล่าวว่า

บาตรนี้เราชอบใจ หรือว่า เราจักเอาบาตรนี้,

และกัปปิยการกจ่ายรูปิยะนั้นให้แล้ว

ให้ช่างเหล็กยินยอมตกลง.

บาตรนี้สมควรทุกอย่าง ควรแก่การบริโภค

แม้แห่งพระพุทธทั้งหลาย.

 

http://www.tripitaka91.com/3-969-14.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994