คำถาม-คำตอบ พระอริยสงฆ์หรือพระอรหันต์รับเงินผิดหรือไม่ ?

คำถาม

 

พระอริยสงฆ์หรือพระอรหันต์รับเงินผิดหรือไม่ ?

 

คำตอบ

 

ถึงแม้จะบรรลุเป็นพระอริยสงฆ์

หรือแม้แต่พระอรหันต์รับเงินก็ผิด

ถ้าเป็นพระอริยสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุอรหันต์

ก็จะมีโทษทำให้บรรลุอริยผลขั้นต่อๆไปได้ลำบากขึ้น

ถึงแม้จะไม่ได้ไปเสวยผลในอบายภูมิก็ตาม

แม้ว่าจะบรรลุอรหันต์ เป็นชาติสุดท้าย (ไม่ไปเกิดอีก)

บาปก็ยังทำลายธาตุขันธ์ในชาติสุดท้ายของท่านได้

ทั้งนี้พระอรหันต์ก็สามารถผิดพลาดได้

เพราะรู้พระธรรมวินัย

ไม่ละเอียดทั่วถึงเหมือนพระพุทธเจ้า

และสิ่งที่สำคัญคือผู้ที่นำเงินไปถวายท่าน

ก็จะได้รับโทษมาก

อีกทั้งยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีสืบต่อไปด้วย

 

อ้างอิง

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม

ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

 

“พระขีณาสพต้องอาบัติ...

เมื่อต้องทางใจ ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/884-34-457

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๔๕๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๖๙ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

 

บางส่วนของ อรรถกถาทุติยเสขสูตร

 

พระขีณาสพต้องอาบัติ

  

         ก็ในบทว่า  ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺฐาติปิ  นี้ มีอธิบายว่า

พระขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย

จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เท่านั้น

และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ

เมื่อต้องทางกาย

ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยสิกขาบทเป็นต้น

เมื่อต้องทางวาจา

ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น

เมื่อต้องทางใจ

ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

บทว่า  น หิ เมตฺถ ภิกฺขเว อภพฺพตา วุตฺตา  ความว่า 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ในที่นี้

เราตถาคตมิได้กล่าวว่า

พระอริยบุคคลไม่ควรทั้งในการต้อง

และการออกจากอาบัติเห็นปานนี้.         

         บทว่า  อาทิพฺรหฺมจริยกานิ  ความว่า 

สิกขาบทที่เป็นมหาศีล ๔

ซึ่งเป็นเบื้องต้นของมรรคพรหมจรรย์.

บทว่า  พฺรหฺมจริยสารุปฺปานิ  ความว่า

สิกขาบทที่เป็นมหาศีลเหล่านั้นแล เหมาะสม คือ

สมควรแก่มรรคพรหมจรรย์ที่ ๔.

บทว่า  ตฺตฺถ  ได้แก่ ในสิกขาบทเหล่านั้น.

 

http://www.tripitaka91.com/34-457-1.html

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย

ไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ

ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง

ในทางมโนทวาร

ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.”

 

“พระขีณาสพมีกายสมาจารเป็นต้น

บริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต.”

 

“แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

ก็ยังเกิดมโนทุจริตขึ้นได้”

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/908-16-302

 

เล่ม ๑๖ หน้า ๓๐๒-๓๐๓ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๒๘๘-๒๘๙ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒

 

บางส่วนของ อรรถกถาสังคีติสูตร

 

ถามว่า พระขีณาสพอื่น ๆ มีกายสมาจารเป็นต้น

ไม่บริสุทธิ์กระนั้นหรือ

ตอบว่า ไม่ใช่ไม่บริสุทธิ์

เพียงแต่ว่าบริสุทธิ์ไม่เท่ากับพระตถาคต.

พระขีณาสพที่ฟังมาน้อย

ย่อมไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะ ก็จริงอยู่,

แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ

ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร

ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ ( คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ )

อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกัน ( กับอนุปสัมบัน เป็นต้น ).

ย่อมต้องอาบัติในวจีทวารประเภทชักสื่อ

กล่าวธรรมโดยบท พูดเกินกว่า ๕-๖ คำ

บอกอาบัติที่เป็นจริง ( เป็นต้น ).

ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง

ในทางมโนทวาร

ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน.

แม้พระขีณาสพ ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

ก็ยังเกิดมโนทุจริตขึ้นได้

ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร.

เมื่อศากยะปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้า

เพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

ในคราวที่ทรงประณาม พระเถระทั้งสองนั้น

พร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรื่องปาตุมะ

พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า.

" เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว".

ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า

"เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาดเรื่องบริษัท.

ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ"

จึงได้กราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า "

ภิกษุสงฆ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว,

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงขวนขวายน้อย

ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จัก

 

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค

เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๐๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่.

ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงยกข้อตำหนิ

เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า

"เธอจงรอก่อนสารีบุตร.

ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลยสารีบุตร".

แม้เพียงความคิดว่า

"เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้"

ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระดำริเช่นนั้น

และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว

จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์.

แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์

ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.

แม้เมื่อเหล่าเทวดาเกิดความสงสัยขึ้นอย่างนี้ว่า

"หนังท้องติดกระดูกสันหลัง (อย่างนี้)

พระสมณโคดม ถึงแก่การดับสูญ ( เสียละกระมัง )"

เมื่อถูกมารใจบาป กล่าวอยู่ว่า

" สิทธัตถะ ท่านจะต้องมาลำบากลำบนทำไม

ท่านสามารถที่จะเสวยโภคสมบัติไปด้วย

สร้างบุญกุศลไปด้วยได้" ดังนี้

แม้เพียงความคิดว่า

"เราจัก ( กลับไป ) เสวยโภคสมบัติ" ก็ไม่เกิด.

ครั้นแล้ว มารก็ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในเวลาที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ถึง ๖ ปี

ในเวลาที่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อีก ๑ ปี

ก็มิได้เห็นโทษผิดอันหนึ่งอันใด

จึงกล่าวความข้อนี้ไว้ แล้วหลบไป ว่า

                    " เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทุกย่างก้าว

          ตลอดเวลา ๗ ปี ก็มิได้เห็นข้อบกพร่องใด ๆ

          ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระสติไพบูลย์นั้นเลย"

  

http://www.tripitaka91.com/16-302-3.html

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“แม้แต่พระสารีบุตร (พระอัครสาวก) ก็ยังผิดพลาดได้”

 

“พึงให้ศีลเฉพาะแก่คนที่ขอเท่านั้น อย่าให้แก่คนที่ไม่ขอ.”

 

เล่ม ๕๘ หน้า ๗๕๐-๗๕๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๔๘-๕๕๓ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔

 

๖. การันทิยชาดก

ว่าด้วยการทำที่เหลือวิสัย

 

                    [๗๒๗] ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกเอาก้อนหินใหญ่

          กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า

          ดูก่อนการันทิยะ จะเป็นประโยชน์อะไรแก่ท่าน

          ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขานี้เล่าหนอ.

                    [๗๒๘] ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง

          จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็นขอบเขต

          ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ

          เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

                    [๗๒๙] ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า

          มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถ

          จะทำแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้

          ท่านพยายามจะทำซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น

          ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสียเปล่าเป็นแน่.

                    [๗๓๐] ข้าแต่ท่านพราหมณ์

          หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถ

          จะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ฉันใด

          ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๑ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

          ผู้มีทิฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

                    [๗๓๑] ดูก่อนการันทิยะ.

          ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

          แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ฉันใด

          เราก็ไม่อาจจะทำให้มนุษย์ทั้งหลาย

          มาอยู่ในอำนาจของเราได้ ฉันนั้น.

 

จบ การันทิยชาดกที่ ๖

 

อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖

 

          พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตะวัน

ทรงปรารภพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า  เอโก อรญฺเญ  ดังนี้.

          ได้ยินว่า พระเถระให้ศีลแก่คนทุศีลทั้งหลาย

มีพรานเนื้อและคนจับปลาเป็นต้น

ที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งท่านได้พบได้เห็นเท่านั้นว่า

ท่านทั้งหลายจงถือศีล ท่านทั้งหลายจงถือศีล.

ชนเหล่านั้น มีความเคารพในพระเถระ

ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของพระเถระนั้น จึงพากันรับศีล

ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา

คงกระทำการงานของตน ๆ อยู่อย่างเดิม

พระเถระเรียกสัทธิวิหาริกทั้งหลายของตนมาแล้วกล่าวว่า

อาวุโสทั้งหลายคนเหล่านี้รับศีลในสำนักของเรา

ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา.

สัทธิวิหาริกทั้งหลายกล่าวว่า

ท่านขอรับ ท่านให้ศีลโดยความไม่พอใจ

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๒ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ของชนเหล่านั้น

พวกเขาไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของท่านจึงรับเอา

ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านอย่าได้ให้ศีลแก่ชนทั้งหลายเห็นปานนี้.

พระเถระไม่พอใจต่อถ้อยคำของสัทธิวิหาริก.

ภิกษุทั้งหลายได้สดับเรื่องราวนั้นแล้ว

ก็สนทนากันขึ้นในโรงธรรมสภาว่า

อาวุโสทั้งหลาย

ได้ยินว่าพระสารีบุตรให้ศีลแก่คนที่ท่านได้ประสบพบเห็นเท่านั้น.

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า

เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น

แม้ในกาลก่อน

พระสารีบุตรนี้ก็ให้ศีลแก่คนที่ตนได้ประสบพบเห็น

ซึ่งไม่ขอศีลเลย

แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

          ในอดีตกาล

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชย์สมบัติอยู่ในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลพราหมณ์

เจริญวัยแล้ว ได้เป็นอันเตวาสิกผู้ใหญ่

ของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในเมืองตักกศิลา ชื่อว่า การันทิยะ.

ครั้งนั้น อาจารย์นั้นให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น

มีชาวประมงเป็นต้นผู้ไม่ขอศีลเลยว่า

ท่านทั้งหลายจงรับศีล ท่านทั้งหลายจงรับศีล ดังนี้.

ชนเหล่านั้นแม้รับเอาแล้วก็ไม่รักษา.

อาจารย์จึงบอกความนั้นแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย

อันเตวาสิกทั้งหลายจึงพากัน กล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านให้ศีลโดยความไม่ชอบใจของชนเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงพากันทำลายเสีย

จำเดิมแต่บัดนี้ไป ท่านพึงให้เฉพาะแก่คนที่ขอเท่านั้น

อย่าให้แก่คนที่ไม่ขอ.

อาจารย์นั้นได้เป็น

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๓ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ผู้วิปฏิสารเดือดร้อนใจ.

แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ยังคงให้ศีล

แก่พวกคนที่ตนได้ประสบพบเห็นอยู่นั่นแหละ.

อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายมาจากบ้านแห่งหนึ่ง

เชิญอาจารย์ไปเพื่อการสวดของพราหมณ์.

อาจารย์นั้นเรียกการันทิยมาณพมาแล้วกล่าวว่า

ดูก่อนพ่อ ฉันจะไม่ไป

เธอจงพามาณพ ๕๐๐ นี้ไปในที่สวดนั้น รับการสวดแล้ว

จงนำเอาส่วนที่เขาให้เรามา ดังนี้ แล้วจึงส่งไป.

การันทิยมาณพนั้นไปแล้วกลับมา

ในระหว่างทาง เห็นซอกเขาแห่งหนึ่งจึงคิดว่า

อาจารย์ของพวกเราให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น ซึ่งไม่ขอศีลเลย

จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะทำอาจารย์นั้น

ได้ให้ศีลเฉพาะแก่พวกคนที่ขอเท่านั้น

เมื่อพวกมาณพนั้นกำลังนั่งสบายอยู่

เขาจึงลุกขึ้นไปยกศิลาก้อนใหญ่

โยนลงไปในซอกเขา โยนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ. 

ลำดับนั้นมาณพเหล่านั้นจึงลุกขึ้นพูดกะการันทิยมาณพนั้นว่า

อาจารย์ ท่านทำอะไร.

การันทิยมาณพนั้นไม่กล่าวคำอะไร ๆ.

มาณพเหล่านั้นจึงรีบไปบอกอาจารย์.

อาจารย์มาแล้ว เมื่อจะเจรจากับการันทิยมาณพนั้น

จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

                    ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกก้อนหินใหญ่

          กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า

          ดูก่อนการันทิยะ

          จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน

          ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขาเล่านี้หนอ.

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  โกนุ ตวยิธตฺโถ  ความว่า

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๔ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ประโยชน์อะไรหนอ

ด้วยการที่ท่านทิ้งศิลาลงในซอกเขานี้.

          การันทิยมาณพนั้นได้ฟังคำของอาจารย์นั้นแล้ว

ประสงค์จะท้วงอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

                    ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง

          จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้

          ซึ่งมีมหาสมุทรสี่เป็นขอบเขต

          ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ

          เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  อหํ หิมํ  ความว่า

ก็ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง

จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ให้ราบเรียบ.

บทว่า  สาครเสวิตนฺตํ  ได้แก่

อันสาครทะเลใหญ่บรรจบแล้ว

มีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด.

บทว่า  ยถาปิ ปาณิ  ความว่า

เราจักกระทำให้ราบเสมอดังฝ่ามือ.

บทว่า  วิกีริย  แปลว่า เกลี่ยแล้ว.

บทว่า  สานูนิ จ ปพฺพตานิ  ได้แก่ ภูเขาดินและภูเขาหิน.

          พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

                    ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า

          มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดิน

          ให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้

          ท่านพยายามจะทำซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น

          ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสีย

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๕ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

  

          เปล่าเป็นแน่.

          บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า  กรณายเมยเมโก  นี้

ท่านแสดงว่า คนผู้เดียวไม่อาจกระทำได้

คือไม่สามารถจะกระทำได้.

บทว่า  มญฺามิมญฺเว ทรึ ชิคึสํ  ความว่า

เราย่อมสำคัญว่า แผ่นดินจงยกไว้ก่อนเถิด

ซอกเขานี้เท่านั้น ท่านพยายามเพื่อต้องการจะทำให้เต็มขึ้น

เที่ยวแสวงหาหินทั้งหลายมา คิดค้นหาอุบายอยู่นั่นแล.

จะละคือจักละชีวโลกนี้ไป อธิบายว่า จักตายเสียเปล่า.

          มาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :-

                    ข้าแต่ท่านพราหมณ์

          หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้

          ให้ราบเรียบได้ ฉันใด

          ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้

          ฉันนั้นเหมือนกัน.

          คำที่เป็นคาถานั้นมีความว่า

ถ้ามนุษย์คนเดียวนี้ ไม่อาจ

คือ ไม่สามารถทำแผ่นดิน

คือ ปฐพีใหญ่นี้ให้ราบเรียบ ฉันใด

ท่านก็จักนำมนุษย์ทุศีลผู้มีทิฏฐิต่างกันมาไม่ได้

ฉันนั้นเหมือนกัน

คือท่านกล่าวกะมนุษย์เหล่านั้นว่า

พวกท่านจงรับศีล จักนำมาสู่อำนาจของตนไม่ได้ ฉันนั้น

ด้วยว่าคนที่เป็นบัณฑิตเท่านั้น

ย่อมติเตียนปาณาติบาตว่าเป็นอกุศล

ส่วนคนพาลไม่เชื่อสังสาระ

เป็นผู้มีความสำคัญในข้อนั้นว่าเป็นกุศล

ท่านจักนำคนเหล่านั้นมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น

 

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก

เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ ๗๕๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ท่านอย่าให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น

จงให้แก่คนที่ขอเท่านั้น.

          อาจารย์ได้ฟังดังนั้นคิดว่า การันทิยะพูดถูกต้อง

บัดนี้ เราจักไม่กระทำอย่างนั้น

ครั้นรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า :-

                    ดูก่อนการันทิยะ

          ท่านได้บอกความจริงโดยย่อแก่เรา

          ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง

          แผ่นดินนั้นมนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด

          เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลาย

          ให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ ฉันนั้น.

          บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า  สมายํ ตัดเป็น สมา อยํ.

          อาจารย์ได้ทำความชมเชยมาณพอย่างนี้.

ฝ่ายมาณพนั้นท้วงอาจารย์นั้นแล้ว ตนเองก็นำท่านไปยังเรือน

          พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว

จึงทรงประชุมชาดกว่า

พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร

ส่วนการันทิยบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

 

จบ อรรถกถาการันทิยชาดกที่ ๖

 

http://www.tripitaka91.com/58-750-1.html

 

--------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“พระอรหันต์มีความแตกต่างกันในบางเรื่อง”

 

มมร. เล่ม ๓๗ หน้า ๗๙๕-๗๙๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๕๓-๖๕๕ (ปกสีแดง) 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔

 

บางส่วนของ ขฬุงคสูตร 

 

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญในโลกนี้

บางตัวมีฝีเท้าดี สีไม่ดี ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑

บางตัวมีฝีเท้าดี สีดี แต่ใช้ขับขี่ไม่ได้ ๑

บางตัวฝีเท้าดี สีดี และใช้ขับขี่ได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๓ ประการนี้แล.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภทเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้

บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ ๑

บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ ๑

บางคนสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติและใช้ได้ ๑.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ

เธอถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้

แต่ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

ข้อนี้เรากล่าวว่าไม่เป็นคุณสมบัติของเธอ

และเธอไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ

ดูก่อน

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

เล่ม ๔ - หน้าที่ ๗๙๖ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

แต่ไม่สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์

และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้อย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้...

ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นคุณสมบัติของเธอ

แต่เธอไม่ได้จีวร...

ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ไม่ได้ของเธอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยสมบูรณ์ด้วยเชาวน์

และสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ แต่ใช้ไม่ได้ อย่างนี้แล.

          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้

สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญในโลกนี้

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเชาวน์ของเธอ

เธอเมื่อถูกถามปัญหาในอภิธรรม ในอภิวินัย ก็แก้ได้

ยังประโยชน์ให้สำเร็จได้

ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นคุณสมบัติของเธอ

และเธอได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นการใช้ได้ของเธอ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ

สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ และใช้ได้อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๓ ประเภทนี้แล.

 

จบ ขฬุงคสูตรที่ ๒ 

 

http://www.tripitaka91.com/37-795-3.html

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------

 

“พระอรหัตต์ย่อมเสวยผลกรรมในชาติปัจจุบันนี้เท่านั้น”

 

เล่ม ๒๑ หน้า ๑๔๙-๑๕๐ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๔๓-๑๔๔ (ปกสีแดง) 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒

 

บางส่วนของ อังคุลิมาลสูตร

 

พระองคุลิมาลบรรลุพระอรหัตต์

 

          [๕๓๒] ครั้งนั้นท่านพระองคุลิมาล

หลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปแล้วอยู่ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง

 

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๕๐ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน)

 

ซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการ

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่

ได้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มีดังนี้.

ก็ท่านพระองคุลิมาลได้เป็นอรหันต์องค์หนึ่ง

ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย.

          [๕๓๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า

ท่านพระองคุลิมาลนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี.

ก็เวลานั้นก้อนดิน... ท่อนไม้...

ก้อนกรวดที่บุคคลขว้างไปแม้โดยทางอื่น

ก็มาตกลงที่กายของท่านพระองคุลิมาล.

ท่านพระองคุลิมาลศีรษะแตก โลหิตไหล

บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ฉีกขาด

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรท่านพระองคุลิมาลเดินมาแต่ไกล

ครั้นแล้วได้ตรัสกะท่านพระองคุลิมาลว่า

เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์

เธอจงอดกลั้นไว้เถิดพราหมณ์

เธอได้เสวยผลกรรม

ซึ่งเป็นเหตุจะให้เธอพึงหมกไหม้อยู่ในนรก

ตลอดปีเป็นอันมาก

ตลอดร้อยปีเป็นอันมาก

ตลอดพันปีเป็นอันมาก

ในปัจจุบันนี้เท่านั้น.

 

http://www.tripitaka91.com/21-149-21.html

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

 

รวมเรื่อง พระภิกษุและสามเณร รับ ให้รับ

หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ต้องอาบัติ

และเรื่องที่เกี่ยวข้อง

 

http://www.d-study.com/index.php/th/mediagiveawayevent/00/823-sum

 

https://1drv.ms/b/s!AndLB6Ed5-A-gbsNWJaa_PTjRst5_A

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994