บรรพชิตไม่ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน”

“ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย”

“กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย”

“ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา”

 

“บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป

ไม่ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น

ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่

ไม่ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.”

 

“บทว่า  ธมฺเมน น วณีจเร  ความว่า

ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์.

เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น

ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า.

อย่าเที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมีการสอดแนมเป็นต้น

เหมือนคนของพระเจ้าโกศล

ทำการสอดแนมเพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น

ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น

โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า.

ฝ่ายบุคคลใด

แม้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้

ก็ประพฤติพรหมจรรย์

เพื่อปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำการค้า

อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ

คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรมอย่างนี้.”

 

เล่ม ๔๔ หน้า ๕๙๖-๖๐๖ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๕๕๑-๕๖๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓

 

อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าในจำนวน.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“อาบัติใด อันภิกษุไม่ทำความทอดธุระ

แสดงเสียด้วยจิตที่ยังมีความ อุกอาจ ไม่บริสุทธิ์ทีเดียว

อาบัตินั้น ชื่อว่าอันภิกษุแสดงแล้ว ไม่นับเข้าในจำนวน.

จริงอยู่ อาบัตินี้แม้แสดงแล้ว

ก็ไม่นับเข้าในจำนวนอาบัติที่แสดงแล้ว.”

 

เล่ม ๑๐ หน้า ๕๒๐-๕๒๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๗๓ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก ปริวาร เล่ม ๘

ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่ ด้วยพระบัญญัติก็ดี ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี แสดงความไม่เอื้อเฟื้อ... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“ภิกษุถูกอนุปสัมบันว่ากล่าวอยู่

ด้วยพระบัญญัติก็ดี

ด้วยข้อธรรมอันมิใช่พระบัญญัติก็ดี

แสดงความไม่เอื้อเฟื้อโดยอ้างว่า

ข้อนี้ ไม่เป็นไปเพื่อความขัดเกลา

ไม่เป็นไปเพื่อความกำจัด

ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใส

ไม่เป็นไปเพื่อความไม่สะสม

ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร

ต้องอาบัติทุกกฏ.”

 

เล่ม ๔ หน้า ๖๔๖-๖๔๘ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๖๔๗-๖๕๐ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๒

พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด

พระวินัยยังรุ่งเรืองอยู่ตราบใด

ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง

เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น

เมื่อพระสูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป

ในโลกก็จักมีแต่ความมืด

เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต

เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่

ย่อมเป็นอันรักษาปฏิบัติไว้ด้วย

นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ

ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้”

 

“เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป

ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน

เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่.”

 

เล่ม ๓๒ หน้า ๑๗๒-๑๗๕ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๔๘-๑๕๐ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑

ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

ภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี

รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

 

เล่ม ๖ หน้า ๓๕๑ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๑๘๙-๑๙๐ (ปกสีแดง)

พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑

ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า จะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้ฉะนั้น.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“ปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใดแตกแล้ว

ภิกษุนี้ก็ไม่พึงกล่าวได้ว่า

จะรักษาศีลที่เหลือไว้ได้เพราะเหมือนคนหัวขาด

ไม่มีทางจะรักษามือเท้าไว้ได้ฉะนั้น.

ส่วนปาฏิโมกขสังวรนั้น ของภิกษุใด ไม่เสียหาย

ภิกษุนี้ ก็สามารถเพื่อทำศีลที่เหลือให้กลับเป็นปกติได้อีก

แล้วรักษาข้ออื่น เหมือนคนหัวไม่ขาด

สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น ศีลก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง.

ด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์นั้น.”

 

เล่ม ๓๐ หน้า ๔๙๐-๔๙๒ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๗๒-๔๗๕ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

เล่ม ๕ ภาค ๑

พระขีณาสพต้องอาบัติ… เมื่อต้องทางใจ ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.

ข้อมูลจาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

(พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕) (ปกสีน้ำเงิน) และ (พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๔๖) (ปกสีแดง)

  

“พระขีณาสพต้องอาบัติ…

เมื่อต้องทางใจ ก็ต้อง (เพราะ) รับรูปิยะ.”

 

เล่ม ๓๔ หน้า ๔๕๗ (ปกสีน้ำเงิน) / หน้า ๔๖๙ (ปกสีแดง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓

D-study.com

ช่องทางการติดต่อ

facebook FaceBook

phone 0894453994